ThaiPBS VODhttps://program.thaipbs.or.th662712020-01-01 23:00:00qoderโลกหลากมิติเปิดโลกวิทยาศาสตร์น่ารู้ ตอน มลภาวะทางแสง และเหมืองใต้พื้นสมุทร1 ม.ค. 256311:14https://program.thaipbs.or.th/LokLakMiti/episodes/66271https://program.thaipbs.or.th/watch<p><strong></strong><strong>The Quest for Knowledge : Ep.66</strong></p><p>ตั้งแต่เริ่มการปฏิวัติอุตสาหกรรม เมืองใหญ่ทั่วโลกก็สว่างไสวมากขึ้น แนวโน้มดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ย่านชอปปิงในเมืองใหญ่ พื้นที่รอบสถานที่สำคัญ เขตอุตสาหกรรม รวมถึงอาคารพักอาศัย ล้วนสว่างไสวในยามค่ำคืน สาเหตุมีหลายประการ เช่น แสงสว่างช่วยดึงดูดลูกค้า และให้ความตื่นตาตื่นใจ แสงไฟยังลดอันตรายและป้องกันอาชญากรรมได้อีกด้วย หลอดไฟประหยัดพลังงานนอกจากจะให้แสงที่สว่างกว่าแล้ว ก็ยังใช้พลังงานเท่ากันหรือน้อยลงอีก </p><p>แต่การใช้แสงเทียมจากหลอดไฟมากขึ้น มีผลเสียตามมามามาย นาฬิกาชีวิตของผู้คนในเมืองเริ่มรวน หลายคนมีอาการนอนหลับผิดปกติ และมักส่งผลต่อสุขภาพ หลายแห่ง ความสมดุลทางนิเวศถูกรบกวน เช่น แสงไฟเทียมล่อแมลงจำนวนมากไปตาย ทำให้ไม่มีแมลงผสมเกสรดอกไม้ และส่งผลให้นก ปลาและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ขาดอาหาร แต่ก็มีแมงมุมบางพันธุ์ที่รู้จักปรับตัว และได้ประโยชน์จากแสงเทียม โดยชักใยไว้ใกล้กับหลอดไฟ และขยายพันธุ์เป็นจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์จากหลายสาขาวิชา กำลังใช้แนวคิดต่าง ๆ แก้ปัญหาการใช้แสงอย่างสิ้นเปลืองของมนุษย์ </p><p><strong>The Quest for Knowledge : Ep.67</strong></p><p>ก้อนแมงกานีส ที่ดูคล้ายดอกกะหล่ำไหม้ ทับถมกันอยู่ใต้ทะเลลึก พบมากเป็นพิเศษในพื้นที่เจาะจงแห่งหนึ่งของแปซิฟิก ทำให้นักวิทยาศาสตร์และผู้ประกอบการ กำลังคิดหาวิธีสกัดวัตถุดิบเหล่านี้มาใช้ในอุตสาหกรรมที่สำคัญ เนื่องจากก้อนแร่ที่ใช้เวลาก่อตัวนานหลายล้านปี นอกจากมีแมงกาสีสและทรายแล้ว ยังมีโลหะอื่น ๆ อีกหลายชนิดที่จำเป็นต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ แหล่งแร่โลหะบนบก อาจจะหมดลงในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า ในขณะที่นิกเกิล ทองแดง และแร่โลหะหายากอื่น ๆ ใกล้หมด ก้อนแมงกานีส อาจเป็นแหล่งแร่ที่สำคัญต่อไป หลายบริษัทเริ่มคิดค้นเทคนิคพิเศษต่าง ๆ เพื่อสกัดแร่ ที่ความลึกมากกว่า 4,000 เมตร พาหนะตีนตะขาบที่ติดตั้งท่อสูบแร่ จะทำลายพื้นทะเลชั้นบน ที่มีก้อนแมงกานีสอยู่ แต่การขุดแบบนี้จะมีผลกระทบต่อกระบวนการชีวเคมีในทะเลอย่างไร นักวิจัยบางคนเตือนว่า มันเป็นกระบวนการที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลึก และยังควบคุมปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ และออกซิเจนในบรรยากาศอีกด้วย</p><p><strong>ติดตามชมรายการโลกหลากมิติ ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 23.00 - 00.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดออนไลน์ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/live"></a><a href="http://www.thaipbs.or.th/live">www.thaipbs.or.th/live</a></strong><br></p>โลกหลากมิติ