ธนาคารชาวบ้าน วัฒนธรรมอาหาร “ครัวใบโหนด”

25 มี.ค. 58
เมื่อภาวะหนี้สินรุมเร้า ภาคการเกษตรเริ่มล่มสลาย ความสัมพันธ์ของผู้คนเริ่มห่างเหิน วิถีอาชีพได้แปรเปลี่ยน จากการทำสวน ทำประมงรอบคาบสมุทรสทิงพระและริมชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ชาวบ้านเริ่มหลั่งไหลเข้าสู่ภาคการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ชาวบ้านในอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ได้รวมตัวกันขึ้นด้วยเรื่องการออมทรัพย์ เพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้น ไม่ต้องกู้นอกระบบหรือใช้บริการจากระบบธนาคารที่ชาวบ้านเข้าไม่ถึง จนมีทุนในชุมชน สร้างระบบสวัสดิการให้สมาชิก เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศพ ประกันชีวิต ฯลฯ ธุรกิจชุมชน ระบบธนาคารที่ดิน ซึ่งกลุ่มออมทรัพย์จะไถ่ถอนที่ดินของสมาชิกที่จะถูกยึดหรือขายทอดตลาด ทั้งยังฟื้นคืนวิถีชุมชนดั้งเดิม วิถีแห่ง “โหนด นา เล” วัฒนธรรมและความสัมพันธ์ของคนในชุมชน คนต่างรุ่น ทั้งพ่อเฒ่าแม่เฒ่า สาวนุ้ย และเด็กๆ ด้วยการรับฟัง แสดงความคิดเห็น และลงมือปฏิบัติด้วยการใช้ฐานวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง และฐานทรัพยากรที่มีอยู่เป็นทุนเดิม ผ่านเรื่องเล่าวิถีชีวิตในอดีต การแสดงพื้นบ้าน ที่เชื่อมร้อยถึงปัจจุบัน ที่สำคัญคือการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ให้รู้จักผักพื้นบ้าน อาหารท้องถิ่น และรู้เท่าทันกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชน สังคมภายนอก และยังขยายไปเชื่อมโยงกับการจัดการเรื่องอื่นๆ ด้วย ทั้งนี้เพราะการสร้างฐานความเข้มแข็งจากภายในชุมชน ฐานทรัพยากรที่สำคัญคือเรื่อง “คน” ผ่านเรื่องการ “ออมทรัพย์” ในสไตล์ “ธนาคารชาวบ้าน”กรรมการออมทรัพย์ในยุคอดีต รุ่นลุงป้า ที่สมัครใจทำงานโดยไม่มีค่าตอบแทน ทั้งผ่านพ้นเหตุการณ์ครั้งสำคัญโดนโจรปล้นและเงินหาย การพิสูจน์ตัวตนผ่านการทำงานออมทรัพย์ ช่วยคลี่คลายโครงสร้างวัฒนธรรมสังคมที่โดนกดทับ เมื่อผู้หญิงสมัยก่อนไม่ได้รับการยอมรับจากสามีให้มีบทบาทนอกบ้าน ต้องเสร็จภารกิจงานดูแลบ้านและงานประจำ จึงทำงานด้านออมทรัพย์ในช่วงเวลาว่างและนั่งนับเงินสมาชิกกันอย่างค่ำคืน จึงเป็นเหตุที่มาของการโดนปล้น (กรณีบ้านหัวเปลว) และการอดทนเสียสละ รับผิดชอบต่อการทำงาน เมื่อเงินหาย กรรมการต้องพูดคุยตกลง เพื่อชดใช้ร่วมกัน (กรณีบ้านบ่อกุล) การใช้กติกาทางสังคมจัดการดูแลซึ่งกันและกัน นอกจากนี้กรรมการยุคแรกยังการศึกษาน้อย บางคนจบเพียง ป.๒ เขียนผิดเขียนถูกบ้าง เซ็นชื่อผิดช่องบ้าง เป็นต้นว่า เขียนสองหมื่น เป็นสองเหมือน เซ็นชื่อตัวเองในช่องผู้กู้ แต่ด้วยการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติร่วมกัน จึงผ่านพ้นและกลายเป็นตำนานเรื่องเล่าแก่ลูกหลานในยุคต่อๆ มาได้“ครัวใบโหนด” กับสโลแกนที่ว่า ครัวของชุมชน...เพื่อคนทั้งหมด ไม่ใช่เพียงร้านที่ทำกิจการขายอาหารเท่านั้น ที่นี่เกิดขึ้นจากเงินกองทุนออมทรัพย์ของชาวบ้าน 2 กลุ่ม คือบ่อกุล และหัวเปลว เป็นธุรกิจของชุมชนที่มีทีมบริหารจัดการดูแลโดยชาวบ้าน บนแนวคิดวัฒนธรรมอาหารการกินแบบพื้นถิ่น ใส่ใจและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ครัวใบโหนดจึงเป็นภาพสะท้อนให้เห็นเรื่องราวในอดีต ที่เชื่อมร้อยถึงปัจจุบัน และหนทางต่อไปในวันข้างหน้า ที่สำคัญที่นี่เป็นศูนย์การเรียนรู้และเป็นแหล่งพบปะแลกเปลี่ยน ที่เพิ่มพลังใจ ให้กับคนในชุมชนและนอกชุมชนด้วย สิ่งที่เด่นชัดอาจไม่ใช่ผลประกอบการกำไรในรูปเม็ดเงิน แต่คือ “กำไรทางสังคม” ที่พวกเขามีปณิธานมุ่งมั่น พร้อมฟันฝ่าสู่เป้าหมายร่วมกันติดตามชมรายการเมืองดลใจ ตอน ธนาคารชาวบ้าน วัฒนธรรมอาหาร “ครัวใบโหนด” วันพุธที่ 25 มีนาคม 2558 เวลา 22.35 - 23.30 น.ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

ธนาคารชาวบ้าน วัฒนธรรมอาหาร “ครัวใบโหนด”

25 มี.ค. 58
เมื่อภาวะหนี้สินรุมเร้า ภาคการเกษตรเริ่มล่มสลาย ความสัมพันธ์ของผู้คนเริ่มห่างเหิน วิถีอาชีพได้แปรเปลี่ยน จากการทำสวน ทำประมงรอบคาบสมุทรสทิงพระและริมชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ชาวบ้านเริ่มหลั่งไหลเข้าสู่ภาคการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ชาวบ้านในอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ได้รวมตัวกันขึ้นด้วยเรื่องการออมทรัพย์ เพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้น ไม่ต้องกู้นอกระบบหรือใช้บริการจากระบบธนาคารที่ชาวบ้านเข้าไม่ถึง จนมีทุนในชุมชน สร้างระบบสวัสดิการให้สมาชิก เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศพ ประกันชีวิต ฯลฯ ธุรกิจชุมชน ระบบธนาคารที่ดิน ซึ่งกลุ่มออมทรัพย์จะไถ่ถอนที่ดินของสมาชิกที่จะถูกยึดหรือขายทอดตลาด ทั้งยังฟื้นคืนวิถีชุมชนดั้งเดิม วิถีแห่ง “โหนด นา เล” วัฒนธรรมและความสัมพันธ์ของคนในชุมชน คนต่างรุ่น ทั้งพ่อเฒ่าแม่เฒ่า สาวนุ้ย และเด็กๆ ด้วยการรับฟัง แสดงความคิดเห็น และลงมือปฏิบัติด้วยการใช้ฐานวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง และฐานทรัพยากรที่มีอยู่เป็นทุนเดิม ผ่านเรื่องเล่าวิถีชีวิตในอดีต การแสดงพื้นบ้าน ที่เชื่อมร้อยถึงปัจจุบัน ที่สำคัญคือการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ให้รู้จักผักพื้นบ้าน อาหารท้องถิ่น และรู้เท่าทันกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชน สังคมภายนอก และยังขยายไปเชื่อมโยงกับการจัดการเรื่องอื่นๆ ด้วย ทั้งนี้เพราะการสร้างฐานความเข้มแข็งจากภายในชุมชน ฐานทรัพยากรที่สำคัญคือเรื่อง “คน” ผ่านเรื่องการ “ออมทรัพย์” ในสไตล์ “ธนาคารชาวบ้าน”กรรมการออมทรัพย์ในยุคอดีต รุ่นลุงป้า ที่สมัครใจทำงานโดยไม่มีค่าตอบแทน ทั้งผ่านพ้นเหตุการณ์ครั้งสำคัญโดนโจรปล้นและเงินหาย การพิสูจน์ตัวตนผ่านการทำงานออมทรัพย์ ช่วยคลี่คลายโครงสร้างวัฒนธรรมสังคมที่โดนกดทับ เมื่อผู้หญิงสมัยก่อนไม่ได้รับการยอมรับจากสามีให้มีบทบาทนอกบ้าน ต้องเสร็จภารกิจงานดูแลบ้านและงานประจำ จึงทำงานด้านออมทรัพย์ในช่วงเวลาว่างและนั่งนับเงินสมาชิกกันอย่างค่ำคืน จึงเป็นเหตุที่มาของการโดนปล้น (กรณีบ้านหัวเปลว) และการอดทนเสียสละ รับผิดชอบต่อการทำงาน เมื่อเงินหาย กรรมการต้องพูดคุยตกลง เพื่อชดใช้ร่วมกัน (กรณีบ้านบ่อกุล) การใช้กติกาทางสังคมจัดการดูแลซึ่งกันและกัน นอกจากนี้กรรมการยุคแรกยังการศึกษาน้อย บางคนจบเพียง ป.๒ เขียนผิดเขียนถูกบ้าง เซ็นชื่อผิดช่องบ้าง เป็นต้นว่า เขียนสองหมื่น เป็นสองเหมือน เซ็นชื่อตัวเองในช่องผู้กู้ แต่ด้วยการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติร่วมกัน จึงผ่านพ้นและกลายเป็นตำนานเรื่องเล่าแก่ลูกหลานในยุคต่อๆ มาได้“ครัวใบโหนด” กับสโลแกนที่ว่า ครัวของชุมชน...เพื่อคนทั้งหมด ไม่ใช่เพียงร้านที่ทำกิจการขายอาหารเท่านั้น ที่นี่เกิดขึ้นจากเงินกองทุนออมทรัพย์ของชาวบ้าน 2 กลุ่ม คือบ่อกุล และหัวเปลว เป็นธุรกิจของชุมชนที่มีทีมบริหารจัดการดูแลโดยชาวบ้าน บนแนวคิดวัฒนธรรมอาหารการกินแบบพื้นถิ่น ใส่ใจและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ครัวใบโหนดจึงเป็นภาพสะท้อนให้เห็นเรื่องราวในอดีต ที่เชื่อมร้อยถึงปัจจุบัน และหนทางต่อไปในวันข้างหน้า ที่สำคัญที่นี่เป็นศูนย์การเรียนรู้และเป็นแหล่งพบปะแลกเปลี่ยน ที่เพิ่มพลังใจ ให้กับคนในชุมชนและนอกชุมชนด้วย สิ่งที่เด่นชัดอาจไม่ใช่ผลประกอบการกำไรในรูปเม็ดเงิน แต่คือ “กำไรทางสังคม” ที่พวกเขามีปณิธานมุ่งมั่น พร้อมฟันฝ่าสู่เป้าหมายร่วมกันติดตามชมรายการเมืองดลใจ ตอน ธนาคารชาวบ้าน วัฒนธรรมอาหาร “ครัวใบโหนด” วันพุธที่ 25 มีนาคม 2558 เวลา 22.35 - 23.30 น.ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย