ThaiPBS VODhttps://program.thaipbs.or.th1078162021-01-02 13:45:00ThaiPBSVODรู้เท่าทันสื่อเมื่อสื่อละเมิดสิทธิ์2 ม.ค. 256414:00 - 08:54https://program.thaipbs.or.th/watch/r2vHt4r2vHt4Bussakorn Bouayam800367r2vHt4ThaiPBSVODhttps://vod.thaipbs.or.th/video-objects/SKs137zotq61/playlist.m3u8https://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/KS/FU/1KSFUgT3qRO8-default.jpghttps://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/KS/FU/1KSFUgT3qRO8-default.jpg<p>อาจารย์รุจน์ โกมลบุตร อาจารย์คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ที่สนใจว่าข่าวดังที่ถูกนำเสนอบนหน้าหนึ่งของสื่อทุกแขนง ได้ทิ้งบาดแผลให้กับคนที่ตกเป็นข่าวอย่างไรบ้าง อาจารย์จึงได้ทำการวิจัยเมื่อปี 2561 เรื่อง <strong>"ผลกระทบของแหล่งข่าวที่ถูกสื่อมวลชนละเมิดสิทธิ์"</strong> ด้วยการขอเข้าไปสัมภาษณ์ผู้ที่ตกเป็นข่าวใหญ่ และได้ศึกษาพบว่ารูปแบบที่สื่อละเมิดสิทธิผู้ที่ตกเป็นข่าวนั้นมีประมาณ 5 รูปแบบ เช่น การเข้าไปทำข่าวในขณะที่แหล่งข่าวยังไม่พร้อมโดยเฉพาะทางด้านจิตใจ</p><p>การนำเสนอเนื้อหาหรือภาพข่าวที่รุนแรงกระทบกระเทือนกับแหล่งข่าวหรือครอบครัวของแหล่งข่าว โดยเฉพาะในกรณีข่าวฆาตรกรรม รวมถึงการนำเสนอข่าวที่ไม่รอบด้าน ไม่ครบถ้วน หรือเป็นการกล่าวหาผู้ที่ตกเป็นข่าวเพียงฝ่ายเดียวโดยไม่เปิดโอกาสให้เขาได้โต้ตอบ หรือการไม่ปกปิดเอกลักษณ์ของแหล่งข่าว โดยเฉพาะกับเด็ก คนป่วยและผู้ต้องหา และอีกกรณีหนึ่งคือการที่นักข่าวนั้นปกปิดตัวตัวเอง ไม่เปิดเผยหรือแม้กระทั่งปลอมตัวเป็นคนอื่นเข้าไปหาแหล่งข่าวเพื่อให้ได้ข้อมูลหรือได้ข่าวอย่างที่ต้องการ</p><p>ซึ่งสิ่งที่จะตามมานั้นอาจกลายเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งทางจิตใจ การดำเนินชีวิตประจำวัน รวมไปถึงต่อชื่อเสียง หน้าที่การงานและการต่อสู้คดีของแหล่งข่าวด้วยซ้ำ นั่นยังไม่รวมถึงกรณีร้ายแรงที่สุดอย่างการสูญเสียชีวิตและการหลายครั้งการทำงานที่หวังเพียงข่าวเกินไปของสื่อมวลชนก็อาจกลายเป็นการขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ไปด้วยครับแต่ในอีกด้านหนึ่งการนำเสนอข่าวก็ทำให้คดีมีความคืบหน้า ผู้ที่ตกเป็นข่าวได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น รวมไปถึงได้รับความช่วยเหลือจากสังคม</p><p>นอกจากเรื่องรูปแบบในการละเมิดแหล่งข่าวรวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว อีกหนึ่งข้อค้นพบที่งานวิจัยชิ้นนี้เจอคือ กลุ่มตัวอย่างแทบทุกคนไม่รู้เลยครับว่าพวกเขามีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธการให้สัมภาษณ์หรือแม้กระทั่งไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติคอยกำกับดูแลเรื่องนี้อยู่ สาเหตุนั่นก็เพราะว่า ส่วนหนึ่งคนในสังคมยังไม่เข้าใจเรื่องสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของตัวเอง จึงทำให้ไม่สามารถปกป้องตนเองเมื่อตกเป็นข่าวได้ ไปรู้เท่าทันสื่อเรื่องนี้กัน</p><p><strong>ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง </strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS"><strong></strong></a><strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS">www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS</a></strong></p>ส., 2 ม.ค. 2564 14:00:003031071862020-12-19 13:45:00ThaiPBSVODรู้เท่าทันสื่อการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ สำคัญอย่างไร19 ธ.ค. 256314:26 - 08:54https://program.thaipbs.or.th/watch/wVADvGwVADvGSornsawan Wongchaichana800367wVADvGThaiPBSVODhttps://vod.thaipbs.or.th/video-objects/SJbA6rAVljZu/playlist.m3u8https://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/KP/K0/1KPK0NvlWwzk-default.jpghttps://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/KP/K0/1KPK0NvlWwzk-default.jpg<p>เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายนที่ผ่านมา รายการเปิดปมได้นำเสนอเรื่องราวของชาวมานิและชาวจาไฮ ว่าทั้งสองชาติพันธุ์นี้มักถูกคนในสังคมไทยเรียกรวม ๆ กันว่า<strong> "เงาะป่าซาไก" </strong>ทั้ง ๆ ที่ชาวมานิและชาวจาไฮใช้ภาษาและมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน นอกจากนี้คำว่า <strong>"ซาไก" </strong>ยังมีความหมายแปลว่า <strong>"ทาส"</strong> ซึ่งส่งผลต่อความรู้สึกของคนทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์ เพราะเป็นคำที่ลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์</p><p>หลังจากรายการออกอากาศไป ก็มีคุณผู้ชมหลายคนให้ความสนใจ ส่วนใหญ่ส่งความคิดเห็นเข้ามาบอกว่า มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ จากความคิดเห็นสะท้อนได้ว่า เมื่อคุณผู้ชมได้ทำความรู้จักกับชาวมานิและชาวจาไฮมากขึ้น ก็ทำให้ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเรียกชื่อชาติพันธุ์ที่มีความหมายเชิงตีตราหรือลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อาจารย์บัณฑิต ไกรวิจิตร เป็นนักมานุษยวิทยาคนหนึ่ง ที่ศึกษาวิจัยเรื่องชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย และพยายามสื่อสารให้คนในสังคมเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ให้ถูกต้อง จึงอยากชวนคุณผู้ชมไปรับฟังมุมมองของอาจารย์ว่า <strong>"สื่อ" </strong>มีส่วนช่วยทำให้คนในสังคมเข้าใจความแตกต่างหลากหลายอย่างไรบ้าง </p><p><strong>ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง </strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS"><strong></strong></a><strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS">www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS</a></strong></p>ส., 19 ธ.ค. 2563 14:26:581131068372020-12-12 13:45:00ThaiPBSVODรู้เท่าทันสื่อข่าวการเมืองกับภาวะเครียด12 ธ.ค. 256314:00 - 08:54https://program.thaipbs.or.th/watch/hNoOvxhNoOvxBussakorn Bouayam800367hNoOvxThaiPBSVODhttps://vod.thaipbs.or.th/video-objects/SIvd6zlkp9Ey/playlist.m3u8https://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/KJ/oc/1KJocenKbXlR-default.jpghttps://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/KJ/oc/1KJocenKbXlR-default.jpg<p>ข้อมูลจากมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ บอกว่าโดยปกติเวลาที่เราติดตามสถานการณ์ทางการเมืองนั้นจะมีอารมณ์และความเครียดโดยไม่รู้ตัว ที่เรียกว่า Hidden Stress เกิดขึ้นอยู่แล้ว แต่ภาวะความเครียดทางการเมืองนี้จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น<strong> "ในคนที่มีความเอนเอียงหรือคนที่มีความคิดสุดโต่งทางการเมือง"</strong> เพราะจะนำไปสู่ความวิตกกังวลถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เนื่องจากไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าวันต่อ ๆ ไปทิศทางการเมืองจะเป็นอย่างไร แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับฝ่ายที่ตัวเองนั้นเชียร์อยู่ ความกระวนกระวายใจจากเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดคะเนได้เหล่านี้ก็จะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้เกิดความเครียดที่แสดงอาการออกมาทั้งทางร่างกาย ความรู้สึกนึกคิดรวมถึงในแง่ความสัมพันธ์กับคนอื่นด้วย</p><p>แต่ในทางกลับกันต่อให้เราจะไม่ใช่คนที่สนใจประเด็นทางการเมืองเป็นพิเศษ หรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ตามความเครียดนี้ก็จะเกิดขึ้นได้ผ่านการเสพสื่อ โดยแต่เดิมนั้นสื่อในยุคเก่าอาจทำให้เกิดความเครียดได้ระดับหนึ่งหากเรานั้นดูเยอะ แต่สื่อในตอนนี้เราเข้าถึงมันได้ง่ายมากขึ้นโดยเฉพาะโซเชียลมีเดียอย่างน้อยต้องมีเพื่อนสักคนหนึ่งของเราที่แชร์เรื่องการเมืองขึ้นมา ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะหลีกหนีจากข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ ในวันที่ทุกคนคือสื่อและข้อมูลที่เราได้รับมานั้นมันก็มีทั้งความคิดเห็นและอารมณ์แทรกเข้ามาในเนื้อหาด้วย แล้วเราจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเครียดการเมือง</p><p><strong>ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง </strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS"><strong></strong></a><strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS">www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS</a></strong></p>ส., 12 ธ.ค. 2563 14:00:002581060432020-11-28 13:45:00ThaiPBSVODรู้เท่าทันสื่อโฆษณาแฝงในรายการข่าว28 พ.ย. 256314:00 - 08:54https://program.thaipbs.or.th/watch/vIygZLvIygZLBussakorn Bouayam800367vIygZLThaiPBSVODhttps://vod.thaipbs.or.th/video-objects/SHQllBRKugRd/playlist.m3u8https://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/KH/Y2/1KHY2pvncj8O-default.jpghttps://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/KH/Y2/1KHY2pvncj8O-default.jpg<p>เรามักจะพบโฆษณาแฝงอยู่ในละครหลังข่าว ซิตคอม รายการวาไรตี้ หรือ รายการเกมโชว์ ซึ่งเกิดขึ้นทั้งในแบบที่คนดูรู้ตัว หรือ ไม่รู้ตัว ในขณะที่กฎหมายก็ไม่ได้นับรวมการโฆษณาแฝงเหล่านี้เป็นการโฆษณา นั่นแปลว่าผู้บริโภคอย่างเรากำลังถูกบังคับให้ดูโฆษณามากเกินไป โดยเฉพาะในตอนนี้ที่โฆษณาแฝงเริ่มคืบคลานเข้ามาในพื้นที่ที่เรียกว่า <strong>"รายการข่าว"</strong> ซึ่งถูกนำเสนอออกมาอย่างหลากหลายรูปแบบและถูกทำอยู่ในทุกช่องโทรทัศน์ เราเรียกโฆษณาแบบนี้ว่า <strong>"โฆษณาแฝงที่มาในรายการข่าว" </strong>และถ้าหากรายการข่าวถูกทำให้เป็นพื้นที่โฆษณาสินค้าและบริการ ผลกระทบที่ตามมาจะเป็นอย่างไร และอะไรคือเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น<br></p><p><strong>ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง </strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS"><strong></strong></a><strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS">www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS</a></strong></p>ส., 28 พ.ย. 2563 14:00:004241057812020-11-21 13:45:00ThaiPBSVODรู้เท่าทันสื่อรู้เท่าทันการออกแบบ News Feed21 พ.ย. 256314:00 - 08:54https://program.thaipbs.or.th/watch/CKg6BMCKg6BMSornsawan Wongchaichana800367CKg6BMThaiPBSVODhttps://vod.thaipbs.or.th/video-objects/SGtti6oir41f/playlist.m3u8https://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/KF/d6/1KFd6BGapbcI-default.jpghttps://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/KF/d6/1KFd6BGapbcI-default.jpg<p>คุณผู้ชมเป็นคนหนึ่งไหมที่เผลอใช้โซเชียลมีเดียเพลินจนลืมเวลาไปเลย ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ตั้งใจว่าจะใช้เวลากับหน้าจอนานขนาดนั้น ข้อมูลจากบริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านการตลาด ในประเทศสหรัฐอเมริกา อย่าง ComScore รายงานว่า<strong> "ผู้ใช้งาน Facebook จะใช้เวลาไปกับการอ่านหน้า News Feed มากที่สุด เพื่อดูโพสต์จากเพื่อนและกลุ่มคนรู้จัก" </strong>เช่นเดียวกับแอปพลิเคชันยอดนิยมอย่าง TikTok ที่ดึงดูดใจให้คนปัดหน้าจอขึ้นไปเรื่อย ๆ เพื่อดูคลิปวิดีโอแบบไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งบริษัทด้านการตลาดระดับโลกอย่าง Business Of Apps ศึกษาพบว่า<strong> "ผู้ใช้งาน Tik Tok ส่วนใหญ่จะใช้เวลาดูคลิปวิดีโอสั้น ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานถึง 52 นาทีต่อวันเลยทีเดียว" </strong>จนทำให้บางคนถึงกับต้องตั้งกระทู้ถามว่า<strong> "แฟนติด Tik Tok ทำอย่างไรดี" </strong>หรือมีคนแชร์ประสบการณ์ว่า ตัวเองติด Tik Tok จนทำให้แฟนบอกเลิกได้เลย แล้วอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เรา <strong>"หยุดเลื่อนหน้า News Feed ไม่ได้"</strong> ไปรู้เท่าทันสื่อเรื่องนี้กัน </p><p><strong>ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง </strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS"><strong></strong></a><strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS">www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS</a></strong></p>ส., 21 พ.ย. 2563 14:00:001301054532020-11-14 13:45:00ThaiPBSVODรู้เท่าทันสื่อการโพสต์เรียกร้องความสนใจ14 พ.ย. 256314:05 - 08:54https://program.thaipbs.or.th/watch/3RsIZc3RsIZcSiriwan Leowratsamee8003673RsIZcThaiPBSVODhttps://vod.thaipbs.or.th/video-objects/SGCRLtm02vre/playlist.m3u8https://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/KD/q6/1KDq69mARMi4-default.jpghttps://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/KD/q6/1KDq69mARMi4-default.jpg<p>ใครเคยมีเพื่อนในโซเชียลมีเดียที่ชอบโพสต์ระบายความรู้สึกด้วยถ้อยคำรุนแรง หรือแสดงความเกรี้ยวกราดตลอดเวลาไหม ไม่ว่าจะเจอเรื่องราวอะไรในชีวิตที่ทำให้รู้สึกไม่พอใจ ไม่ว่าจะถูกขับรถปาดหน้า ถูกแซงคิว หรือขึ้นรถเมล์ผิดสาย ก็มักจะโพสต์ทุกอย่างลงในโซเชียลมีเดีย ซึ่งงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซินกรีนเบย์บอกว่า เมื่อคนเหล่านี้ได้โพสต์ข้อความออกไปก็จะรู้สึกพึงพอใจและบางครั้งก็รู้สึกสะใจด้วยซ้ำ หรือเพื่อนบางคนที่มักโพสต์ข้อความแสดงความท้อแท้ ผิดหวังหรือในทำนองที่ไม่อยากมีชีวิตอีกต่อไปแล้ว และไม่ว่าเราจะพยายามเข้าไปพูดคุย หรือช่วยเหลือเท่าไร ก็ดูเหมือนว่าเพื่อนคนนี้ก็ยังคงโพสต์ข้อความในทำนองนี้อยู่เรื่อย ๆ แม้ว่าพฤติกรรมเหล่านี้ดูเผิน ๆ แล้วจะไม่มีอะไรมากไปกว่าการชอบโพสต์ ชอบแชร์เรื่องราวตามประสาของคนในโซเชียล แต่จริง ๆ แล้วพฤติกรรมเหล่านี้อาจหมายถึง ภาวะการเรียกร้องความสนใจ หรือ Attention Seeking แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเพื่อนในโลกออนไลน์ของเรา ต้องการความช่วยเหลือจริง ๆ หรือแค่เรียกร้องความสนใจ ? </p><p><strong>ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง </strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS"><strong></strong></a><strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS">www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS</a></strong><span class="redactor-invisible-space"><br></span></p>ส., 14 พ.ย. 2563 14:05:002421051672020-11-07 13:45:00ThaiPBSVODรู้เท่าทันสื่อทำไมเราประจานกันบนโลกออนไลน์7 พ.ย. 256314:01 - 08:54https://program.thaipbs.or.th/watch/62VLoK62VLoKSornsawan Wongchaichana80036762VLoKThaiPBSVODhttps://vod.thaipbs.or.th/video-objects/SFdVrw3zbafz/playlist.m3u8https://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/KA/Sr/1KASrp5cX8xk-default.jpghttps://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/KA/Sr/1KASrp5cX8xk-default.jpg<p><strong>Online Shaming</strong> หรือการทำให้อับอายบนโลกออนไลน์นั้น ถูกคนในโซเชียลมีเดียใช้เป็นเครื่องมือในการลงโทษคนที่ถูกมองว่าทำผิดในสังคม โดยจะมีการรวมตัวกันของกลุ่มคนที่ไม่พอใจต่อพฤติกรรมนั้น แล้วร่วมกันแสดงความคิดเห็น ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น การขุดคุ้ยเรื่องส่วนตัว, การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล รวมไปถึงการกลั่นแกล้งรังแกเรื่องรูปร่างหน้าตา ในอีกแง่หนึ่งการทำให้อับอายบนโลกออนไลน์ ก็ทำให้เกิดการ<strong> "ตัดสิน"</strong> คนอื่นอย่างรวดเร็ว เพราะต่างคนก็ต่างตัดสินความผิดนั้นด้วยความรู้สึกของตัวเอง หรือ ที่เรียกว่าศาลเตี้ยในโลกออนไลน์ ทำไมคนในยุคดิจิตอลถึงสะท้อนปัญหาสังคมด้วยการประจานหรือทำให้อับอายผ่านโลกออนไลน์</p><p><strong>ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง </strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS"><strong></strong></a><strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS">www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS</a></strong><span class="redactor-invisible-space"><br></span></p>ส., 7 พ.ย. 2563 14:01:313201028972020-09-26 13:45:00ThaiPBSVODรู้เท่าทันสื่อรู้เท่าทันภาวะสะเทือนใจรุนแรงจากการเสพสื่อ26 ก.ย. 256314:00 - 08:54https://program.thaipbs.or.th/watch/VcLIDbVcLIDbSornsawan Wongchaichana800367VcLIDbThaiPBSVODhttps://vod.thaipbs.or.th/video-objects/SBTyBuoB6Hu9/playlist.m3u8https://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/Ki/Li/1KiLicYxWPMC-default.jpghttps://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/Ki/Li/1KiLicYxWPMC-default.jpg<p>ตัวอย่างพ่อแม่จำนวนกว่า 84 คน และลูก ๆ ของพวกเขาอีก 166 คน ซึ่งมีช่วงอายุ 7 - 15 ขวบ ทั้งหมดอาศัยอยู่ในเมืองบอสตัน พบว่าผู้ชมที่ติดตามข่าวเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน หรือที่เรารู้จักในชื่อ 911 ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานหลายชั่วโมงต่อวัน เกิดภาวะ Trauma หรือ ภาวะสะเทือนใจอย่างรุนแรง ผลวิจัยเรื่องนี้ทำให้เห็นว่า แม้เราจะไม่ได้เป็นผู้ที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงนั้นโดยตรง แต่การเสพสื่อที่สะท้อนภาพความรุนแรงก็สามารถทำให้เรานั้นมีภาวะเครียดและวิตกกังวล หรือ ภาวะ Trauma ได้เช่นเดียวกัน แล้วภาวะ Trauma คืออะไร สื่อแบบไหนที่จะทำให้เราเกิดภาวะ Trauma ได้ และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว เราจะจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร ไปรู้เท่าทันสื่อเรื่องนี้กัน<br></p><p><strong>ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง </strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS"><strong></strong></a><strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS">www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS</a></strong></p>ส., 26 ก.ย. 2563 14:00:001891022592020-09-12 13:45:00ThaiPBSVODรู้เท่าทันสื่อรู้ทันปรากฏการณ์ Filter Bubble12 ก.ย. 256314:00 - 08:54https://program.thaipbs.or.th/watch/YKQxabYKQxabSornsawan Wongchaichana800367YKQxabThaiPBSVODhttps://vod.thaipbs.or.th/video-objects/SAIZ5SRCS8k8/playlist.m3u8https://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/Kg/iy/1Kgiysn9XJe4-default.jpghttps://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/Kg/iy/1Kgiysn9XJe4-default.jpg<p>ถ้าเราอยากจะโน้มน้าวใจใครสักคนในโลกออนไลน์ให้คล้อยตามเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องใช้ความคิดเห็นจากคนหมู่มาก เพราะใช้ความคิดเห็นของคนเพียงแค่ร้อยละ 20 <strong>"อัลกอริทึม" </strong>ของโซเชียลมีเดียก็ทำให้คนที่ยังไม่ตัดสินใจเชื่อข้อมูลด้านใดด้านหนึ่งปักใจเชื่อได้ทันทีว่า "คนส่วนใหญ่คิดแบบเดียวกัน" โดยที่ไม่รู้เลยว่าคนที่เหลืออีกร้อยละ 80 คิดเห็นอย่างไร หรือคิดแตกต่างกันหรือไม่ นี่เป็นผลงานวิจัยเรื่องภาพลวงตาของคนหมู่มากในสังคมออนไลน์ จากสถาบันวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัย Southern California ประเทศสหรัฐอเมริกา นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ค้นพบว่า ภาพลวงตาของคนหมู่มาก เกิดจากการทำงานของ <strong>"อัลกอริทึม"</strong> ซึ่งทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Filter Bubble หรือแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า<strong> "ตัวกรองฟองสบู่" </strong>ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของเรา เพราะโซเชียลมีเดียจะจดจำได้ว่าเราชอบอะไร และจะคอยคัดกรองแต่เนื้อหาที่เราชอบมาแสดงผล ดู ๆ ไปแล้วโซเชียลมีเดียก็เหมือนจะรู้ใจเรา แต่นี่กลับกลายเป็นกับดักคล้ายฟองสบู่บาง ๆ ที่บังตาเราเอาไว้ เพราะการที่เราเห็นแต่สิ่งที่เราชอบ จะทำให้เราโลกทัศน์ของเราแคบลงอย่างไม่น่าเชื่อ ไปรู้เท่าทันสื่อเรื่องนี้กัน</p><p><strong>ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง </strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS"><strong></strong></a><strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS">www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS</a></strong></p>ส., 12 ก.ย. 2563 14:00:001221018232020-09-05 13:45:00ThaiPBSVODรู้เท่าทันสื่อทำไมเราเปิดใจใช้แอปพลิเคชันหาคู่5 ก.ย. 256314:00 - 08:54https://program.thaipbs.or.th/watch/1vnrRK1vnrRKBussakorn Bouayam8003671vnrRKThaiPBSVODhttps://vod.thaipbs.or.th/video-objects/S9V9Hg4HpOPu/playlist.m3u8https://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/Kd/Gw/1KdGwyL6mE2q-default.jpghttps://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/Kd/Gw/1KdGwyL6mE2q-default.jpg<p>ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เกิดแอปพลิเคชันใหม่ ๆ อย่างเช่น แอปพลิเคชันหาคู่ ที่เปิดโอกาสให้เราได้ทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ในโลกออนไลน์ ซึ่งแอปพลิเคชันสามารถแนะนำคนที่น่าสนใจให้มาเจอกับเราได้ เพียงแค่ระบุว่าเราชอบคนบุคลิกแบบไหน อายุเท่าไร อยู่ใกล้หรืออยู่ไกลเรากี่กิโลเมตร ปัจจุบันแอปพลิเคชันหาคู่ออนไลน์ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเว็บไซต์ Business of Apps เปิดเผยข้อมูลว่า แอปพลิเคชันหาคู่ชื่อดังอย่าง Tinder ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ของโลก และมีผู้ใช้งานเฉลี่ย 57 ล้านบัญชี และมีสมาชิกที่จับคู่กันกว่า 26 ล้านคู่ต่อวัน ส่วนใหญ่จะดึงดูดใจกันผ่านรูปภาพส่วนตัวและคำทักทาย แล้วทำไมผู้คนในยุคดิจิทัลถึงกล้าเปิดใจใช้แอปพลิเคชันสร้างความรัก ความสัมพันธ์ ทั้ง ๆ ที่อาจจะไม่เคยพบเจอกันในชีวิตจริง เรื่องนี้มีอะไรที่เราต้องรู้เท่าทันสื่อบ้าง <br></p><p><strong>ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง </strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS"><strong></strong></a><strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS">www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS</a></strong></p>ส., 5 ก.ย. 2563 14:00:001871015882020-08-30 13:45:00ThaiPBSVODรู้เท่าทันสื่อเมื่อสมาร์ตโฟนเป็นประตูล้วงข้อมูลส่วนตัว30 ส.ค. 256313:54 - 08:54https://program.thaipbs.or.th/watch/K1AYFpK1AYFpSiriwan Leowratsamee800367K1AYFpThaiPBSVODhttps://vod.thaipbs.or.th/video-objects/S92BKFi6xRZc/playlist.m3u8https://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/Ka/8c/1Ka8cMBpvRik-default.jpghttps://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/Ka/8c/1Ka8cMBpvRik-default.jpg<p>ในยุคดิจิทัล <strong>"โทรศัพท์สมาร์ตโฟน"</strong> ดูเหมือนจะเป็นปัจจัยที่ 5 ในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ก็ทำให้สมาร์ตโฟนรุ่นใหม่สามารถทำอะไรได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการสแกนใบหน้า สแกนลายนิ้วมือ ใช้เสียงสั่งงาน หรือสามารถติดตั้งแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้มากมาย เรียกได้ว่าอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เต็มที่ นี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ใครหลาย ๆ คนเลือกที่จะบันทึกข้อมูลสำคัญไว้ในโทรศัพท์ เช่น รหัสผ่าน, หมายเลขบัญชีเงินฝาก หรือ ข้อมูลลับ ๆ ที่ไม่อยากบอกใคร แต่คุณจะแน่ใจได้อย่างไรว่า <strong>"สมาร์ตโฟนอัจฉริยะ"</strong> จะไม่ทำให้ข้อมูลส่วนตัวของคุณรั่วไหล ไปรู้เท่าทันสื่อเรื่องนี้กัน <br></p><p><strong>ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง </strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS"><strong></strong></a><strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS">www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS</a></strong></p>ส., 29 ส.ค. 2563 13:54:522271010612020-08-22 13:45:00ThaiPBSVODรู้เท่าทันสื่อเมื่อสื่อขยายประเด็นอาจล้ำเส้นจริยธรรม22 ส.ค. 256314:00 - 08:54https://program.thaipbs.or.th/watch/Ul4DQpUl4DQpSornsawan Wongchaichana800367Ul4DQpThaiPBSVODhttps://vod.thaipbs.or.th/video-objects/S8D2ZbF1pLLa/playlist.m3u8https://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/K8/FY/1K8FYJMF2ElW-default.jpghttps://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/K8/FY/1K8FYJMF2ElW-default.jpg<p>ต้องยอมรับว่าคดีที่มีความซับซ้อน มีเงื่อนงำ เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องใช้เวลารวบรวมพยานหลักฐานเพื่อไขปมคดีอย่างรอบคอบมากที่สุด ซึ่งอาจจะทำให้ตำรวจไม่สามารถบอกความคืบหน้าของคดีได้ทุกวัน แต่ในห้วงเวลานี้ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยิ่งทำให้คนในสังคมเกิดความสงสัย และอยากรู้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น ดังนั้นสื่อมวลชนจึงทำหน้าที่เสาะหาประเด็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นมานำเสนอ เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสความสนใจของประชาชน อีกด้านหนึ่งสื่อก็ได้รับความ นิยมหรือได้เรตติ้งจากการนำเสนอข่าวเช่นกัน อย่างเช่นกรณีที่สื่อโทรทัศน์ต่างให้พื้นที่รายงานข่าวการเสียชีวิตของน้องชมพู่ เว็บไซต์ TV Digital Watch รายงานว่า ช่วงวันที่ 6 - 12 กรกฎาคมเป็นสัปดาห์ที่<strong> "รายการข่าว" </strong>ช่วงไพรม์ไทม์มีเรตติ้งสูงกว่ากลุ่มรายการบันเทิงประเภท ละคร ซึ่งปรากฏการณ์นี้เห็นได้ไม่บ่อยนัก แต่ที่ผ่านมาก็มีการตั้งคำถามจากสังคมว่า "สื่อมวลชนขยายประเด็นข่าว จนล้ำเส้นจริยธรรมมากเกินไปหรือไม่?" ไปรู้เท่าทันผลกระทบเรื่องนี้กัน</p><p><strong>ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง </strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS"><strong></strong></a><strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS">www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS</a></strong></p>ส., 22 ส.ค. 2563 14:00:001031007312020-08-15 13:45:00ThaiPBSVODรู้เท่าทันสื่อพฤติกรรม Sharenting การแชร์รูปลูกลงโซเชียลมีเดีย15 ส.ค. 256314:00 - 08:54https://program.thaipbs.or.th/watch/2N0kzN2N0kzNBussakorn Bouayam8003672N0kzNThaiPBSVODhttps://vod.thaipbs.or.th/video-objects/S7dBobjsXtTQ/playlist.m3u8https://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/K6/au/1K6auXnMRjiM-default.jpghttps://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/K6/au/1K6auXnMRjiM-default.jpg<p>จากรายงานของ UK Children’s Commissioner รูปภาพกว่า 1,300 รูป นั่นคือจำนวนภาพของเด็ก 1 คน ที่กระจัดกระจายอยู่บนอินเทอร์เน็ต และรูปภาพส่วนใหญ่ถูกอัปโหลดโดยผู้ปกครองตั้งแต่เขายังเล็ก หรือ ตั้งแต่อยู่ในท้องกันเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม...ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความน่ารักที่ส่งผ่านภาพนิ่ง หรือ คลิปวีดีโอเหล่านี้ ทำให้คนใช้โซเชียลมีเดียอย่างเรา ๆ พลอยหลงรักและอยากติดตามพัฒนาการของเด็ก ๆ ไปด้วย Sharenting มีที่มาจากคำว่า Share ผสมกับคำว่า Parenting ที่แปลว่า "การเลี้ยงดู" เป็นคำที่ใช้เรียกพฤติกรรมของพ่อแม่ยุคดิจิทัล ที่โพสต์รูปลูกลงโซเชียลมีเดีย ด้านหนึ่งมันคือการเก็บความทรงจำของครอบครัว เพราะเมื่อเวลาผ่านไปภาพเหล่านี้ก็จะถูกแจ้งเตือนอยู่บนสื่อออนไลน์อีกครั้ง และทำให้เห็นพัฒนาการของลูกน้อย แต่อีกด้านเราก็อาจลืมไปว่าภาพที่น่ารักของพ่อแม่ในวันนี้ อาจเป็นภาพที่น่าอายของลูกเมื่อเขาโตขึ้น จึงอยากชวนคุณผู้ชมไปรู้เท่าทันสื่อเรื่องนี้กัน <br></p><p><strong>ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง </strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS"><strong></strong></a><strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS">www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS</a></strong></p>ส., 15 ส.ค. 2563 14:00:001201004042020-08-08 13:45:00ThaiPBSVODรู้เท่าทันสื่อโปรโมชันสินค้าออนไลน์8 ส.ค. 256314:00 - 08:54https://program.thaipbs.or.th/watch/udGjXdudGjXdSornsawan Wongchaichana800367udGjXdThaiPBSVODhttps://vod.thaipbs.or.th/video-objects/S732nCRG4VhZ/playlist.m3u8https://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/K2/Ng/1K2NgfsThLSo-default.jpghttps://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/K2/Ng/1K2NgfsThLSo-default.jpg<p>ทุกวันนี้ไม่ว่าเราอยากซื้อสินค้าอะไร ก็ไม่ต้องเสียเวลาออกจากบ้านไปที่ร้านค้า หรือต้องไปเดินห้างสรรพสินค้าให้เมื่อย เพราะทุกคนสามารถสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ได้ง่าย ๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้นักชอปออนไลน์ยังได้รับสิทธิพิเศษอยู่บ่อย ๆ จาก <strong>"โปรโมชัน"</strong> ที่เว็บไซต์ขายของออนไลน์ต่างพากัน ลด แลก แจก แถม เพื่อเอาใจลูกค้า แต่<strong> "ข้อเสนอสุดพิเศษเหล่านี้" </strong>อาจทำให้ใครหลาย ๆ คนยอมจ่ายเงินในกระเป๋าได้ง่ายและเร็วขึ้น มารู้ตัวอีกทีก็เผลอสั่งซื้อสินค้าออนไลน์มากเกินพอดี จึงอยากชวนคุณผู้ชมไปรู้เท่าทันสื่อเรื่องนี้กัน</p><p><strong>ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง </strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS"><strong></strong></a><strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS">www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS</a></strong><br></p>ส., 8 ส.ค. 2563 14:00:001681001692020-08-01 13:45:00ThaiPBSVODรู้เท่าทันสื่อเมื่อเกมออนไลน์แฝงการพนัน1 ส.ค. 256311:45 - 08:54https://program.thaipbs.or.th/watch/B5bnpsB5bnpsBussakorn Bouayam800367B5bnpsThaiPBSVODhttps://vod.thaipbs.or.th/video-objects/S6fTcsVLI5ke/playlist.m3u8https://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/K1/3d/1K13dbVi7xJL-default.jpghttps://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/K1/3d/1K13dbVi7xJL-default.jpg<p>การวิจัยเรื่อง <strong>"สถานการณ์การเล่นเกมออนไลน์ของเด็กไทย ประจำปี 2562"</strong> โดยสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชนสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างเด็กและเยาวชนจำนวน 2,730 คน เล่นเกมออนไลน์ทุกวันเกือบร้อยละ 90 และจะใช้เวลาเล่นเกมมากขึ้นในวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์ เมื่อเด็ก ๆ ใช้เวลาเล่นเกมมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ <strong>"ค่าใช้จ่าย"</strong> สำหรับการเล่นเกมออนไลน์ ซึ่งงานวิจัยพบว่า เด็ก ๆ จะใช้เงิน <strong>"มากกว่า 500 บาท"</strong> เพื่อเล่นเกมในแต่ละเดือน นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตสำคัญ คือเหล่าเกมเมอร์จำนวนไม่น้อยต้องสูญเงินตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่น เพื่อการเสี่ยงโชค สุ่มลุ้นไอเท็มในเกม ซึ่งเรื่องนี้กำลังถูกมองว่าอาจจะเข้าข่าย <strong>"การพนันรูปแบบใหม่"</strong> ไปรู้เท่าทันสื่อเรื่องนี้กัน</p><p><strong>ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง </strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS"><strong></strong></a><strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS">www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS</a></strong></p>อ., 4 ส.ค. 2563 11:45:11194996582020-07-25 13:45:00ThaiPBSVODรู้เท่าทันสื่อเมื่อประชาชนเขย่าแหล่งรายได้สื่อ เพื่อเรียกร้องจริยธรรม25 ก.ค. 256314:00 - 08:54https://program.thaipbs.or.th/watch/Bht5u1Bht5u1Siriwan Leowratsamee800367Bht5u1ThaiPBSVODhttps://vod.thaipbs.or.th/video-objects/S5ecJTHPJCja/playlist.m3u8https://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/JY/RJ/1JYRJlXuD7ny-default.jpghttps://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/JY/RJ/1JYRJlXuD7ny-default.jpg<p>การใช้โซเชียลมีเดียในแต่ละวัน อาจพาเราไปพบกับปัญหาข้อมูลลวง หรือ พบกับเนื้อหาที่สร้างความเกลียดชังอยู่บ่อย ๆ ซึ่งปัญหานี้ขึ้นกับผู้ใช้โซเชียลมีเดียทั่วโลก และที่ผ่านมาก็มีการเรียกร้องให้โซเชียลมีเดียยอดนิยมหลายแห่งออกมาแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง แต่ก็ดูเหมือนว่ายังไม่สามารถยับยั้งเนื้อหาที่สร้างผลกระทบด้านลบเหล่านี้ได้ แต่เมื่อไม่นานมานี้ ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียยอดนิยมเริ่มปรับตัวตามเสียงเรียกร้องของผู้ใช้สื่อออนไลน์กันบ้างแล้ว เมื่อผู้ซื้อโฆษณารายใหญ่ประกาศไม่สนับสนุนซื้อพื้นที่โฆษณาผ่านโซเชียลมีเดียที่นำเสนอเนื้อหาสร้างความแตกแยก เกลียดชัง ไปรู้เท่าทันสื่อเรื่องนี้กัน</p><p><strong>ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง </strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS"><strong></strong></a><strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS">www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS</a></strong></p>ส., 25 ก.ค. 2563 14:00:0037992982020-07-18 13:45:00ThaiPBSVODรู้เท่าทันสื่อเมื่อ YouTuber พูดคำหยาบ ส่งผลอย่างไร18 ก.ค. 256314:00 - 08:54https://program.thaipbs.or.th/watch/3fgGQk3fgGQkSornsawan Wongchaichana8003673fgGQkThaiPBSVODhttps://vod.thaipbs.or.th/video-objects/S50UYhHQN29d/playlist.m3u8https://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/JV/DI/1JVDI30uxiW9-default.jpghttps://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/JV/DI/1JVDI30uxiW9-default.jpg<p>YouTube ถือได้ว่าเป็นเว็บไซต์ยอดนิยมของผู้คนทั่วโลก ปัจจุบันมีผู้ใช้งานมากกว่า 2,000 ล้านคน และเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ เพราะไม่ว่าใครก็สามารถอัปโหลดคลิปวิดีโอเข้าไปใน YouTube ได้ ดังนั้นจึงมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ใช้ช่องทางนี้สร้างรายได้ จนเกิดเป็นอาชีพที่เรียกว่า YouTuber </p><p>Youtuber กลายเป็นอาชีพในฝันของเด็ก ๆ ในยุคดิจิทัลไปแล้ว เพราะเมื่อไม่นานมานี้บริษัทจัดหางานชื่อดังอย่าง Adecco สำรวจพบว่า "เด็กไทยอายุ 7-14 ปี อยากทำอาชีพ YouTuber มากป็นอันดับ 3 รองจากอาชีพหมอ และครู" และเด็ก ๆ ยังมองว่าเหล่า YouTuber ที่พวกเขาชื่นชอบเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตอีกด้วย</p><p>ทำให้ทุกวันนี้เกิด YouTuber หน้าใหม่ขึ้นมามากมาย โจทย์ท้ายทายคือทำอย่างไรให้คลิปของพวกเขาได้รับความสนใจจากชาวเน็ต แต่ที่ผ่านมาพบข้อเป็นห่วงจากผู้ปกครองว่า YouTuber บางคนเลือกวิธีดึงดูดใจผู้ชมด้วยการ "พูดคำหยาบ" ซึ่งอาจจะทำให้เด็กและเยาวชนลอกเลียนแบบได้ ไปรู้เท่าทันสื่อเรื่องนี้กัน</p><p><strong>ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง </strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS"><strong></strong></a><strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS">www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS</a></strong></p>ส., 18 ก.ค. 2563 14:00:00144988262020-07-11 13:45:00ThaiPBSVODรู้เท่าทันสื่อทำไมเราชอบอวดบนโลกโซเชียล11 ก.ค. 256314:01 - 08:54https://program.thaipbs.or.th/watch/hUx5YGhUx5YGBussakorn Bouayam800367hUx5YGThaiPBSVODhttps://vod.thaipbs.or.th/video-objects/S4K34ZNVaZvq/playlist.m3u8https://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/JT/72/1JT72JY7Wfis-default.jpghttps://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/JT/72/1JT72JY7Wfis-default.jpg<p>ในโลกโซเชียลของคุณเต็มไปด้วยภาพความสุขของเพื่อน ๆ หรือเปล่า แล้วเคยรู้สึกไหมว่าสเตตัสชีวิตดี ๆ ของเพื่อน ๆ กลับทำให้เรารู้สึกหดหู่หรืออิจฉา เพราะโซเชียลมีเดียในวันนี้กลายเป็นพื้นที่ของการโชว์ หรือการโอ้อวดชีวิตตัวเองอย่างเต็มที่ เป็นพื้นที่ ๆ ใครหลายคนเอาไว้โฆษณาตัวเองให้คนอื่นอิจฉา หรือกระทั่งว่าถ้ารูปไหนหรือสเตตัสไหนได้ไลก์น้อย ก็จะรีบลบออกไปเพราะรู้สึกไม่มีความสุข แล้วคุณผู้ชมเคยสงสัยไหมว่า...ทำไมเราถึงมีความสุขเวลาได้อัปเดตภาพชีวิตดี ๆ ของตัวเองลงในโซเชียลแล้วเฝ้ารอผลตอบรับจากคนอื่นผ่านยอดไลก์ ไปรู้เบื้องลึกของจิตใจกับโฆษกกรมสุขภาพจิตกัน </p><p><strong>ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง </strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS"><strong></strong></a><strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS">www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS</a></strong></p>ส., 11 ก.ค. 2563 14:01:00163985152020-07-04 13:45:00ThaiPBSVODรู้เท่าทันสื่อเมื่อข่าวผสมเรื่องไสยศาสตร์4 ก.ค. 256314:00 - 08:54https://program.thaipbs.or.th/watch/sNGvWxsNGvWxBussakorn Bouayam800367sNGvWxThaiPBSVODhttps://vod.thaipbs.or.th/video-objects/S3jKCrDkdL3Z/playlist.m3u8https://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/JQ/un/1JQungBuIoDd-default.jpghttps://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/JQ/un/1JQungBuIoDd-default.jpg<p>ปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อบันเทิงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับไสยศาสตร์ สิ่งลี้ลับ หรือ เรื่องเหนือธรรมชาติ ได้รับความนิยมจากผู้ชมคนไทยอยู่เสมอ จะเห็นได้จากภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทยก็เป็นเรื่องราวจากตำนานรักของแม่นาคพระโขนง ที่แม้ว่าจะนำมาสร้างสรรค์เป็นภาพยนตร์อีกกี่ครั้ง ก็ยังได้รับความสนใจจากผู้ชม <strong>Dr. Glenn Walters</strong> นักนิติจิตวิทยา จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้อธิบายเหตุผลที่มนุษย์ชอบดูเรื่องที่ชวนขนหัวลุกไว้ว่า <strong>"เกิดขึ้นจากคนเราอยากรู้สึกกลัว ตื่นเต้น ตกใจ ยิ่งถ้าเราบังคับตัวเองให้ดูจนจบ ก็จะทำให้รู้สึกว่าเราเอาชนะความกลัวของตัวเองได้" </strong>แต่ที่ผ่านมาเรื่องไสยศาสตร์ หรือ เรื่องเหนือธรรมชาติ ไม่ได้อยู่ในสื่อบันเทิงเท่านั้น แต่เรามักจะเห็นเรื่องเหล่านี้ไปเกี่ยวข้องกับข่าว โดยเฉพาะข่าวอุบัติเหตุ ข่าวอาชญากรรม หรือ ข่าวการตามหาคนหาย เป็นต้น เมื่อเรื่องลี้ลับถูกผสมอยู่ในข่าว จะมีผลต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของเราอย่างไร ไปรู้เท่าทันสื่อเรื่องนี้กัน</p><p><strong>ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง </strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS"><strong></strong></a><strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS">www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS</a></strong></p>ส., 4 ก.ค. 2563 14:00:00134980912020-06-27 13:45:00ThaiPBSVODรู้เท่าทันสื่อวงจรข้อมูลลวง COVID-1927 มิ.ย. 256314:00 - 08:54https://program.thaipbs.or.th/watch/WWe50oWWe50oBussakorn Bouayam800367WWe50oThaiPBSVODhttps://vod.thaipbs.or.th/video-objects/S30zDOTcdoIa/playlist.m3u8https://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/JO/GY/1JOGYx8FcmM1-default.jpghttps://thaipbs-program.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/content/images/episode/1/JO/GY/1JOGYx8FcmM1-default.jpg<p>ขณะนี้ <strong>"ข่าวลวง"</strong> เป็นปัญหาที่หลายประเทศทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญ เพราะผลกระทบของมันน่ากลัวเกินกว่าที่จะนิ่งเฉย โดยเฉพาะ <strong>"ข่าวลวง"</strong> ที่แพร่กระจายเข้าไปในสื่อออนไลน์ มันจะถูกส่งต่อกันซ้ำ ๆ และย้อนกลับมาสร้างความปั่นป่วนได้เสมอ เรียกได้ว่า<strong> "ข่าวลวงไม่มีวันตาย"</strong> เลยทีเดียว ยิ่งในช่วงวิกฤต COVID-19<strong> "ข่าวหรือข้อมูลลวง" </strong>ก็กลายเป็นอุปสรรคใหญ่ในการรับมือกับโรคระบาดครั้งนี้ อย่างเช่น คำกล่าวของนายอังตอนียู กูแตรึช เลขาธิการสหประชาชาติ ที่ออกมาเตือนว่า <strong>"ข้อมูลลวง" </strong>ถือเป็นศัตรูในการรับมือกับสถานการณ์ COVID-19 เช่นเดียวกับองค์การอนามัยโลกที่กล่าวว่า<strong> "ข้อมูลข่าวสารลวง"</strong> เกิดการแพร่ระบาดไม่ต่างจากโรค COVID-19 จึงตั้งชื่อปรากฏการณ์นี้ว่า Infodemic หมายถึง สภาวะความท่วมท้นของข้อมูลที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีทั้งเรื่องจริงบ้าง ลวงบ้าง ส่งผลให้ผู้คนไม่สามารถหาแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและไว้ใจได้ แล้วเราจะมีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยกันหยุดยั้ง<strong> "ข้อมูลลวง"</strong> ในสื่อออนไลน์ ไปรู้เท่าทันสื่อเรื่องนี้กัน</p><p><strong>ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง </strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS"><strong></strong></a><strong><a href="http://www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS">www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS</a></strong></p>ส., 27 มิ.ย. 2563 14:00:0098