MOU อ่าวอุดม ชุมชน VS อุตสาหกรรม

18 ก.พ. 58
บ้านอ่าวอุดม ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ชุมชนชาวประมงพื้นบ้านริมทะเลจังหวัดชลบุรี เคยมีชายหาดที่สวยงาม สัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ จนกระทั่งภาครัฐดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ภาคอุตสาหกรรมค่อยๆ รุกคืบเข้ามาที่อ่าวอุดมทั้งบนบกและในทะเล กว่าจะรู้ตัว บ้านอ่าวอุดมก็กลายเป็น “ชุมชนไข่แดง” ที่รายล้อมไปด้วยโรงงานและท่าเรือ เรือประมงในอ่าวถูกแทนที่ด้วยท่าเทียบเรือ และเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ช่วงแรกชาวบ้านไม่คัดค้าน เพราะมองว่าอุตสาหกรรมคือความเจริญของชุมชน จนกระทั่งวันที่อ่าวอุดมเริ่มจะไม่อุดมอีกต่อไป น้ำทะเลไม่ใส ชายหาดเกลื่อนไปด้วยขยะ ฝุ่นจากการขนส่งถ่านหินและสินค้าต่างๆ ฟุ้งกระจายกลายเป็นเขม่าจับตามบ้านเรือน ชาวบ้านเริ่มมีปัญหาสุขภาพจากมลภาวะในอากาศ สัตว์น้ำลดจำนวนลงอย่างน่าใจหาย จนหลายครอบครัวเลิกทำประมงแล้วเปลี่ยนไปเป็นลูกจ้างภาคอุตสาหกรรม หลายๆ ครอบครัวตัดสินใจอพยพไปอยู่ที่อื่นเมื่อเกิดปัญหา คนบ้านอ่าวส่วนหนึ่งจึงเริ่มรวมตัวกันในปี 2553 กลุ่มชาวประมงช่วยกันฟื้นฟูสัตว์น้ำในอ่าว เช่น ทำแนวปะการัง เพาะพันธุ์ลูกกุ้ง ลูกปูปล่อยลงทะเล จนอ่าวเริ่มกลับมาอุดมอีกครั้ง ในปี 2553 เกิดเหตุไฟไหม้ถ่านหินที่ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วชุมชน บวกกับข่าวผู้ประกอบการท่าเรือแห่งหนึ่งเตรียมจะสร้างท่าเรือเพิ่ม จุดชนวนให้ชุมชนรวมตัวกันออกมาคัดค้านการขยายท่าเรือ และขอให้ยกเลิกการขนส่งถ่านหิน โดยไปร้องที่เทศบาล แต่กลับไม่ได้รับความสนใจ จึงไปร้องต่อวุฒิสภา แต่ก็พ่ายแพ้เพราะกฎหมายมีช่องโหว่ เมื่อกฎหมายไม่เอื้อ  ชุมชนเองก็แตกแยกเพราะการทำ CSR ของบริษัทท่าเรือที่ “ซื้อ” ชาวบ้านเป็นกลุ่มๆ แกนนำบางคนเริ่มถอดใจ คนที่เหลืออยู่จึงต้องปรับเปลี่ยนการต่อสู้ จากการเผชิญหน้าเรียกร้องสิทธิด้วยกฎหมาย มาเป็นการหันหน้าเข้าหากันระหว่างท่าเรือกับชุมชน แล้วหาทางออกร่วมกัน สร้างกติกาการอยู่ร่วมกัน เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าท่าเรือได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนไปแล้วบ้านอ่าวอุดมในวันนี้ไม่ใช่เพียงชุมชนชาวประมงเหมือนเมื่อในอดีต แต่เป็นชุมชนที่มีทั้งชาวประมง ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่าเรือ และผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับท่าเรืออาศัยอยู่ร่วมกัน แกนนำจึงร่าง “ธรรมนูญชุมชนอ่าวอุดม” ขึ้น  ระบุกติกาการอยู่ร่วมกันระหว่างท่าเรือกับชุมชน แล้วเรียกร้อง ต่อรองจนนำไปสู่การเซ็นข้อตกลง (MOU) ร่วมกันระหว่างตัวแทนท่าเรือ ตัวแทนภาครัฐ (เทศบาล) และตัวแทนชุมชน ที่จะใช้ธรรมนูญฉบับนี้การทำ MOU ธรรมนูญชุมชนอ่าวอุดม คือ ก้าวแรกการต่อรองของประชาชนคนตัวเล็กๆ กับบริษัทอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ที่มีรัฐหนุนหลัง แม้จะไม่สามารถทำให้อ่าวอุดมกลับไปอุดมเหมือนเมื่อในอดีต แต่ MOU ก็ทำให้ชาวบ้านเริ่มรู้สึกมีความหวังกับการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับอุตสาหกรรมและความเป็นเมืองที่เข้ามา หลังจากที่ถูกทิ้งให้เผชิญปัญหาเพียงลำพังมานานหลายปี และนับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเซ็น MOU กับชุมชน ซึ่งจะเป็นบทเรียนและแรงบันดาลใจให้กับชุมชนอื่นๆ ต่อไปติดตามชมรายการเมืองดลใจ ตอน MOU อ่าวอุดม ชุมชน VS อุตสาหกรรม วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 22.35 - 23.30 น.ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

MOU อ่าวอุดม ชุมชน VS อุตสาหกรรม

18 ก.พ. 58
บ้านอ่าวอุดม ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ชุมชนชาวประมงพื้นบ้านริมทะเลจังหวัดชลบุรี เคยมีชายหาดที่สวยงาม สัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ จนกระทั่งภาครัฐดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ภาคอุตสาหกรรมค่อยๆ รุกคืบเข้ามาที่อ่าวอุดมทั้งบนบกและในทะเล กว่าจะรู้ตัว บ้านอ่าวอุดมก็กลายเป็น “ชุมชนไข่แดง” ที่รายล้อมไปด้วยโรงงานและท่าเรือ เรือประมงในอ่าวถูกแทนที่ด้วยท่าเทียบเรือ และเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ช่วงแรกชาวบ้านไม่คัดค้าน เพราะมองว่าอุตสาหกรรมคือความเจริญของชุมชน จนกระทั่งวันที่อ่าวอุดมเริ่มจะไม่อุดมอีกต่อไป น้ำทะเลไม่ใส ชายหาดเกลื่อนไปด้วยขยะ ฝุ่นจากการขนส่งถ่านหินและสินค้าต่างๆ ฟุ้งกระจายกลายเป็นเขม่าจับตามบ้านเรือน ชาวบ้านเริ่มมีปัญหาสุขภาพจากมลภาวะในอากาศ สัตว์น้ำลดจำนวนลงอย่างน่าใจหาย จนหลายครอบครัวเลิกทำประมงแล้วเปลี่ยนไปเป็นลูกจ้างภาคอุตสาหกรรม หลายๆ ครอบครัวตัดสินใจอพยพไปอยู่ที่อื่นเมื่อเกิดปัญหา คนบ้านอ่าวส่วนหนึ่งจึงเริ่มรวมตัวกันในปี 2553 กลุ่มชาวประมงช่วยกันฟื้นฟูสัตว์น้ำในอ่าว เช่น ทำแนวปะการัง เพาะพันธุ์ลูกกุ้ง ลูกปูปล่อยลงทะเล จนอ่าวเริ่มกลับมาอุดมอีกครั้ง ในปี 2553 เกิดเหตุไฟไหม้ถ่านหินที่ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วชุมชน บวกกับข่าวผู้ประกอบการท่าเรือแห่งหนึ่งเตรียมจะสร้างท่าเรือเพิ่ม จุดชนวนให้ชุมชนรวมตัวกันออกมาคัดค้านการขยายท่าเรือ และขอให้ยกเลิกการขนส่งถ่านหิน โดยไปร้องที่เทศบาล แต่กลับไม่ได้รับความสนใจ จึงไปร้องต่อวุฒิสภา แต่ก็พ่ายแพ้เพราะกฎหมายมีช่องโหว่ เมื่อกฎหมายไม่เอื้อ  ชุมชนเองก็แตกแยกเพราะการทำ CSR ของบริษัทท่าเรือที่ “ซื้อ” ชาวบ้านเป็นกลุ่มๆ แกนนำบางคนเริ่มถอดใจ คนที่เหลืออยู่จึงต้องปรับเปลี่ยนการต่อสู้ จากการเผชิญหน้าเรียกร้องสิทธิด้วยกฎหมาย มาเป็นการหันหน้าเข้าหากันระหว่างท่าเรือกับชุมชน แล้วหาทางออกร่วมกัน สร้างกติกาการอยู่ร่วมกัน เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าท่าเรือได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนไปแล้วบ้านอ่าวอุดมในวันนี้ไม่ใช่เพียงชุมชนชาวประมงเหมือนเมื่อในอดีต แต่เป็นชุมชนที่มีทั้งชาวประมง ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่าเรือ และผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับท่าเรืออาศัยอยู่ร่วมกัน แกนนำจึงร่าง “ธรรมนูญชุมชนอ่าวอุดม” ขึ้น  ระบุกติกาการอยู่ร่วมกันระหว่างท่าเรือกับชุมชน แล้วเรียกร้อง ต่อรองจนนำไปสู่การเซ็นข้อตกลง (MOU) ร่วมกันระหว่างตัวแทนท่าเรือ ตัวแทนภาครัฐ (เทศบาล) และตัวแทนชุมชน ที่จะใช้ธรรมนูญฉบับนี้การทำ MOU ธรรมนูญชุมชนอ่าวอุดม คือ ก้าวแรกการต่อรองของประชาชนคนตัวเล็กๆ กับบริษัทอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ที่มีรัฐหนุนหลัง แม้จะไม่สามารถทำให้อ่าวอุดมกลับไปอุดมเหมือนเมื่อในอดีต แต่ MOU ก็ทำให้ชาวบ้านเริ่มรู้สึกมีความหวังกับการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับอุตสาหกรรมและความเป็นเมืองที่เข้ามา หลังจากที่ถูกทิ้งให้เผชิญปัญหาเพียงลำพังมานานหลายปี และนับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเซ็น MOU กับชุมชน ซึ่งจะเป็นบทเรียนและแรงบันดาลใจให้กับชุมชนอื่นๆ ต่อไปติดตามชมรายการเมืองดลใจ ตอน MOU อ่าวอุดม ชุมชน VS อุตสาหกรรม วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 22.35 - 23.30 น.ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย