ThaiPBS VODhttps://program.thaipbs.or.th773822021-04-01 13:00:00qoderสู้-อยู่-รู้-รอด COVID-19 NEXT NORMALประเด็นข่าว (1 เม.ย. 64)1 เม.ย. 256412:53https://program.thaipbs.or.th/Covid19NextNormal/episodes/77382https://program.thaipbs.or.th/watch/bS804l<p><strong>นักข่าวพลเมือง C-SITE</strong><br></p><ul><li><strong>ฉีดวัคซีนผลไม้ไทย ด้วยเกษตรแม่นยำ</strong></li></ul><p><strong></strong></p><p>ชวนปักหมุด จุดประเด็น กับความพยายามพลิกฟื้นผลไม้ไทยสู้โควิด-19 ในการปรับกลยุทธ์การขายของชาวสวน และการหาทางรอดด้วยเทคนิคการทำเกษตรแบบแม่นยำในการเข้ามาช่วยแก้ปัญหาระบบเกษตร ร่วมพูดคุยในประเด็นนี้ไปพร้อมกับ ศ. ดร.อรรถชัย จินตะเวช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคุณชยันต์ เจียมศิริ ประธานกลุ่มเครือข่ายสภาเกษตรกรไม้ผล จ.สมุทรสงคราม</p><p><span class="redactor-invisible-space"></span></p><strong></strong><p><strong>สถานีประชาชน</strong></p><ul><li><strong>ชวนเที่ยวสวนผลไม้ ชิมส้มโอขาวใหญ่ ลิ้นจี่ค่อมพันธุ์โบราณ จ.สมุทรสงคราม</strong></li></ul><p>จังหวัดสมุทรสงคราม เตรียมพร้อมรับนักท่องเที่ยว พร้อมเปิดสวนผลไม้ให้ลิ้มลองรสอร่อย ทั้งส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ และลิ้นจี่พันธุ์ค่อมโบราณ เน้นขายคุณภาพเพื่อผู้บริโภค</p><ul><li><strong>โรงแรม - โฮมสเตย์ จ.สมุทรสงคราม พร้อมรับนักท่องเที่ยว แบบ New Normal</strong></li></ul><p>โฮมสเตย์ชาวบ้านหลายพื้นที่เตรียมพร้อมรับนักท่องเที่ยวช่วงฤดูผลไม้ จ.สมุทรสงคราม รวมถึงโรงแรม ปรับโปรโมชั่นช่วยเหลือชุมชน โดยการรับวัตถุดิบในท้องถิ่นมาปรุงอาหารให้ลูกค้า เพื่อเป็นการกระจายรายได้</p><ul><li><strong>ท่องเที่ยวประมงพื้นบ้าน จ.สมุทรสงคราม</strong></li></ul><p><strong></strong></p><p>ชวนท่องเที่ยวแหล่งประมงพื้นบ้าน จ.สมุทรสงคราม ที่มีวัตถุดิบอาหารทะเลครบวงจร ด้านร้านอาหารท้องถิ่นช่วยรับซื้อ เพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชน</p><p><strong>เกาะติดสถานการณ์เพื่อปรับตัวและรับมือ กับรายการพิเศษ "สู้-อยู่-รู้-รอด COVID-19 NEXT NORMAL" วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน 2564 เวลา 13.00 - 15.00 น.ทางไทยพีบีเอส <strong><strong>รับชมออนไลน์ได้ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/Live">www.thaipbs.or.th/Live</a></strong></strong></strong></p>771832021-03-25 13:00:00qoderสู้-อยู่-รู้-รอด COVID-19 NEXT NORMALประเด็นข่าว (25 มี.ค. 64)25 มี.ค. 256412:33https://program.thaipbs.or.th/Covid19NextNormal/episodes/77183https://program.thaipbs.or.th/watch/0NBXJ6<p><strong>บ่ายโมงตรงประเด็น</strong></p><p><strong></strong></p><ul><li>ภาคประชาชนร่วมกันผลักดันให้เกิดนโยบาย "รัฐสวัสดิการ" หวังให้เข้ามาแก้ปัญหานี้ ซึ่งถ้ามองดู เรื่องพวกนี้หลายพรรคการเมืองก็เคยนำเสนอเอาไว้ช่วงเสียง แต่เลือกตั้งผ่านมายังไม่มีเรื่องไหนเป็นรูปธรรม พวกเขาก็เลยจึงลุกขึ้นมาทวงถามสัญญาจากพรรคการเมือง</li><li><span class="redactor-invisible-space">คณะลิเกสองเทพบุตรสุดที่รักที่เคยปรับตัวในช่วงล็อกดาวน์ แสดงสดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ หวังเพิ่มกลุ่มเป้าหมายแม่ยกในต่างประเทศ แต่รายได้ก็ยังไม่มากความเครียดจึงไปตกอยู่ที่หัวหน้าคณะ แต่ก็สามารถประคับประครองมาได้ จนได้กลับมาแสดงสดบนเวทีอีกครั้ง</span></li></ul><p><strong></strong><strong>นักข่าวพลเมือง C-SITE</strong></p><ul><li><strong>ดูแลใจ สู้โควิด</strong></li></ul><p>สถานการณ์โควิด-19 นอกจากส่งผลกระทบในแง่เศรษฐกิจ คนตกงาน รายได้ลด ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจและความเครียด จนนำมาสู่ปัญหาภายในครอบครัว โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง</p><p><strong></strong></p><p><span class="redactor-invisible-space">ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะยืนยันว่าเราอยู่ในจุดที่ควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ได้ ผลสำรวจทางวิชาการพบว่าคนไทยการ์ดตกไปเยอะ เศรษฐกิจและภาพรวมคงยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะฟื้นตัวในเร็ววัน การดูแลใจจึงสำคัญอย่างมากที่ต้องช่วยกันทำต่อย่างเข้มข้น ชวนดูแลใจเราและคนใกล้ชิด ผ่านการพูดคุยกับ ดร.เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช อาจารย์ประจำสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายอนุกูล ปีดแก้ว รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะโฆษกของ พม.</span></p><strong></strong><p><strong>สถานีประชาชน</strong></p><ul><li><strong>สตม. และ ศปอส.ตร ทลายแอปเงินกู้เถื่อน พบลูกหนี้กว่า 20,000 คน</strong></li></ul><p><strong></strong></p><p>สำนักงานนักงานตำรวจแห่งชาติ บูรณาการกวาดล้างจับกุมแอปพลิเคชันเงินกู้นอกระบบบนโลกออนไลน์ พบนายทุนชาวจีนอยู่เบื้องหลัง เงินหมุนเวียนหลายสิบล้านบาท มีลูกหนี้กว่า 20,000 คนทั่วประเทศ </p><ul><li><strong>เตือนภัยออนไลน์ : หลอกทำงานเสริมแยกยาง - แยกลูกปัด </strong></li></ul><p><strong></strong></p><p>หลอกทำอาชีพเสริม แยกสียาง - แยกสีลูกปัด อ้างรายได้ดีสุดท้ายแค่กลลวง พบกลับมาระบาดอีกครั้งช่วงโควิด-19 มีผู้เสียหายหลงเชื่อรับสินค้ามาทำที่บ้าน แต่กลับไม่ได้เงิน รวมมูลค่าเสียหายกว่า 1 ล้านบาท</p><p><strong>เกาะติดสถานการณ์เพื่อปรับตัวและรับมือ กับรายการพิเศษ "สู้-อยู่-รู้-รอด COVID-19 NEXT NORMAL" วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม 2564 เวลา 13.00 - 15.00 น.ทางไทยพีบีเอส <strong><strong>รับชมออนไลน์ได้ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/Live">www.thaipbs.or.th/Live</a></strong></strong></strong></p>769722021-03-18 13:00:00qoderสู้-อยู่-รู้-รอด COVID-19 NEXT NORMALประเด็นข่าว (18 มี.ค. 64)18 มี.ค. 256412:35https://program.thaipbs.or.th/Covid19NextNormal/episodes/76972https://program.thaipbs.or.th/watch/MBOsBA<p><strong>บ่ายโมงตรงประเด็น</strong></p><ul><li><strong>ปิด รพ.สนามธรรมศาสตร์ ถอดบทเรียน zero waste</strong></li></ul><p>การเดินหน้ากระจายวัคซีน อาจจะเป็นสัญญาณบวกที่เราจะเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ โรงพยาบาลสนามหลายแห่งทยอยปิดตัวลงเพราะไม่ต้องรองรับผู้ป่วยแล้ว หนึ่งในนั้นคือ โรงพยาบาลสนาม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต </p><ul><li><strong>รีสตาร์ทโรดแมป จัดการขยะพลาสติก</strong></li></ul><p><strong></strong></p><p>การระบาดโควิด–19 ทำให้ต้องปรับวิถีการบริโภค รักษาระยะห่าง เลี่ยงการสัมผัสเพื่อความปลอดภัย แต่ก็แลกมาด้วยการสร้างขยะ จนอาจลืมไปว่าช่วงก่อนเกิดการระบาดเคยพยายามร่วมกันลด ละ เลิก การใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง ตามโรดแมปจัดการขยะพลาสติกของรัฐบาล</p><p><strong></strong></p><p><strong>นักข่าวพลเมือง C-SITE</strong></p><ul><li><strong>ขยะ Next Normal</strong></li></ul><p><strong></strong></p><p>แม้ดูเหมือนสถานการณ์โควิด-19 จะไม่ใช่ปัญหาสำหรับชุมชนในการร่วมกันจัดการขยะ แต่มันเห็นกันชัดเจนอยู่ว่าโควิด-19 ทำให้ทุกคนแยกขยะกันหนักขึ้น เพราะปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น จะทำอย่างไรให้ขยะถูกให้ความสำคัญพอ ๆ กับการแก้ไขปัญหาวิกฤตโควิด-19 ชวนพูดคุยเรื่องนี้กับ ดร.เพชร มโนปวิตร นักวิทยาศาตร์ด้านการอนุรักษ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง ReReef และ ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ผู้ก่อตั้ง Trash Hero ปัตตานี</p><strong></strong><p><strong>สถานีประชาชน</strong></p><ul><li><strong>การจัดการขยะแบบครบวงจร บ้าน-วัด-โรงเรียน อำเภอเมืองระยอง <br></strong>ชุมชนในอำเภอเมืองระยอง ผนึกกำลัง บ้าน–วัด–โรงเรียน กำจัดขยะเพื่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการจัดตั้งธนาคารขยะประจำชุมชน ทดลองแล้วสามารถลดขยะในชุมชนได้จริง</li><li><strong>สะท้อนปัญหากับกลุ่มซาเล้ง เริ่มกำจัดขยะจากต้นตอการผลิต<br></strong>เปิดใจสมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า พบขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ต้องนำไปฝังกลบจำนวนมาก โดยฝากถึงต้นตอการผลิต ถ้าหากยังคงผลิตสิ่งที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้อีกจะสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมาก</li><li><strong>Application Yindii จัดการอาหารเหลือที่มีมูลค่า <br></strong>อาหารเหลือมีมูลค่า เมื่อขายผ่าน Application YinDii ตัวกลางส่งต่ออาหารที่มีคุณภาพสู่ผู้บริโภคในกรุงเทพฯ มีร้านอาหารและคาเฟ่ที่ใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมเป็นสมาชิกกว่า 70 ร้าน</li></ul><p><strong>เกาะติดสถานการณ์เพื่อปรับตัวและรับมือ กับรายการพิเศษ "สู้-อยู่-รู้-รอด COVID-19 NEXT NORMAL" วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม 2564 เวลา 13.00 - 15.00 น.ทางไทยพีบีเอส <strong><strong>รับชมออนไลน์ได้ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/Live">www.thaipbs.or.th/Live</a></strong></strong></strong></p>767882021-03-11 13:00:00qoderสู้-อยู่-รู้-รอด COVID-19 NEXT NORMALประเด็นข่าว (11 มี.ค. 64)11 มี.ค. 256414:29https://program.thaipbs.or.th/Covid19NextNormal/episodes/76788https://program.thaipbs.or.th/watch<p><strong>บ่ายโมงตรงประเด็น</strong></p><ul><li>ชวนหาทางพลิกวิกฤตขยะอาหารล้น สู่แนวทางแก้โจทย์ความเหลื่อมล้ำและปรับสมดุลระบบอาหารไทย</li><li>พื้นที่เกษตรในไทยมีถึงร้อยละ 80 ที่กำลังเจอกับปัญหาดินเสื่อมโทรมเพราะใช้สารเคมีเกษตรเป็นเหตุผลที่เกษตรกรบางส่วนลุกขึ้นมาปรุงดินใช้เอง <span class="redactor-invisible-space"></span></li></ul><p><strong></strong></p><p><strong>นักข่าวพลเมือง C-SITE</strong></p><ul><li><strong>ความมั่นคงทางอาหาร หลังโควิด-19<br></strong>ดูเหมือนว่าวิกฤตอาหารโลกและช่วงโควิด-19 ประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบ เพราะว่าสามารถผลิตอาหารได้เพียงพอ แต่อีกมุมก็พบว่าเราเองมีความเสี่ยงไม่น้อยหลายด้าน ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร ชวนค้นหาโอกาสในการสร้างความมั่นคงทางอาหารรูปแบบใหม่ด้วยอาหารแห่งอนาคต ลดการพึ่งพิงตลาดภายนอกและการค้นหาต้นทุนท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่า</li></ul><ul><li><strong>ชุมชนกับการสร้างความมั่นคงทางอาหาร<br></strong>จะทำอย่างไรเพื่อให้มีอาหารเพียงพอ ปลอดภัย เข้าถึงแหล่งอาหารใหม่ ๆ ได้ และยกระดับให้เข้าถึงกลุ่มตลาดใหม่ โดยเฉพาะช่วงวิกฤตโรคระบาด หรือสถานการณ์ที่เราคาดไม่ถึง ร่วมพูดคุยถึงความท้าทายและโอกาสใหม่สำหรับชุมชนในการสร้างความมั่นคงทางอาหารกับ ดร.บุษกรณ์ ลีเจ้ยวะระ อาจารย์ประจำวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ ม.ขอนแก่น และคุณแก้วตา ธัมอิน ผู้ประสานงานโครงการกินเปลี่ยนโลก</li></ul><strong></strong><p><strong>สถานีประชาชน</strong></p><ul><li><strong>สวนผักคนเมือง "ชุมชนเอื้ออาทรรังสิตคลอง 1" จ.ปทุมธานี <br></strong>เพราะปากท้องเป็นเรื่องสำคัญ การมีแหล่งอาหารจึงเป็น ความตั้งใจของโครงการสวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ที่ยืนยันและใช้เป็นคำเชิญชวนให้คนเมืองหันมาชวนกันสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ เพื่อสังคมและโลกของเรา ในสถานการณ์ที่โควิด-19 เชื้อโรคร้ายยังคงระบาดอยู่ และไม่รู้จะหยุดเมื่อไร</li><li><strong>เกษตรกรต้นแบบ ปลูกป่าเพื่อชีวิต จ.ฉะเชิงเทรา<br></strong>เกษตรกรต้นแบบ พลิกเส้นทางชีวิตจากเคยติดเหล้า เข้าสู่วงการปลูกป่า สร้างพื้นฐานครอบครัวให้มีความมั่นคงทางอาหาร โดยใช้หลัก "ปลูกสิ่งที่กิน กินสิ่งที่ปลูก"</li><li><strong>ตลาดหัวปลี ศูนย์เกษตรเพื่อชุมชน จ.สระบุรี <br></strong>"ตลาดหัวปลี จ.สระบุรี" ตลาดเพื่อชุมชน เปิดพื้นที่ขายสร้างโอกาสและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร เชื่อมโยงตั้งแต่ต้นทางการผลิตอาหารจนถึงปลายทาง ไร้สารเคมี เพื่อสุขภาพขอผู้บริโภค</li></ul><p><strong>เกาะติดสถานการณ์เพื่อปรับตัวและรับมือ กับรายการพิเศษ "สู้-อยู่-รู้-รอด COVID-19 NEXT NORMAL" วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม 2564 เวลา 13.00 - 15.00 น.ทางไทยพีบีเอส <strong><strong>รับชมออนไลน์ได้ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/Live">www.thaipbs.or.th/Live</a></strong></strong></strong></p>765692021-03-04 13:00:00qoderสู้-อยู่-รู้-รอด COVID-19 NEXT NORMALประเด็นข่าว (4 มี.ค. 64)4 มี.ค. 256412:44https://program.thaipbs.or.th/Covid19NextNormal/episodes/76569https://program.thaipbs.or.th/watch/u4L7j9<p><strong>บ่ายโมงตรงประเด็น</strong></p><ul><li>ภาพรวมเปรียบเทียบการตกงาน ช่วงกุมภาพันธ์ - ธันวาคมจากปี 62 ที่มีคนว่างงานประมาณ 419,000 คน เพิ่มขึ้นอีก 119,000 คนในปี 63 ชวนไปดูรูปธรรมที่ยืนยันว่า ฉีดวัคซีนแล้วทำไมภาคธุรกิจโดยเฉพาะการท่องเที่ยวถึงฟื้นจากภาวะตกงานยากจริงๆ</li><li>คำถามใหญ่ที่ประชาชนมีกับรัฐบาลทั่วโลก ที่เร่งให้มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 คือ ต้องให้วัคซีนครอบคลุมแค่ไหน จึงจะทำให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ขึ้นมา เพื่อสกัดกั้นการระบาดครั้งนี้</li></ul><p><strong></strong></p><p><strong>นักข่าวพลเมือง C-SITE</strong></p><ul><li><strong>"แม่บ้านฟรีแลนซ์" จากแพลตฟอร์มทำแทน</strong></li></ul><p>ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจและวิกฤตโควิด-19 มีการคาดการณ์ว่าจะมีแรงงานจำนวน 8.4 ล้านคน เสี่ยงถูกเลิกจ้าง และกว่า 40% เป็นแรงงานอีสาน หนึ่งใน 40% ที่กำลังพูดถึงคือ<strong>คุณกมลวรรณ เดชโปรด</strong> แม่บ้านฟรีแลนซ์ จากแพลตฟอร์มทำแทน ที่ช่วยให้กลับมามีงานทำอีกครั้ง</p><ul><li><strong>ฉีดวัคซีนให้ฉันหาย จากพิษเศรษฐกิจ</strong></li></ul><p>ระหว่างทางที่ยังรอความหวังจากนโยบาย มีหลายพื้นที่เลือก <strong>“ฉีดวัคซีนตัวเอง”</strong> สร้างแพลตฟอร์มเชื่อมต่อการสร้างงาน และเดินหน้าวิสาหกิจชุมชน เพื่อหวังสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ และการใช้วัคซีนแก้โจทย์เศรษฐกิจภาพใหญ่ หากฉีดไม่ตรงจุด หรือฉีดวัคซีนกระตุ้นมากไป ผู้ประกอบการอาจเกิดภาวะช็อตได้ ซึ่ง New normal ทางธุรกิจแบบใหม่ ไม่ใช่อยู่ห่าง ๆ เท่านั้น แต่หมายถึงการสร้างวิถีใหม่ในพื้นที่ ชวนคุยเรื่องนี้กันต่อกับ<strong>คุณมารุต ชุ่มขุนทด</strong> นักธุรกิจ ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์มทำแทน และ<strong>คุณสุภัทร ฮาสุวรรณกิจ </strong>ประธานชมรมแพทย์ชนบท</p><p><strong>สถานีประชาชน</strong></p><ul><li><strong>วัคซีน COVID-19 กันโรค หรือ กันติดเชื้อ?<br></strong>พูดคุยกับนักไวรัสวิทยา วิเคราะห์ วัคซีนโควิด-19 เป็นการป้องกันโรค หรือ ป้องกันเชื้อ คนไทยควรรับการฉีดทุกคน เพื่อเป็นการรับผิดชอบต่อสังคมหรือไม่</li><li><strong>มาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ COVID-19 กับกระทรวงพาณิชย์ <br></strong>กระทรวงพาณิชย์ กำหนดทิศทางปี 2564 แก้ไขปัญหาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็น 3 ส่วน คือยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต, เน้นการให้ความสำคัญด้านบริการคู่กับการผลิต และเน้นการทำงานกับทุกภาคส่วน</li><li><strong>ออมอย่างไร? เมื่อยังใช้เงินเดือนชนเดือน<br></strong>แชร์วิธีการออมเงินอย่างไรให้ได้ผล พร้อมพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสเพื่อจัดการเงินจัดการชีวิต เพียงมีองค์ความรู้ 3 อย่าง ทำได้ง่ายได้ผลทันที</li></ul><p><strong>เกาะติดสถานการณ์เพื่อปรับตัวและรับมือ กับรายการพิเศษ "สู้-อยู่-รู้-รอด COVID-19 NEXT NORMAL" วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม 2564 เวลา 13.00 - 15.00 น.ทางไทยพีบีเอส <strong><strong>รับชมออนไลน์ได้ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/Live">www.thaipbs.or.th/Live</a></strong></strong></strong></p>763602021-02-25 13:00:00qoderสู้-อยู่-รู้-รอด COVID-19 NEXT NORMALประเด็นข่าว (25 ก.พ. 64)25 ก.พ. 256423:02https://program.thaipbs.or.th/Covid19NextNormal/episodes/76360https://program.thaipbs.or.th/watch/NzrjWo<p><strong>บ่ายโมงตรงประเด็น</strong></p><ul><li>วััคซีนล็อตแรกปลุกความเชื่อมั่นแต่ไม่พอฟื้นท่องเที่ยว ทีมวิจัยประเมินซึมยาว 2 ปี แนะรัฐเปิดตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ ชูจุดขายท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ</li><li>Villa Quarantine เป็นความหวัง ในการสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยว ในช่วงที่การระบาดโควิด- 19 ยังไม่จบ แต่ถ้าจะมองไปถึงการฟื้นตัวของระบบการท่องเที่ยวทั้งระบบ นี่คงเป็นจังหวะเวลาสำคัญที่ต้องเริ่มค้นหาโอกาสใหม่ ดึงเม็ดเงินจากกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ กระจายรายได้ไปให้ถึงชุมชน</li></ul><p><strong>นักข่าวพลเมือง C-SITE</strong></p><ul><li><strong>วัคซีนท่องเที่ยว<br></strong>เวลานี้วัคซีนโควิด-19 ล็อตแรกมาถึงประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว แต่สำหรับวัคซีนเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวยังคงต้องลุ้นกันต่อไป นับว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับการท่องเที่ยวไทยที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่</li></ul><ul><li><strong>จับชีพจรทิศทางท่องเที่ยว<br></strong>ปฏิเสธไม่ได้ว่าการระบาดของโควิด-19 ทำให้เห็นทั้งความท้าทายและโอกาสในช่วงเวลาสั้น ๆ เกิดโมเดลในการปรับตัวเพื่อที่อยู่ให้รอดกับโควิด-19 หลัก ๆ เน้นที่การหันกลับมาพึ่งพาตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยง ชวนพูดคุยกับคุณศานนท์ หวังสร้างบุญ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ปรับธุรกิจโฮสต์เทลเป็นที่พักระยะยาวและปรับตัวสู่ธุรกิจอาหาร และคุณปณิธาน บุญสา นายกสมาคมท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี</li></ul><ul><li><strong>วันนี้ที่มหาชัย : จัดระเบียบตลาดในพื้นที่มหาชัย จ.สมุทรสาคร<br></strong>พาไปสำรวจตลาดในพื้นที่มหาชัย จ.สมุทรสาคร ที่เป็นทั้งพื้นที่จับจ่ายของคนพื้นที่และนักท่องเที่ยว ตอนนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้นตามลำดับพร้อม ๆ กับการรักษามาตรการทางสาธารณสุขที่ยังคงเข้มงวด<span></span></li></ul><p><strong>สถานีประชาชน</strong></p><ul><li><strong>ทางรอดวิกฤตท่องเที่ยวไทย หลัง COVID-19 ระลอกใหม่ <br></strong>กว่า 1 ปี กับการเผชิญกับโรคระบาด COVID-19 ก็มีทั้งธุรกิจที่ปรับตัวได้เเละก็ได้รับผลกระทบซ้ำ อย่างเช่น ภาคการท่องเที่ยวบริการที่ยังที่ยังต้องปรับตัว เช่น ผู้ประกอบการโรงแรมที่เปิดครัวทำข้าวกล่องขาย หรือเปิดห้องพักให้เช่าเป็นรายเดือน เพื่อให้ธุรกิจผ่านพ้นวิกฤต COVID-19 ไปให้ได้ รวมถึงไกด์ หรือ คนขับรถนำเที่ยว ที่ต้องหาอาชีพใหม่ เพื่อสร้างรายได้ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ระลอกใหม่</li></ul><ul><li><strong>ส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชน ภาคอีสาน สู้ COVID-19<br></strong>ชุมชนเข้มแข็งในภาคอีสาน ปรับตัวสู้ COVID-19 ด้วยการขายออนไลน์และสร้างอาชีพเพิ่ม เพื่อเพิ่มรายได้ให้ชุมชนอยู่รอดในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ</li></ul><ul><li><strong>ชุมชนท่องเที่ยวบางมด กทม. ปรับตัวรับมือ COVID-19<br></strong>กทม.ชวนเที่ยว เปิดบ้านเปิดคลอง มองวิถีบางมด ปรับรูปแบบการท่องเที่ยวใน 1 วัน เน้นกระตุ้นเศรษฐกิจให้ชุมชนเข้มแข็ง ชาวบ้านอยู่รอดในสถานการณ์ COVID-19</li></ul><p> <strong>เกาะติดสถานการณ์เพื่อปรับตัวและรับมือ กับรายการพิเศษ "สู้-อยู่-รู้-รอด COVID-19 NEXT NORMAL" วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00 - 15.00 น.ทางไทยพีบีเอส <strong><strong>รับชมออนไลน์ได้ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/Live">www.thaipbs.or.th/Live</a></strong></strong></strong><strong></strong></p>763742021-02-11 13:00:00qoderสู้-อยู่-รู้-รอด COVID-19 NEXT NORMALประเด็นข่าว (11 ก.พ. 64)11 ก.พ. 256411:23https://program.thaipbs.or.th/Covid19NextNormal/episodes/76374https://program.thaipbs.or.th/watch/GbLINc<p><strong>บ่ายโมงตรงประเด็น</strong></p><ul><li>นอกจากการเฝ้าระวังในกลุ่มแรงงานที่อยู่ภายในโรงงาน ขณะนี้ยังเฝ้าระวังกลุ่มผู้เชื้อโควิด-19 ในสถานที่ต่าง ๆ ควบคู่กันไปด้วย โดยเฉพาะพื้นที่ตลาดนัดและตลาดสด จ.สมุทรสาคร</li></ul><ul><li>เปิดงานวิจัยตัวชี้วัดโอกาสเข้าสู่ภาวะไร้บ้าน พบสถานการณ์ระบาดโควิด –19 ระลอกใหม่ เพิ่มจำนวนคนไร้บ้านหน้าใหม่ 30 % ส่วนหนึ่งมาจากแรงงานเปราะบางที่ถูกเลิกจ้าง</li></ul><p><strong>นักข่าวพลเมือง C-SITE</strong></p><ul><li>แก้โจทย์แรงงานเพื่อนบ้านเสนอลดค่าขึ้นทะเบียน, ตรวจโรค, การเข้าถึงวัคซีน และนับถอยหลังการลงทะเบียนออนไลน์อนุญาตทำงานของแรงงานเพื่อนบ้าน 3 สัญชาติ คือ เมียนมา, ลาว และกัมพูชา ซึ่งจะหมดเขตในวันที่ 13 กุมภาพันธ์นี้ เพราะการเข้าถึงระบบสุขภาพที่รวดเร็วและมั่นคงของแรงงานเพื่อนบ้าน จะส่งผลต่อการควบคุมโรคให้มีประสิทธิภาพ พร้อมติดตามสถานการณ์ตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาคร โดยเตรียมความพร้อมเพื่อประเมินการเปิดตลาดในวันที่ 15 กุมภาพันธ์นี้ ร่วมพูดคุยกับคุณบัณฑิต แป้นวิเศษ มูลนิธิเพื่อนหญิง และคุณสุธาสินี แก้วเหล็กไหล เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ</li></ul><p><strong>สถานีประชาชน</strong></p><ul><li>กระทรวงแรงงาน ช่วยแรงงานไทย - ข้ามชาติ สู้ COVID-19<br>รองนายกรัฐมนตรี กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งฟื้นฟูคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบและในระบบจากผลกระทบโควิด-19 ให้ได้รับการเยียวยา ส่งเสริมอาชีพและมีงานทำ พัฒนาทักษะฝีมือให้แรงงานนอกระบบกว่า 20.4 ล้านคน มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเสมอภาคทางสังคม</li></ul><ul><li>COVID-19 กระทบคนตาบอด<br>สมาคมคนตาบอด สะท้อนปัญหาการเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือกรณีการแพร่ระบาดโควิด-19 ของรัฐบาล ไม่ครอบคลุมหรือเอื้ออำนวยให้กับคนตาบอด ขอให้มีการพิจารณาช่วยเหลือ</li></ul><ul><li>พม.Mobile "ปันสุข สู่ชุมชน"<br>โครงการรถ พม. Mobile "ปันสุข สู่ชุมชน" นำเครื่องอุปโภคบริโภค ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง จากผลกระทบไวรัส COVID-19 แพร่ระบาด โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดรถโมบายลงพื้นที่ 28 จังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุด พร้อมตั้งตู้ รับเรื่องราวร้องทุกข์</li></ul><p><span></span><strong>เกาะติดสถานการณ์เพื่อปรับตัวและรับมือ กับรายการพิเศษ "สู้-อยู่-รู้-รอด COVID-19 NEXT NORMAL" วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00 - 15.00 น.ทางไทยพีบีเอส <strong><strong>รับชมออนไลน์ได้ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/Live">www.thaipbs.or.th/Live</a></strong></strong></strong></p>763732021-02-04 13:00:00qoderสู้-อยู่-รู้-รอด COVID-19 NEXT NORMALประเด็นข่าว (4 ก.พ. 64)4 ก.พ. 256411:15https://program.thaipbs.or.th/Covid19NextNormal/episodes/76373https://program.thaipbs.or.th/watch/zjW7NU<p><strong>บ่ายโมงตรงประเด็น</strong></p><ul><li>พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ใหม่ 809 คน ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ใน จ.สมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร ที่มีผู้ติดเชื้อสะสมรวมกันกว่า 14,000 คนแล้ว</li><li>การพบเชื้อในพื้นที่เขตภาษีเจริญ ทำให้สถานรับเลี้ยงเด็กเล็ก และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงต้องปิดให้บริการต่อไป ทำให้หลายฝ่ายต้องเข้มงวดในการเฝ้าระวัง ด้วยเกรงว่าจะเกิดการระบาดในพื้นที่เช่นกัน</li></ul><p><strong>นักข่าวพลเมือง C-SITE</strong></p><ul><li>ติดตามสถานการณ์ <strong>"โรงเรียนขนาดเล็ก"</strong> กลางวิกฤติโควิด-19 ระลอกใหม่ ในพื้นที่ภูมิภาคต่าง ๆ และร่วมพูดคุยกับผู้อำนวยการฯ และคุณครู โรงเรียนสามัคคีวิทยา จ.พระนครศรีอยุธยา โรงเรียนขนาดเล็กที่ดำเนินการตามนโยบายยุบควบรวมมาแล้ว แต่ไม่สำเร็จ และต้องกลับมาจัดการเรียนการสอนรูปแบบเดิมในสถานการณ์โรคระบาดครั้งใหม่</li><li>ชวนมองภาพรวมการศึกษาที่เชื่อมโยงชุมชนและตอบสนองความต้องการแห่งอนาคตกับ<strong>ครูตั้ม - เทวินฏฐ์ อัครศิลาชัย</strong> รองเลขาธิการสภาการศึกษาทางเลือก ภาคเหนือ และข้อเสนอการแก้ปัญหาเชิงนโยบายที่มีการขับเคลื่อนกันมาอย่างต่อเนื่อง</li></ul><p><strong>สถานีประชาชน</strong></p><ul><li>การศึกษาไทย หลัง COVID-19 ระลอกใหม่<br>วันนี้ (4 ก.พ. 64) เป็นวันที่ 4 แล้วที่โรงเรียนเปิดการเรียนการสอนตามปกติ หลังปิดเรียนมานานเกือบ 1 เดือน โดยการเรียนการสอนในช่วงนี้ทุกโรงเรียนต้องคุมเข้มด้วยมาตรการด้านสาธารณสุข ขณะที่โรงเรียนที่มีนักเรียนเกิน 120 คน ต้องจัดการเรียนแบบผสมผสาน เช่น จัดกลุ่มเรียนออนไลน์สลับกับการมาโรงเรียน</li></ul><ul><li>วิเคราะห์วัคซีน COVID-19 สำหรับคนไทย<br>ถึงแม้ทั่วโลกจะมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปแล้วมากว่า 100 ล้านโดส ส่วนคนไทยก็มีความหวังว่าน่าจะได้ฉีดวัคซีนในเร็ววันนี้ โดยแพทย์ยืนยันว่าวัคซีนที่จะถูกนำมาฉีดมีประสิทธิภาพสูง แต่กลุ่มคนไหนที่ควรจะได้ฉีดก่อน และจะต้องเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนอย่างไรให้มีประสิทธิภาพดีที่สุด</li></ul><ul><li>โครงการอาหารกลางวันเพื่อสุขภาพเด็กไทย จาก สสส.<br>แม้ว่าสถานการณ์ภาวะขาดโภชนาการอาหารในเด็กจะลดลงอย่างต่อเนื่องตลอด 20 ปีที่ผ่านมา แต่ปัญหาน้ำหนักเกินกลับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นี้จึงทำให้หลายโรงเรียนให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการอาหารกลางวันของเด็กนักเรียนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น โรงเรียนวัดท่าชุมนุม อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง เป็นหนึ่งตัวอย่างโรงเรียนการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร จนทำให้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)</li></ul><p><strong>เกาะติดสถานการณ์เพื่อปรับตัวและรับมือ กับรายการพิเศษ "สู้-อยู่-รู้-รอด COVID-19 NEXT NORMAL" วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00 - 15.00 น.ทางไทยพีบีเอส <strong><strong>รับชมออนไลน์ได้ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/Live">www.thaipbs.or.th/Live</a></strong></strong></strong></p>763722021-01-28 13:00:00qoderสู้-อยู่-รู้-รอด COVID-19 NEXT NORMALประเด็นข่าว (28 ม.ค. 64)28 ม.ค. 256411:07https://program.thaipbs.or.th/Covid19NextNormal/episodes/76372https://program.thaipbs.or.th/watch/uKANJo<p><strong>บ่ายโมงตรงประเด็น</strong></p><p><strong></strong></p><ul><li>ปัญหาการปกปิดไทม์ไลน์ของผู้ติดเชื้อโควิด-19 บางคนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เชื่อมโยงกับงานวันเกิดของดีเจคนหนึ่ง กรมควบคุมโรคได้ประสาน กทม.ให้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายแล้ว</li><li>มาตรการการตรวจเชิงรุกยิ่งตรวจยิ่งเจอถือว่ามาถูกทาง ทำให้สามารถค้น และแยกผู้ติดเชื้อออกไปรักษาได้ แต่แค่นี้คงไม่พอ เพราะการจัดการของหน่วยงานด้านสาธารณสุข ยังไม่สามารถลดอัตราผู้ติดเชื้อรายใหม่ได้ คงต้องมีหน่วยงานอื่นเข้ามาช่วยด้วย</li></ul><p><strong>นักข่าวพลเมือง C-SITE</strong><span class="redactor-invisible-space"><br></span></p><ul><li>ติดตามสถานการณ์คนเปราะบาง <strong>“กลุ่มคนไร้บ้าน”</strong> ที่กำลังเผชิญภาวะยากลำบากจากโควิด-19 ระลอกใหม่ในพื้นที่ภูมิภาคจากบ้านเตื่อมฝัน จ.เชียงใหม่ บ้านโฮมแสนสุข จ.ขอนแก่น และบ้านพูนสุข จ.ปทุมธานี ร่วมพูดคุยกับ <strong>“ลุงดำ”</strong> คุณสุชิน เอี่ยมอินทร์ นายกสมาคมคนไร้บ้าน พูดถึงรายได้จากการหาของเก่าที่ปัจจุบันหาได้น้อยลง รวมถึงการปรับตัวหาทางรอดด้วยการสร้างอาชีพใหม่ ๆ ของกลุ่มคนไร้บ้านที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ</li><li>จากนั้นวิเคราะห์ภาพรวมผลกระทบในระยะยาวจากสถานการณ์ครั้งนี้ ซึ่งจะส่งผลกับแรงงาน ร่วมพูดคุยกับคุณสมพร หารพรม เจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย และคุณอนรรฆ พิทักษ์ธานิน ผู้จัดการแผนงานพัฒนาองค์ความรู้คนไร้บ้านฯ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</li></ul><p><span class="redactor-invisible-space"><strong>สถานีประชาชน</strong></span></p><ul><li>เปิดตลาดส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงคราม สู้ COVID-19<br>จังหวัดสมุทรสงคราม เตรียมเปิดตลาดขายผลไม้ออนไลน์ พร้อมจัดส่งถึงบ้าน 30 ม.ค.นี้ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 หลังผู้บริโภควิตกไม่กล้าเข้าพื้นที่ซื้อผลไม้</li></ul><ul><li>อาสาสมัครช่วยผู้ติดเชื้อ COVID-19 จ.สมุทรสงคราม<br>มูลนิธิสว่างเบญจธรรมสมุทรสงคราม อาสาเข้าพื้นที่ช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพื่อแบ่งเบาภาระโรงพยาบาลในพื้นที่ พร้อมเน้นย้ำเจ้าหน้าที่และประชาชนควรมีความรู้ด้านการใส่ชุด PPE ให้ถูกต้องเพื่อความปลอดภัย</li></ul><p><span class="redactor-invisible-space"><strong></strong><span class="redactor-invisible-space"><strong>เกาะติดสถานการณ์เพื่อปรับตัวและรับมือ กับรายการพิเศษ "สู้-อยู่-รู้-รอด COVID-19 NEXT NORMAL" วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม 2564 เวลา 13.00 - 15.00 น.ทางไทยพีบีเอส <strong><strong>รับชมออนไลน์ได้ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/Live">www.thaipbs.or.th/Live</a></strong></strong></strong><span class="redactor-invisible-space"></span><br></span></span></p>763712021-01-21 13:00:00qoderสู้-อยู่-รู้-รอด COVID-19 NEXT NORMALประเด็นข่าว (21 ม.ค. 64)21 ม.ค. 256410:58https://program.thaipbs.or.th/Covid19NextNormal/episodes/76371https://program.thaipbs.or.th/watch/glFgWo<p><strong>บ่ายโมงตรงประเด็น</strong></p><ul><li>ก่อนจะเริ่มเดินหน้าตามแผนกระจายวัคซีน จ.สมุทรสาครเป็นพื้นที่แรก ๆ ที่จะได้รับวัคซีนโควิด-19 และได้รับคำยืนยันจากนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดว่า การกระจายวัคซีนจะครอบคลุมถึงแรงงานทั้งในระบบ และนอกระบบในพื้นที่ด้วย</li><li>สำรวจตลาดอ่อนนุช ตลาดที่เคยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 2 คน แต่ที่นี่มีมาตรการควบโรคอย่างไร จึงทำให้ที่นี้ไม่ต้องปิดตัว</li></ul><p><strong>นักข่าวพลเมือง C-SITE</strong></p><p>ติดตามการปรับตัวของเกษตรกรยุคโควิด-19 จากกรณีส้มโอขาวใหญ่ จ.สมุทรสงคราม เจอพิษโควิด-19 ทุบราคาตกต่ำตั้งแต่ต้นปี ทำให้เกษตรกรชาวสวนส้มโอต้องลุกขึ้นมาร่วมกับหน่วยงานราชการและเอกชนในพื้นที่ ช่วยกันหาทางออก สร้างความเชื่อมั่นการบริโภค และขยายตลาดสู่ออนไลน์</p><p>ส่วนที่ภาคเหนือ เกษตรกรชาวสวนดอกไม้ต้องวางแผนปรับตัวสู้โควิด-19 ด้วยเช่นกัน ขณะที่กลุ่มเกษตรอินทรีย์ก็ต้องวางแผนมากขึ้น ทั้งในการเพาะปลูก, ขนส่ง และการตลาด เพื่อส่งผ่านสินค้าพืชผักปลอดภัยไปสู่ผู้บริโภค</p><p>จุดประเด็นสู่วงคุย "เกษตรกรยุคโควิด-19" ทบทวนมาตรการรับมือของเกษตรกรจากวิกฤติโควิด-19 รอบแรก สู่รอบล่าสุดกับคุณชรัส บุญณสะ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม และคุณเดชรัตน์ สุขกําเนิด นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร</p><p><strong>สถานีประชาชน</strong></p><ul><li>อบรมฝีมือแรงงานออนไลน์กว่า 20 หลักสูตรสู้ COVID-19</li></ul><p>กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่ว่างงานจากผลกระทบ COVID-19 ในการฝึกทักษะแบบ New Normal สามารถอบรมได้ที่บ้าน โดยมอบหมายให้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน (สพร.) และสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน (สนพ.) ทุกแห่งทั่วประเทศ จัดหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ฟรี 20 หลักสูตร เปิดให้ลงทะเบียนสมัครฝึกอบรม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.เป็นต้นไป</p><ul><li>แนะทางออกแก้เครียด เผชิญหน้า COVID-19</li></ul><p>ชวนพูดคุยกับโคช แนะนำทางออกรับมือกับภาวะเครียด พร้อมการใช้ชีวิตอยู่กับ COVID-19 ด้วยการใช้หลักบันได 5 ขั้นสู่ความสำเร็จ เริ่มจากการสำรวจตัวเอง ตั้งเป้าหมายชีวิต และมีความสุข</p><ul><li>แอปพลิเคชัน "รู้ทัน : Rootan" ป้องกันภัยไซเบอร์ จาก DSI</li></ul><p>กรมสอบสวนคดีพิเศษ ชวนโหลดแอปพลิเคชัน "รู้ทัน" เพื่อให้แจ้งเบาะแสการกระทำความผิดในออนไลน์ ซึ่งความผิดที่พบมากที่สุดในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คือการกู้เงินออนไลน์ ล่าสุดสามารถจับกุมตัวผู้กระทำความผิดได้แล้ว จากการแจ้งเบาะแสของประชาชนผ่านแอปพลิเคชัน</p><p><strong>เกาะติดสถานการณ์เพื่อปรับตัวและรับมือ กับรายการพิเศษ "สู้-อยู่-รู้-รอด COVID-19 NEXT NORMAL" วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม 2564 เวลา 13.00 - 15.00 น.ทางไทยพีบีเอส <strong><strong>รับชมออนไลน์ได้ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/Live">www.thaipbs.or.th/Live</a></strong></strong></strong></p>