การมาของบ้านก่ออิฐถือปูน และการล่มสลายของบ้านเรือนไทย

ออกอากาศ26 พ.ย. 62

เรื่องเล่าจากละคร

การมาของบ้านก่ออิฐถือปูน

และการล่มสลายของบ้านเรือนไทย

เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย

ละครย้อนยุคเรื่องปลายจวัก ดำเนินเรื่องในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ความน่าสนใจคือฉากหลังในเรื่องมีตั้งแต่สถาปัตยกรรมไทย เช่น บ้านเรือนไทยของคุณหลวง ผู้เป็นบิดาของแม่วาดแม่อ่อน ตลอดจนสถาปัตยกรรมรูปแบบตะวันตก นั่นคือบ้านก่ออิฐถือปูน เปล่าเลย ผู้จัดทำละครเรื่องนี้มิได้หาข้อมูลผิด หรือหาฉากหลังที่เป็นบ้านเรือนไทยแท้ ๆ มาถ่ายทำไม่ได้ เพราะในความเป็นจริง บ้านก่ออิฐถือปูนแบบฝรั่งมังค่าก็เริ่มเข้ามาอย่างกว้างขวางในยุคสมัยที่ปรากฏในละครเรื่องนี้แล้ว

ชาวตะวันตกเข้ามายังสยามประเทศ พร้อมกับการมาของบ้านก่ออิฐถือปูน เกิดเรือนขนมปังขิง มีการสร้างบ้านเรือนคอนกรีต ก่ออิฐถือปูน วิทยาการด้านการออกแบบและก่อสร้างบ้านเรือนอย่างชาวตะวันตกถูกเผยแพร่ในวงกว้าง มีสถาปนิกและวิศวกรชาวอังกฤษ หรือชาวอิตาลี อันทำให้เกิดการก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ จนสถาปัตยกรรมเหล่านี้ยังมีให้เห็นเด่นชัดถึงปัจจุบัน อาทิ กระทรวงกลาโหม การสร้างวัดวาอารามด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก เช่น วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่สร้างด้วยรูปแบบโกธิก

หลังจากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา บ้านเรือนก็เน้นการก่ออิฐถือปูนเป็นส่วนใหญ่ สืบเนื่องมาจากการที่พระมหากษัตริย์อันเป็นเสาหลักแห่งแผ่นดิน เป็นศูนย์รวมจิตใจชาวสยาม ได้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบสถาปัตยกรรมนี้ด้วยพระองค์เอง แม้ว่าในอดีตจะมีความเชื่อว่าเมื่อเกิดเป็นคนไทย ก็ต้องอยู่บ้านเรือนไทยเท่านั้น แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง กาลเวลาที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้า หากเรายังย่ำอยู่ที่เดิมก็ย่อมล้าหลัง และไม่สามารถน้อมรับความเจริญรุดหน้าเข้ามาได้ พระองค์ทรงตระหนักในข้อนี้ได้เป็นอย่างดี

การเปลี่ยนอาคารบ้านเรือนจากบ้านเรือนไทย เป็นบ้านก่ออิฐถือปูนแบบฝรั่งมังค่า มิได้แสดงให้เห็นว่ารัชกาลที่ 5 ทรงเห่อวัฒนธรรมตะวันตก หรือทรงไม่เห็นค่าความเป็นไทยอีกต่อไป ทว่าหลักใหญ่ใจความแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้คือทรงมุ่งให้พสกนิกรของพระองค์ได้รับรู้ว่าโลกใบนี้กว้างนัก ยังมีรูปแบบสถาปัตยกรรมอีกมากที่ต่างจากบ้านเรือนของสยามประเทศ การเรียนรู้และรับวัฒนธรรมด้านสถาปัตยกรรมของกลุ่มประเทศจากอีกฝั่งฟ้าที่กำลังแผ่อำนาจไปทั่วโลกย่อมเป็นการดีต่อประเทศชาติของเรา

การมาของบ้านก่ออิฐถือปูน และการล่มสลายของบ้านเรือนไทย จึงแสดงให้เห็นถึงสัจธรรมของการเปลี่ยนแปลง เห็นวิถีชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไป แม้ในอดีต บ้านเรือนไทยจะสอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวไทยทุกหมู่เหล่า ตามอาชีพ สภาพภูมิอากาศ ความเป็นอยู่ ครั้นเปลี่ยนอาคารบ้านเรือนเป็นแบบตะวันตก ที่ทำให้บรรยากาศภายในร้อน อบอ้าว ไม่มีเครื่องปรับอากาศ ในช่วงแรกจึงค่อนข้างติดขัดและยังไม่คุ้นชิน แต่ปัจจุบัน วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไปแล้ว เราต่างล้วนใช้ชีวิตในแบบที่สอดคล้องกับชาวตะวันตกมากขึ้น ดังนั้นหากให้คนรุ่นใหม่ไปใช้ชีวิตอยู่ในบ้านเรือนไทยเป็นการถาวร ย่อมพบพานแต่ความไม่สะดวก ทั้งเรื่องของห้องน้ำ หรือกระทั่งการนุ่งผ้าขาวม้าลงไปอาบน้ำ ปัจจุบันนี้ก็ทำไม่ได้แล้ว วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้ ทำให้บ้านเรือนไทยที่ยังพอให้เห็นบ้างในปัจจุบันก็ทำหน้าที่สำคัญคือการเป็นมรดกเท่านั้น มิได้เป็นที่อยู่อาศัยอีกต่อไปแล้ว

เมื่อพิจารณาถึงอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้บ้านก่ออิฐถือปูนแบบตะวันตกได้รับความนิยม สวนทางกับบ้านเรือนทรงไทย พบว่ามีองค์ประกอบสำคัญสองประการ ที่เป็นอุปสรรคยิ่งในการก่อสร้างบ้านเรือนไทย ในขณะที่เป็นข้อดีอย่างยิ่งที่ทำให้บ้านก่ออิฐถือปูนมีมากอย่างทุกวันนี้ ประการแรกคือราคาไม้ที่ก่อสร้างบ้านเรือนไทยนั้น ทั้งหายากและมีราคาแพง ไม้สักที่มาก่อสร้างเรือนไทยหนึ่งหลัง สามารถนำไปสร้างบ้านก่ออิฐถือปูนได้หลายหลังเลยทีเดียว อีกประการคือช่างผู้มีความรู้ด้านการออกแบบและก่อสร้างบ้านเรือนไทย ในปัจจุบันนั้นหาได้ยากเต็มที เรือนไทยที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันในลักษณะที่สมบูรณ์แบบพอที่จะศึกษานั้นมีน้อยเหลือเกิน กระทั่งการศึกษาในแวดวงสถาปัตยกรรมไทยยังต้องศึกษาผ่านโครงสร้างของโบสถ์วิหาร หรือสืบทอดเรียนรู้ผ่านการทำโมเดลจำลอง

ด้วยวัสดุที่หายาก ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ราคาบ้านก่ออิฐถือปูนที่ถูกกว่าและสอดรับกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของคนไทยได้มากกว่า จึงมิแปลกที่สถาปัตยกรรมตะวันตกเช่นนี้จะได้รับความนิยมในสยามประเทศ ฉะนั้นแล้ว การศึกษาเรื่องความเปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรมในประเทศไทยนี้ก็ทำให้ค้นพบความจริงบางอย่างของชีวิต จากที่เคยประหวั่นหวาดกลัวว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้จะสูญสิ้นไป แต่ปัจจุบันคงต้องยอมรับแล้วว่ามันคาดหวังไม่ได้สักอย่างไม่ว่าจะสิ่งใด ๆ ก็ตาม ที่จะให้อยู่ยงคงทนตามกาลเวลาตลอดไป


รายการอ้างอิง

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. ศาสตราจารย์. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาจิตรกรรม. สัมภาษณ์. 5 มีนาคม 2563.

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

เรื่องเล่าจากละคร

การมาของบ้านก่ออิฐถือปูน

และการล่มสลายของบ้านเรือนไทย

เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย

ละครย้อนยุคเรื่องปลายจวัก ดำเนินเรื่องในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ความน่าสนใจคือฉากหลังในเรื่องมีตั้งแต่สถาปัตยกรรมไทย เช่น บ้านเรือนไทยของคุณหลวง ผู้เป็นบิดาของแม่วาดแม่อ่อน ตลอดจนสถาปัตยกรรมรูปแบบตะวันตก นั่นคือบ้านก่ออิฐถือปูน เปล่าเลย ผู้จัดทำละครเรื่องนี้มิได้หาข้อมูลผิด หรือหาฉากหลังที่เป็นบ้านเรือนไทยแท้ ๆ มาถ่ายทำไม่ได้ เพราะในความเป็นจริง บ้านก่ออิฐถือปูนแบบฝรั่งมังค่าก็เริ่มเข้ามาอย่างกว้างขวางในยุคสมัยที่ปรากฏในละครเรื่องนี้แล้ว

ชาวตะวันตกเข้ามายังสยามประเทศ พร้อมกับการมาของบ้านก่ออิฐถือปูน เกิดเรือนขนมปังขิง มีการสร้างบ้านเรือนคอนกรีต ก่ออิฐถือปูน วิทยาการด้านการออกแบบและก่อสร้างบ้านเรือนอย่างชาวตะวันตกถูกเผยแพร่ในวงกว้าง มีสถาปนิกและวิศวกรชาวอังกฤษ หรือชาวอิตาลี อันทำให้เกิดการก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ จนสถาปัตยกรรมเหล่านี้ยังมีให้เห็นเด่นชัดถึงปัจจุบัน อาทิ กระทรวงกลาโหม การสร้างวัดวาอารามด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก เช่น วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่สร้างด้วยรูปแบบโกธิก

หลังจากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา บ้านเรือนก็เน้นการก่ออิฐถือปูนเป็นส่วนใหญ่ สืบเนื่องมาจากการที่พระมหากษัตริย์อันเป็นเสาหลักแห่งแผ่นดิน เป็นศูนย์รวมจิตใจชาวสยาม ได้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบสถาปัตยกรรมนี้ด้วยพระองค์เอง แม้ว่าในอดีตจะมีความเชื่อว่าเมื่อเกิดเป็นคนไทย ก็ต้องอยู่บ้านเรือนไทยเท่านั้น แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง กาลเวลาที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้า หากเรายังย่ำอยู่ที่เดิมก็ย่อมล้าหลัง และไม่สามารถน้อมรับความเจริญรุดหน้าเข้ามาได้ พระองค์ทรงตระหนักในข้อนี้ได้เป็นอย่างดี

การเปลี่ยนอาคารบ้านเรือนจากบ้านเรือนไทย เป็นบ้านก่ออิฐถือปูนแบบฝรั่งมังค่า มิได้แสดงให้เห็นว่ารัชกาลที่ 5 ทรงเห่อวัฒนธรรมตะวันตก หรือทรงไม่เห็นค่าความเป็นไทยอีกต่อไป ทว่าหลักใหญ่ใจความแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้คือทรงมุ่งให้พสกนิกรของพระองค์ได้รับรู้ว่าโลกใบนี้กว้างนัก ยังมีรูปแบบสถาปัตยกรรมอีกมากที่ต่างจากบ้านเรือนของสยามประเทศ การเรียนรู้และรับวัฒนธรรมด้านสถาปัตยกรรมของกลุ่มประเทศจากอีกฝั่งฟ้าที่กำลังแผ่อำนาจไปทั่วโลกย่อมเป็นการดีต่อประเทศชาติของเรา

การมาของบ้านก่ออิฐถือปูน และการล่มสลายของบ้านเรือนไทย จึงแสดงให้เห็นถึงสัจธรรมของการเปลี่ยนแปลง เห็นวิถีชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไป แม้ในอดีต บ้านเรือนไทยจะสอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวไทยทุกหมู่เหล่า ตามอาชีพ สภาพภูมิอากาศ ความเป็นอยู่ ครั้นเปลี่ยนอาคารบ้านเรือนเป็นแบบตะวันตก ที่ทำให้บรรยากาศภายในร้อน อบอ้าว ไม่มีเครื่องปรับอากาศ ในช่วงแรกจึงค่อนข้างติดขัดและยังไม่คุ้นชิน แต่ปัจจุบัน วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไปแล้ว เราต่างล้วนใช้ชีวิตในแบบที่สอดคล้องกับชาวตะวันตกมากขึ้น ดังนั้นหากให้คนรุ่นใหม่ไปใช้ชีวิตอยู่ในบ้านเรือนไทยเป็นการถาวร ย่อมพบพานแต่ความไม่สะดวก ทั้งเรื่องของห้องน้ำ หรือกระทั่งการนุ่งผ้าขาวม้าลงไปอาบน้ำ ปัจจุบันนี้ก็ทำไม่ได้แล้ว วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้ ทำให้บ้านเรือนไทยที่ยังพอให้เห็นบ้างในปัจจุบันก็ทำหน้าที่สำคัญคือการเป็นมรดกเท่านั้น มิได้เป็นที่อยู่อาศัยอีกต่อไปแล้ว

เมื่อพิจารณาถึงอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้บ้านก่ออิฐถือปูนแบบตะวันตกได้รับความนิยม สวนทางกับบ้านเรือนทรงไทย พบว่ามีองค์ประกอบสำคัญสองประการ ที่เป็นอุปสรรคยิ่งในการก่อสร้างบ้านเรือนไทย ในขณะที่เป็นข้อดีอย่างยิ่งที่ทำให้บ้านก่ออิฐถือปูนมีมากอย่างทุกวันนี้ ประการแรกคือราคาไม้ที่ก่อสร้างบ้านเรือนไทยนั้น ทั้งหายากและมีราคาแพง ไม้สักที่มาก่อสร้างเรือนไทยหนึ่งหลัง สามารถนำไปสร้างบ้านก่ออิฐถือปูนได้หลายหลังเลยทีเดียว อีกประการคือช่างผู้มีความรู้ด้านการออกแบบและก่อสร้างบ้านเรือนไทย ในปัจจุบันนั้นหาได้ยากเต็มที เรือนไทยที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันในลักษณะที่สมบูรณ์แบบพอที่จะศึกษานั้นมีน้อยเหลือเกิน กระทั่งการศึกษาในแวดวงสถาปัตยกรรมไทยยังต้องศึกษาผ่านโครงสร้างของโบสถ์วิหาร หรือสืบทอดเรียนรู้ผ่านการทำโมเดลจำลอง

ด้วยวัสดุที่หายาก ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ราคาบ้านก่ออิฐถือปูนที่ถูกกว่าและสอดรับกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของคนไทยได้มากกว่า จึงมิแปลกที่สถาปัตยกรรมตะวันตกเช่นนี้จะได้รับความนิยมในสยามประเทศ ฉะนั้นแล้ว การศึกษาเรื่องความเปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรมในประเทศไทยนี้ก็ทำให้ค้นพบความจริงบางอย่างของชีวิต จากที่เคยประหวั่นหวาดกลัวว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้จะสูญสิ้นไป แต่ปัจจุบันคงต้องยอมรับแล้วว่ามันคาดหวังไม่ได้สักอย่างไม่ว่าจะสิ่งใด ๆ ก็ตาม ที่จะให้อยู่ยงคงทนตามกาลเวลาตลอดไป


รายการอ้างอิง

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. ศาสตราจารย์. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาจิตรกรรม. สัมภาษณ์. 5 มีนาคม 2563.

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย