การระบาดของโรคที่มียุงเป็นพาหะ

ออกอากาศ31 ส.ค. 57
การระบาดของโรคที่มียุงเป็นพาหะในขณะที่องค์การอนามัยโลก กำลังกังวลกับการแพร่ระบาดของอีโบล่า ที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ แต่โลกของเรายังมีโรคระบาดอื่นๆ ที่มีต้นกำเนิดและมีสัตว์เป็นพาหะอีกหลายต่อหลายโรค โดยเฉพาะโรคที่มียุงเป็นพาหะ ในเดือนนี้ เมื่อ 117 ปีก่อน เซอร์โรนัลด์ โรส นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ค้นพบว่ายุงเป็นพาหะสำคัญที่แพร่เชื้อมาลาเรียสู่มนุษย์ แต่แม้เราจะมีองค์ความรู้นี้มานานนับศตวรรษ ทว่าก็ยังไม่สามารถป้องกันการระบาดของโรคที่มียุงเป็นพาหะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากรโลกหลายร้อยล้านคนในแต่ละปีอยู่ดี การจัดทำนโยบายชนพื้นเมืองในบราซิลท่ามกลางภาวะสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน อาจทำให้เราคิดไม่ถึงว่า จริงๆแล้วโลกของเรายังมีกลุ่มชาติพันธุ์ และชนพื้นเมืองอีกมากมาย ที่เร้นกายในป่าเขาห่างไกล และแทบไม่เคยติดต่อกับโลกภายนอก ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือที่ประเทศบราซิล ซึ่งประเมินว่ามีชนพื้นเมืองที่ไม่ค่อยจะติดต่อกับโลกภายนอกราวๆ 100 เผ่า แต่ระยะหลังพบว่าชนพื้นเมืองที่ไม่ค่อยติดต่อกับโลกภายนอกบางกลุ่ม เริ่มติดต่อกับหมู่บ้านใกล้เคียงกันมากขึ้น ทำให้ทางการต้องเร่งจัดทำนโยบายและโครงการต่างๆ เพื่อปกป้องสิทธิและทางเลือกของชนพื้นเมืองเหล่านี้ไว้ วีธีการแก้ปัญหาราคาพลังงานพุ่งสูงในคอสตาริก้าราคาพลังงานที่แพงขึ้นทุกวัน ทำให้หลายประเทศเร่งหาพลังงานทดแทนจากธรรมชาติ เพื่อรับประกันว่าในอนาคตประเทศจะมีพลังงานใช้เพียงพอ คอสตาริกาเป็นประเทศหมู่เกาะเล็กๆในทวีปอเมริกากลาง ซึ่งอยู่ในแนววงแหวนแห่งไฟ ดังนั้นทางการจึงเลือกพัฒนาพลังงานความร้อนใต้พิภพ ในการผลิตกระแสไฟฟ้าแต่ก็ต้องแลกกับพื้นที่ป่าไม้ ดังนั้นจึงมีการคิดค้นวิธีการใหม่ๆในการขุดเจาะ เพื่อรับประกันความยั่งยืนทางพลังงานของประเทศ ไปพร้อมๆกับอนุรักษ์ผืนป่าเอาไว้ติดตามชมรายการทันโลก World Update วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม  2557  เวลา 20.30 - 21.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-
การระบาดของโรคที่มียุงเป็นพาหะในขณะที่องค์การอนามัยโลก กำลังกังวลกับการแพร่ระบาดของอีโบล่า ที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ แต่โลกของเรายังมีโรคระบาดอื่นๆ ที่มีต้นกำเนิดและมีสัตว์เป็นพาหะอีกหลายต่อหลายโรค โดยเฉพาะโรคที่มียุงเป็นพาหะ ในเดือนนี้ เมื่อ 117 ปีก่อน เซอร์โรนัลด์ โรส นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ค้นพบว่ายุงเป็นพาหะสำคัญที่แพร่เชื้อมาลาเรียสู่มนุษย์ แต่แม้เราจะมีองค์ความรู้นี้มานานนับศตวรรษ ทว่าก็ยังไม่สามารถป้องกันการระบาดของโรคที่มียุงเป็นพาหะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากรโลกหลายร้อยล้านคนในแต่ละปีอยู่ดี การจัดทำนโยบายชนพื้นเมืองในบราซิลท่ามกลางภาวะสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน อาจทำให้เราคิดไม่ถึงว่า จริงๆแล้วโลกของเรายังมีกลุ่มชาติพันธุ์ และชนพื้นเมืองอีกมากมาย ที่เร้นกายในป่าเขาห่างไกล และแทบไม่เคยติดต่อกับโลกภายนอก ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือที่ประเทศบราซิล ซึ่งประเมินว่ามีชนพื้นเมืองที่ไม่ค่อยจะติดต่อกับโลกภายนอกราวๆ 100 เผ่า แต่ระยะหลังพบว่าชนพื้นเมืองที่ไม่ค่อยติดต่อกับโลกภายนอกบางกลุ่ม เริ่มติดต่อกับหมู่บ้านใกล้เคียงกันมากขึ้น ทำให้ทางการต้องเร่งจัดทำนโยบายและโครงการต่างๆ เพื่อปกป้องสิทธิและทางเลือกของชนพื้นเมืองเหล่านี้ไว้ วีธีการแก้ปัญหาราคาพลังงานพุ่งสูงในคอสตาริก้าราคาพลังงานที่แพงขึ้นทุกวัน ทำให้หลายประเทศเร่งหาพลังงานทดแทนจากธรรมชาติ เพื่อรับประกันว่าในอนาคตประเทศจะมีพลังงานใช้เพียงพอ คอสตาริกาเป็นประเทศหมู่เกาะเล็กๆในทวีปอเมริกากลาง ซึ่งอยู่ในแนววงแหวนแห่งไฟ ดังนั้นทางการจึงเลือกพัฒนาพลังงานความร้อนใต้พิภพ ในการผลิตกระแสไฟฟ้าแต่ก็ต้องแลกกับพื้นที่ป่าไม้ ดังนั้นจึงมีการคิดค้นวิธีการใหม่ๆในการขุดเจาะ เพื่อรับประกันความยั่งยืนทางพลังงานของประเทศ ไปพร้อมๆกับอนุรักษ์ผืนป่าเอาไว้ติดตามชมรายการทันโลก World Update วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม  2557  เวลา 20.30 - 21.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย