อ่าวท่าศาลา...ทางสองแพร่งแห่งการพัฒนา

25 ก.พ. 58
ชุมชนอ่าวท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ชุมชนอันร่ำรวยด้วยทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมของชาวพุทธและมุสลิม ที่อาศัยอยู่ร่วมกันมาอย่างยาวนาน ด้วยลักษณะพิเศษทางภูมิประเทศ พื้นที่ทะเลอ่าวท่าศาลาอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์สัตว์น้ำ การประมงจึงเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจหลักของที่นี่ หรือที่เรียกว่า เศรษฐกิจสีฟ้า (Blue Economy) ชาวมุสลิมที่นี่ส่วนใหญ่ทำอาชีพประมงพื้นบ้าน ส่วนชาวพุทธมักมีอาชีพทำสวนผลไม้หรือสวนยางพาราบนพื้นที่เชิงเขาชุมชนอ่าวท่าศาลามาถึงทางสองแพร่งแห่งการพัฒนา เมื่อโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินของภาครัฐเข้ามาเตรียมสร้าง ในช่วงปี 2552-2553 ซึ่งครั้งนั้นชาวบ้านได้รวมตัวประท้องเพื่อต่อต้านจนโครงการต้องระงับไปต่อมาโครงการสร้างท่าเรือน้ำลึกของบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ (เชฟรอน) ได้คืบคลานเข้ามาเตรียมสร้างท่าเรือพาณิชย์ขนาดใหญ่ในพื้นที่อ่าวท่าศาลา ชาวบ้านที่ตื่นตัวเรื่องทรัพยากรอย่างมากแล้ว ตระหนักดีว่าหากท่าเรือเกิดขึ้น ย่อมมีผลกระทบต่อระบบนิเวศของอ่าวท่าศาลา อาจทำให้ทรัพยากรทางทะเลสูญหายไปจนหมดสิ้นได้ชาวท่าศาลาตัดสินใจเลือกแนวทางปกป้องพื้นที่ผลิตอาหารของประเทศ ปฏิเสธท่าเรือน้ำลึก ที่หากเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อทะเลและทรัพยากรสัตว์น้ำในอ่าวท่าศาลา การต่อสู้อันเข้มข้น ร่วมมือกันอย่างแข็งขัน ทั้งการจัดม็อบประท้วงในพื้นที่เพื่อแสดงพลังต่อต้าน และการประสานกับเครือข่ายภายนอกเพื่อสื่อสารต่อสังคม ถึงการตัดสินใจของชุมชนที่ปฏิเสธท่าเรือพาณิชย์ ทำให้โครงการระงับไว้ชั่วคราว แต่ชาวบ้านก็ไม่ไว้วางใจ ยังคงเฝ้าระวังภัยคุกคามนี้ต่อไป20 ปีกับการรักษาทะเล เริ่มขึ้นตั้งแต่ต่อสู้กับขบวนการประมงพาณิชย์ เรืออวนลาก อวนรุน ที่เข้ามาหาปลา ลากหอยแครงแบบทำลายล้างน่านน้ำ การต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ดุเดือดเข้มข้น และล่าสุดการร่วมกันปกป้องอ่าวท่าศาลาจากท่าเรือพาณิชย์ของบรรษัทข้ามชาติ (ท่าเรือเชฟรอน)5 ปีกับการสร้างสรีระชุมชน สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง รู้จักจุดอ่อน จุดแข็งของชุมชน รู้จักสร้างภูมิคุ้มกันชุมชนจากภัยคุกคาม ที่จะมาทำลายเศรษฐกิจสีฟ้า แหล่งอาหาร และท้องทะเลอันเป็นชีวิตจิตวิญญาณของพวกเขา3 ปีกับการกำหนดอนาคตตนเอง กำหนดบทบาทของตนเองมีหน้าที่เป็นผู้ผลิตอาหารให้กับเพื่อนมนุษย์ ชาวบ้านได้ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนจัดทำเอชไอเอชุมชน (CHIA) เพื่อแสดงให้เห็นทรัพยากรทางทะเลอันอุดมสมบูรณ์ของอ่าวท่าศาลา ใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนการตัดสินใจของชาวบ้านว่า ต้องการรักษาทะเลอ่าวท่าศาลาให้เป็นแหล่งอาหารของชาวไทย พวกเขาขนามอ่าวท่าศาลาว่าเป็น “อ่าวทองคำ” อันแหล่งอาหาร แหล่งอาชีพ แหล่งเศรษฐกิจที่ทำเงินเลี้ยงคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี ทะเลอ่าวท่าศาลาเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้ชุมชนดำรงอยู่ได้ติดตามชมรายการเมืองดลใจ ตอน อ่าวท่าศาลา...ทางสองแพร่งแห่งการพัฒนา วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 22.35 - 23.30 น.ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

อ่าวท่าศาลา...ทางสองแพร่งแห่งการพัฒนา

25 ก.พ. 58
ชุมชนอ่าวท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ชุมชนอันร่ำรวยด้วยทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมของชาวพุทธและมุสลิม ที่อาศัยอยู่ร่วมกันมาอย่างยาวนาน ด้วยลักษณะพิเศษทางภูมิประเทศ พื้นที่ทะเลอ่าวท่าศาลาอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์สัตว์น้ำ การประมงจึงเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจหลักของที่นี่ หรือที่เรียกว่า เศรษฐกิจสีฟ้า (Blue Economy) ชาวมุสลิมที่นี่ส่วนใหญ่ทำอาชีพประมงพื้นบ้าน ส่วนชาวพุทธมักมีอาชีพทำสวนผลไม้หรือสวนยางพาราบนพื้นที่เชิงเขาชุมชนอ่าวท่าศาลามาถึงทางสองแพร่งแห่งการพัฒนา เมื่อโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินของภาครัฐเข้ามาเตรียมสร้าง ในช่วงปี 2552-2553 ซึ่งครั้งนั้นชาวบ้านได้รวมตัวประท้องเพื่อต่อต้านจนโครงการต้องระงับไปต่อมาโครงการสร้างท่าเรือน้ำลึกของบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ (เชฟรอน) ได้คืบคลานเข้ามาเตรียมสร้างท่าเรือพาณิชย์ขนาดใหญ่ในพื้นที่อ่าวท่าศาลา ชาวบ้านที่ตื่นตัวเรื่องทรัพยากรอย่างมากแล้ว ตระหนักดีว่าหากท่าเรือเกิดขึ้น ย่อมมีผลกระทบต่อระบบนิเวศของอ่าวท่าศาลา อาจทำให้ทรัพยากรทางทะเลสูญหายไปจนหมดสิ้นได้ชาวท่าศาลาตัดสินใจเลือกแนวทางปกป้องพื้นที่ผลิตอาหารของประเทศ ปฏิเสธท่าเรือน้ำลึก ที่หากเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อทะเลและทรัพยากรสัตว์น้ำในอ่าวท่าศาลา การต่อสู้อันเข้มข้น ร่วมมือกันอย่างแข็งขัน ทั้งการจัดม็อบประท้วงในพื้นที่เพื่อแสดงพลังต่อต้าน และการประสานกับเครือข่ายภายนอกเพื่อสื่อสารต่อสังคม ถึงการตัดสินใจของชุมชนที่ปฏิเสธท่าเรือพาณิชย์ ทำให้โครงการระงับไว้ชั่วคราว แต่ชาวบ้านก็ไม่ไว้วางใจ ยังคงเฝ้าระวังภัยคุกคามนี้ต่อไป20 ปีกับการรักษาทะเล เริ่มขึ้นตั้งแต่ต่อสู้กับขบวนการประมงพาณิชย์ เรืออวนลาก อวนรุน ที่เข้ามาหาปลา ลากหอยแครงแบบทำลายล้างน่านน้ำ การต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ดุเดือดเข้มข้น และล่าสุดการร่วมกันปกป้องอ่าวท่าศาลาจากท่าเรือพาณิชย์ของบรรษัทข้ามชาติ (ท่าเรือเชฟรอน)5 ปีกับการสร้างสรีระชุมชน สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง รู้จักจุดอ่อน จุดแข็งของชุมชน รู้จักสร้างภูมิคุ้มกันชุมชนจากภัยคุกคาม ที่จะมาทำลายเศรษฐกิจสีฟ้า แหล่งอาหาร และท้องทะเลอันเป็นชีวิตจิตวิญญาณของพวกเขา3 ปีกับการกำหนดอนาคตตนเอง กำหนดบทบาทของตนเองมีหน้าที่เป็นผู้ผลิตอาหารให้กับเพื่อนมนุษย์ ชาวบ้านได้ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนจัดทำเอชไอเอชุมชน (CHIA) เพื่อแสดงให้เห็นทรัพยากรทางทะเลอันอุดมสมบูรณ์ของอ่าวท่าศาลา ใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนการตัดสินใจของชาวบ้านว่า ต้องการรักษาทะเลอ่าวท่าศาลาให้เป็นแหล่งอาหารของชาวไทย พวกเขาขนามอ่าวท่าศาลาว่าเป็น “อ่าวทองคำ” อันแหล่งอาหาร แหล่งอาชีพ แหล่งเศรษฐกิจที่ทำเงินเลี้ยงคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี ทะเลอ่าวท่าศาลาเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้ชุมชนดำรงอยู่ได้ติดตามชมรายการเมืองดลใจ ตอน อ่าวท่าศาลา...ทางสองแพร่งแห่งการพัฒนา วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 22.35 - 23.30 น.ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย