ความยั่งยืน ด้วยอาหาร

13 พ.ค. 58
บทสรุปหนึ่งสำหรับรายการเมืองดลใจ คือ ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารที่มั่นคงได้จากฐานทรัพยากรที่มีอย่างเหมาะสม ทั้งดิน น้ำ และป่า จากการเดินทางไปถ่ายทำรายการใน 14 ชุมชนทั่วประเทศ ประเด็นความมั่นคงทางอาหารโดดเด่นขึ้นมาอย่างไม่สามารถมองข้ามได้ ทุกชุมชนต่างๆ พยายามรักษาทรัพยากรในการผลิตอาหารไว้ด้วยชีวิตและจิตใจ ทุ่มเททุกสิ่งที่พวกเขามีเพื่อรักษาฐานที่มั่นสุดท้ายของชุมชน นั่นคือ การมีอาหารการกินที่อุดมสมบูรณ์ การเพาะปลูกพืช จับสัตว์น้ำมาเป็นอาหารได้ตลอดทั้งปีไม่ใช่แค่ในเมืองไทย แต่ความมั่นคงทางอาหาร เป็นประเด็นสำคัญที่กำลังได้รับความสนใจจากคนทั่วโลก ทั้งนี้เนื่องจากกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม สภาพแวดล้อม ภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศของโลก ทรัพยากรทางธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงและถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว ภัยคุกคามจากอาหารปนเปื้อนสารเคมี ที่ผลิตจากอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่กำลังคุกคามสุขภาพของผู้คนทั่วโลก ความกังวลเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางอาหารจึงได้รับความสนใจมากขึ้น ผู้คนหันมาสนใจเรื่องการผลิตอาหารปลอดภัย การกินอาหารในท้องถิ่น การปกป้องแหล่งผลิตอาหารตามธรรมชาติ และการปกป้องทรัพยากรที่เป็นปัจจัยผลิตการผลิตอาหาร ซึ่งประเด็นเหล่านี้สะท้อนออกมาในเนื้อหาของเกือบทุกพื้นที่ ที่รายการเมืองดลใจได้เดินทางไปศึกษาเรียนรู้หลังจากที่เดินทางทั่วประเทศเพื่อถ่ายทำรายการเมืองดลใจ บทสรุปหนึ่งที่ทุกคนเห็นตรงกัน คือ เราพบว่าจุดแข็งอย่างหนึ่งของประเทศไทยคือ ยังมีบางพื้นที่ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติป่า น้ำ และดิน ยังอุดมสมบูรณ์อยู่ ด้วยความพยายามในการปกป้องของคนในพื้นที่ เพื่อให้ชุมชนของพวกเขายังเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่สามารถผลิตอาหารเลี้ยงชุมชน และส่งออกไปเลี้ยงผู้คนในสังคมไทยด้วยในครั้งนี้ผู้ร่วมเดินทางเรียนรู้ทั้ง 3 คน ใหม่ ยุทธ และนุ่น พวกเขาจะมาร่วมกันสรุปบทเรียนในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร โดยมองผ่านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค เนื่องจาก “ความมั่นคงทางอาหาร” จะเกิดขึ้นได้ ฝ่ายผู้ผลิตอาหาร (เกษตรกร, ชาวประมง ฯลฯ) ต้องมีฐานทรัพยากรในการผลิตอาหาร มีระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืน และมีช่องทางการตลาดในการกระจายสินค้าสู่มือผู้บริโภค ส่วนฝ่ายผู้บริโภคก็ย่อมมีสิทธิในการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยอย่างเพียงพอ มีทางเลือกที่หลากหลายในการเลือกบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย ทั้งนี้การจะรู้ได้ว่าอาหารที่บริโภคปลอดภัยหรือไม่ ผู้บริโภคควรรู้แหล่งที่มาของอาหาร ซึ่งในกระแสการบริโภคสมัยใหม่ กำลังมีการรณรงค์เรื่องนี้ในหลายแนวทาง เพื่อให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคมีทางเลือกในผลิต และทางเลือกในการบริโภค ที่สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับทุกฝ่ายได้ โดยในการทำความเข้าในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ผ่านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคนี้ จะมีผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่านคือ อ.พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ และ อ.ชมชวน บุญระหงส์ ที่จะมาช่วยใหม่ ยุทธ และนุ่น ถอดบทเรียนที่ได้เรียนรู้ออกมา โดยมีประเด็นสำคัญที่จะนำเสนอ และทำความเข้าใจเพิ่มเติมดังนี้ผู้ผลิตอาหาร จากการเดินทางไปถ่ายทำรายการในทั้ง 14 ชุมชน ทั่วประเทศ ได้พบกับผู้ผลิตอาหารทั้งเกษตรกร และชาวประมง พวกเขาพยายามรักษาปัจจัยการผลิต รักษาฐานทรัพยากร และปกป้องพื้นที่ผลิตอาหารไว้ด้วยความยากลำบาก ต้องฝ่าฟันกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ รวมถึงการพยายามเชื่อมโยงกับผู้บริโภคด้วยแนวทางใหม่ๆ ทั้งการทำตลาดสีเขียว และหรือการทำการตลาดแบบ CSA เป็นต้น• 1. เกษตรกรรมยั่งยืน การทำการเกษตรกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความพยายามของเกษตรกรในการพัฒนาระบบเกษตรกรรมที่เข้มแข็งและยั่งยืน เช่น ที่ชุมชนแม่ทา กุดชุม ฯลฯ• 2. การรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ การรักษาองค์ความรู้เรื่องเมล็ดพันธุ์ บทเรียน ประสบการณ์ และองค์ความรู้ของชุมชนในการอนุรักษ์ ปรับปรุง และพัฒนาพันธุกรรมพื้นบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ข้าว• 3. การรักษาพื้นที่ผลิตอาหาร ทรัพยากรป่าไม้ แม่น้ำ ทรัพยากรทางทะเล บทเรียน ประสบการณ์ และการต่อสู้ของชุมชนในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศ รักษาฐานทรัพยากรอาหาร ปฏิบัติการและกลไกการสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนผู้บริโภค ในด้านผู้บริโภค ปัจจุบันได้มีการหาแนวทางเพื่อให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิของตนเองมากขึ้น มีการณรงค์เพื่อให้ผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิในการเข้าถึงอาหารปลอดภัย การมีทางเลือกที่หลากหลายในการเลือกบริโภคอาหาร พยายามหลุดพ้นจากการครอบงำด้วยระบบตลาดอาหารแบบผูกขาดโดยอุตสาหกรรมอาหารยักษ์ใหญ่ โดยแนวคิดสำคัญที่ใช้กันอย่างต่อเนื่องคือ “กินเปลี่ยนโลก” โดยเน้นให้ผู้บริโภคเลือกรับประทานอาหารที่ผลิตในท้องถิ่น การรณรงค์เรื่องอาหารท้องถิ่น เพื่อได้กินอาหารที่สดใหม่ ลดการขนส่ง ลดความเสี่ยงจากการที่ต้องรักษาคุณภาพอาหารด้วยสารเคมีอันตราย ในหลายพื้นที่ได้จัดตลาดสีเขียวเพื่อให้เกษตรกรที่ผลิตอาหารในแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน ผู้ผลิตอาหารปลอดภัย หรือเกษตรกรอินทรีย์ ได้นำอาหารมาขายให้กับผู้บริโภคโดยตรง หรือการขายผลผลิตทางการเกษตรในระบบ CSA ที่ผู้ผลิตและผู้บริโภครู้จักกันเกื้อกูลกันอย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต และผู้บริโภคดังที่ได้กล่าวมาอาจจะยังไม่ได้เกิดขึ้นทั้งสังคม เนื่องจากโครงสร้างการผลิตอาหารของประเทศยังคงถูกครอบงำด้วยอิทธิพลของบรรษัทขนาดใหญ่ ที่ยังคงต้องผลิตอาหารจำนวนมากส่งออกต่างประเทศและเลี้ยงคนจำนวนมากในประเทศ แต่การที่ชุมชนต่างๆ ลุกขึ้นมาทำเรื่องเหล่านี้ เป็นการจุดประกายให้กับผู้ผลิตและผู้บริโภคได้มีทางเลือกมากขึ้น เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ตัวละครสำคัญที่จะมาเล่าเรื่องราวอ.พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ ประธานมูลนิธิลิ้งค์-กลุ่มเชื่อมโยงป่า น้ำ และคน และอาจารย์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักวิชาการเชี่ยวชาญเรื่องการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนอ.ชมชวน บุญระหงษ์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อดีตเอ็นจีโอด้านเกษตรกรรมยั่งยืน และนักวิชาการด้านการเกษตร ที่คร่ำหวอดในเครือข่ายที่เคลื่อนไหวเรื่องความมั่นคงทางอาหารมาอย่างยาวนานอ.ประมวล เพ็งจันทร์ เชื่อมโยงสู่มิติการพัฒนามนุษย์จากด้านใน การกินเพื่อพัฒนาตนเอง และการกินเพื่อพัฒนาสังคมไปสู่สังคมแห่งการเกื้อกูล ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคติดตามชมรายการเมืองดลใจ ตอน ความยั่งยืน ด้วยอาหาร วันพุธที่ 13 พฤษภาคม 2558 เวลา 22.35 - 23.30 น.ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live 

ความยั่งยืน ด้วยอาหาร

13 พ.ค. 58
บทสรุปหนึ่งสำหรับรายการเมืองดลใจ คือ ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารที่มั่นคงได้จากฐานทรัพยากรที่มีอย่างเหมาะสม ทั้งดิน น้ำ และป่า จากการเดินทางไปถ่ายทำรายการใน 14 ชุมชนทั่วประเทศ ประเด็นความมั่นคงทางอาหารโดดเด่นขึ้นมาอย่างไม่สามารถมองข้ามได้ ทุกชุมชนต่างๆ พยายามรักษาทรัพยากรในการผลิตอาหารไว้ด้วยชีวิตและจิตใจ ทุ่มเททุกสิ่งที่พวกเขามีเพื่อรักษาฐานที่มั่นสุดท้ายของชุมชน นั่นคือ การมีอาหารการกินที่อุดมสมบูรณ์ การเพาะปลูกพืช จับสัตว์น้ำมาเป็นอาหารได้ตลอดทั้งปีไม่ใช่แค่ในเมืองไทย แต่ความมั่นคงทางอาหาร เป็นประเด็นสำคัญที่กำลังได้รับความสนใจจากคนทั่วโลก ทั้งนี้เนื่องจากกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม สภาพแวดล้อม ภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศของโลก ทรัพยากรทางธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงและถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว ภัยคุกคามจากอาหารปนเปื้อนสารเคมี ที่ผลิตจากอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่กำลังคุกคามสุขภาพของผู้คนทั่วโลก ความกังวลเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางอาหารจึงได้รับความสนใจมากขึ้น ผู้คนหันมาสนใจเรื่องการผลิตอาหารปลอดภัย การกินอาหารในท้องถิ่น การปกป้องแหล่งผลิตอาหารตามธรรมชาติ และการปกป้องทรัพยากรที่เป็นปัจจัยผลิตการผลิตอาหาร ซึ่งประเด็นเหล่านี้สะท้อนออกมาในเนื้อหาของเกือบทุกพื้นที่ ที่รายการเมืองดลใจได้เดินทางไปศึกษาเรียนรู้หลังจากที่เดินทางทั่วประเทศเพื่อถ่ายทำรายการเมืองดลใจ บทสรุปหนึ่งที่ทุกคนเห็นตรงกัน คือ เราพบว่าจุดแข็งอย่างหนึ่งของประเทศไทยคือ ยังมีบางพื้นที่ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติป่า น้ำ และดิน ยังอุดมสมบูรณ์อยู่ ด้วยความพยายามในการปกป้องของคนในพื้นที่ เพื่อให้ชุมชนของพวกเขายังเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่สามารถผลิตอาหารเลี้ยงชุมชน และส่งออกไปเลี้ยงผู้คนในสังคมไทยด้วยในครั้งนี้ผู้ร่วมเดินทางเรียนรู้ทั้ง 3 คน ใหม่ ยุทธ และนุ่น พวกเขาจะมาร่วมกันสรุปบทเรียนในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร โดยมองผ่านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค เนื่องจาก “ความมั่นคงทางอาหาร” จะเกิดขึ้นได้ ฝ่ายผู้ผลิตอาหาร (เกษตรกร, ชาวประมง ฯลฯ) ต้องมีฐานทรัพยากรในการผลิตอาหาร มีระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืน และมีช่องทางการตลาดในการกระจายสินค้าสู่มือผู้บริโภค ส่วนฝ่ายผู้บริโภคก็ย่อมมีสิทธิในการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยอย่างเพียงพอ มีทางเลือกที่หลากหลายในการเลือกบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย ทั้งนี้การจะรู้ได้ว่าอาหารที่บริโภคปลอดภัยหรือไม่ ผู้บริโภคควรรู้แหล่งที่มาของอาหาร ซึ่งในกระแสการบริโภคสมัยใหม่ กำลังมีการรณรงค์เรื่องนี้ในหลายแนวทาง เพื่อให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคมีทางเลือกในผลิต และทางเลือกในการบริโภค ที่สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับทุกฝ่ายได้ โดยในการทำความเข้าในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ผ่านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคนี้ จะมีผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่านคือ อ.พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ และ อ.ชมชวน บุญระหงส์ ที่จะมาช่วยใหม่ ยุทธ และนุ่น ถอดบทเรียนที่ได้เรียนรู้ออกมา โดยมีประเด็นสำคัญที่จะนำเสนอ และทำความเข้าใจเพิ่มเติมดังนี้ผู้ผลิตอาหาร จากการเดินทางไปถ่ายทำรายการในทั้ง 14 ชุมชน ทั่วประเทศ ได้พบกับผู้ผลิตอาหารทั้งเกษตรกร และชาวประมง พวกเขาพยายามรักษาปัจจัยการผลิต รักษาฐานทรัพยากร และปกป้องพื้นที่ผลิตอาหารไว้ด้วยความยากลำบาก ต้องฝ่าฟันกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ รวมถึงการพยายามเชื่อมโยงกับผู้บริโภคด้วยแนวทางใหม่ๆ ทั้งการทำตลาดสีเขียว และหรือการทำการตลาดแบบ CSA เป็นต้น• 1. เกษตรกรรมยั่งยืน การทำการเกษตรกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความพยายามของเกษตรกรในการพัฒนาระบบเกษตรกรรมที่เข้มแข็งและยั่งยืน เช่น ที่ชุมชนแม่ทา กุดชุม ฯลฯ• 2. การรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ การรักษาองค์ความรู้เรื่องเมล็ดพันธุ์ บทเรียน ประสบการณ์ และองค์ความรู้ของชุมชนในการอนุรักษ์ ปรับปรุง และพัฒนาพันธุกรรมพื้นบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ข้าว• 3. การรักษาพื้นที่ผลิตอาหาร ทรัพยากรป่าไม้ แม่น้ำ ทรัพยากรทางทะเล บทเรียน ประสบการณ์ และการต่อสู้ของชุมชนในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศ รักษาฐานทรัพยากรอาหาร ปฏิบัติการและกลไกการสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนผู้บริโภค ในด้านผู้บริโภค ปัจจุบันได้มีการหาแนวทางเพื่อให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิของตนเองมากขึ้น มีการณรงค์เพื่อให้ผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิในการเข้าถึงอาหารปลอดภัย การมีทางเลือกที่หลากหลายในการเลือกบริโภคอาหาร พยายามหลุดพ้นจากการครอบงำด้วยระบบตลาดอาหารแบบผูกขาดโดยอุตสาหกรรมอาหารยักษ์ใหญ่ โดยแนวคิดสำคัญที่ใช้กันอย่างต่อเนื่องคือ “กินเปลี่ยนโลก” โดยเน้นให้ผู้บริโภคเลือกรับประทานอาหารที่ผลิตในท้องถิ่น การรณรงค์เรื่องอาหารท้องถิ่น เพื่อได้กินอาหารที่สดใหม่ ลดการขนส่ง ลดความเสี่ยงจากการที่ต้องรักษาคุณภาพอาหารด้วยสารเคมีอันตราย ในหลายพื้นที่ได้จัดตลาดสีเขียวเพื่อให้เกษตรกรที่ผลิตอาหารในแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน ผู้ผลิตอาหารปลอดภัย หรือเกษตรกรอินทรีย์ ได้นำอาหารมาขายให้กับผู้บริโภคโดยตรง หรือการขายผลผลิตทางการเกษตรในระบบ CSA ที่ผู้ผลิตและผู้บริโภครู้จักกันเกื้อกูลกันอย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต และผู้บริโภคดังที่ได้กล่าวมาอาจจะยังไม่ได้เกิดขึ้นทั้งสังคม เนื่องจากโครงสร้างการผลิตอาหารของประเทศยังคงถูกครอบงำด้วยอิทธิพลของบรรษัทขนาดใหญ่ ที่ยังคงต้องผลิตอาหารจำนวนมากส่งออกต่างประเทศและเลี้ยงคนจำนวนมากในประเทศ แต่การที่ชุมชนต่างๆ ลุกขึ้นมาทำเรื่องเหล่านี้ เป็นการจุดประกายให้กับผู้ผลิตและผู้บริโภคได้มีทางเลือกมากขึ้น เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ตัวละครสำคัญที่จะมาเล่าเรื่องราวอ.พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ ประธานมูลนิธิลิ้งค์-กลุ่มเชื่อมโยงป่า น้ำ และคน และอาจารย์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักวิชาการเชี่ยวชาญเรื่องการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนอ.ชมชวน บุญระหงษ์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อดีตเอ็นจีโอด้านเกษตรกรรมยั่งยืน และนักวิชาการด้านการเกษตร ที่คร่ำหวอดในเครือข่ายที่เคลื่อนไหวเรื่องความมั่นคงทางอาหารมาอย่างยาวนานอ.ประมวล เพ็งจันทร์ เชื่อมโยงสู่มิติการพัฒนามนุษย์จากด้านใน การกินเพื่อพัฒนาตนเอง และการกินเพื่อพัฒนาสังคมไปสู่สังคมแห่งการเกื้อกูล ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคติดตามชมรายการเมืองดลใจ ตอน ความยั่งยืน ด้วยอาหาร วันพุธที่ 13 พฤษภาคม 2558 เวลา 22.35 - 23.30 น.ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live 

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย