ซีรีส์วิถีคน
ซีรีส์วิถีคน

วิถีคนเลี้ยงวัว - ควาย

หน้ารายการ
9 ม.ค. 65

บ้านบึง ต.ดอนแรด อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ หมู่บ้านเล็ก ๆ ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ชาวบ้านที่นี่แทบทุกหลังคาเลี้ยง "วัว-ควาย" ที่ได้รับเป็น "มรดกตกทอด" มาจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ พอลูกแต่งานพ่อแม่ก็มอบให้ลูกออกเรือนมอบให้ลูกโดยเรียกมรดกนี้ว่า "มูลมัง" ดังนั้นวัวควายจึงมีความสำคัญต่อชาวบ้านที่นี่เป็นอย่างมาก เพราะเป็นทั้งเพื่อนเป็นมิตร เป็นธนาคาร เป็นเครดิตค้ำประกัน เป็นเงินส่งลูกเรียน ลูกได้เป็นเจ้าเป็นนายก็เพราะวัวควาย ดังนั้นจึงรักและดูแลวัวควายเหมือนลูกหลาน วัวควายที่นี่จึงถูกดูแลเปรียบเสมือนคนในบ้าน เช้า ๆ ก็จะพาออกไปหากินหญ้ากลางทุ่ง จนเย็นจึงพากลับบ้าน

การใช้ชีวิตกลางทุ่งของชาวบ้านที่นี่ก่อให้เกิดสังคมย่อย ๆ ที่คนเลี้ยงสัตว์มารวมตัวกัน โดยแม้ว่าต่างคนจะมาจากต่างถิ่น แต่เมื่อวัวควายตนเองถูกปล่อยไปเลี้ยงก็มักจะมารวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรม เช่น กินข้าวกลางวัน หาอาหารกลางทุ่ง เช่น หนูนา กบ เขียด ปู สามารถที่จะช่วยกันดูแลสัตว์เลี้ยง กลายเป็นความรักความผูกพันที่ไม่ต้องใช้เงินเข้ามาแลกซื้อ แค่รักสัตว์ชนิดเดียวกันก็สามารถเป็นเพื่อนกันได้ นอกจากนั้นความรักในวัวควายของที่นี่ยังถูกถ่ายทอดไปยังเด็ก ๆ ในหมู่บ้าน ที่นอกจากจะมีวัวควายเป็นเพื่อนเล่น ยังสามารถที่จะมีเป็นสัตว์เลี้ยงของตนเองได้ด้วย เช่น น้องแพมวัย 13 ปี และน้องต้าร์วัย 9 ปี สองพี่น้องที่คลุกคลีกับสัตว์ประเภทนี้ โดยเอาไปเลี้ยงกลางทุ่ง หาอาหารให้กิน ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูก็จะได้มาจากพ่อแม่ที่ทำให้ดู จนเด็ก ๆ เกิดความผูกพัน

วิถีของคนที่นี่นอกจากเปิดโลกให้เราเห็นว่าความผูกพันในวิถีเดิม ๆ ของชาวบ้านในชนบทที่ยังดำรงอยู่แล้ว ยังสะท้อนให้เห็นความฉลาดของบรรพบุรุษในการคิดที่จะให้มรดกลูกหลานเป็น วัว - ควาย ทรัพยสินที่เป็นเสมือนธนาคาร ที่สามารถเบิกใช้ได้ตลอดเวลา.

มาต่อกันที่ บ้านโตนด ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ หมู่บ้านที่ยังเรียกได้ว่าเป็น "หมู่บ้านนายฮ้อย" แทบทุกครัวเรือยังทำอาชีพนายฮ้อย โดยมีทั้งนายฮ้อยรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ การซื้อขายวัวควายของที่นี่ยังคึกคัก เช่น "นายฮ้อยเหว่า" สำเภา ไหมทอง วัย 43 ปี เป็นนายฮ้อยที่มีฝีมือและลีลาในการต่อรองซื้อขายชนิดที่หาตัวจับยาก เพระผ่านประสบการณ์การทำงานแบบนี้มาตั้งแต่เด็ก ๆ ทุกวันนี้นายฮ้อยเหว่าจะขับรถมอเตอร์ไซด์ตระเวนไปหาซื้อวัวควายตามหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อมารวมไว้ที่คอกในบริเวณบ้าน ก่อนที่จะเอาไปขายที่ตลาดนัดโคกระบือศรีขรภูมิ ซึ่งเปิดทุกวันเสาร์ บรรยากาศที่ตลาดนั้นจะเริ่มหนาแน่นไปด้วยรถกระบะและรถบรรทุกนับ 1,000 คันตั้งแต่เวลาเช้ามืด โดยจะมีนายฮ้อยที่เดินทางมาจากจังหวัดทั่วภาคอีสานและภาคอื่น ๆ เช่น ร้อยเอ็ด, ขอนแก่น, อุบลราชธานี, แพร่, น่าน, อุทัยธานี และเพชรบุรี ซึ่งนายฮ้อยเหล่านี้จะมาพร้อมกับวัวควายที่ตนเองนั้นไปซื้อหาเพื่อเอามาขายที่นี่ โดยนอกจากจะขายแล้วก็มีการซื้อวัวควายกลับไปด้วย ในตลาดนัดโคกระบือแห่งนี้มีนายฮ้อยรูปแบบหนึ่งที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย ยกเว้นปากที่ต้องช่างเจราจา เรียกนายฮ้อยแบบนี้ว่า "นายฮ้อยจับเชือก" ซึ่งจะทำตัวเป็นเหมือนโมเดลลิ่งนางหรือนายแบบ เพราะว่าจะมาคัดวัวควายที่มีลักษณะดีเพื่อเอาไปขายต่อตามคำสั่ง ซึ่งจุดที่นายฮ้อยจับเชือกทำงานอยู่บริเวณริมถนนด้านหน้าตลาด โดยจะยืนเรียงคิวรอดูรถของนายฮ้อยที่นำวัวควายมาขาย เมื่อเจอวัวควายที่ถูกใจตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างที่เรียกว่า นายห้าง ก็จะรีบวิ่งเข้าไปเจรจา เมื่อตกลงราคากันได้แล้ว "นายฮ้อยจับเชือก" ก็จะวิ่งเกาะตามรถ บ้างก็กระโดดขึ้นรถแล้วบอกทางให้นายฮ้อยไปยังจุดที่ผู้ซื้อหรือนายห้างรอซื้ออยู่

หน้าที่ของนายฮ้อยบางคนนั้นไม่ได้จบแค่การซื้อขาย แต่บางครั้งก็จะต้องเอาวัวควายไปส่งที่บ้านลูกค้าด้วย และมากกว่านั้นจะให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงดู เพื่อให้คนที่ซื้อไปนั้นสามารถเลี้ยงวัวควายที่ตนเองซื้อมาได้ถูกวิธี ซึ่งจะส่งผลให้ออกมามีลักษณะดีและราคาสูง เป็นการแสดงน้ำใจต่อกันด้วยใจที่สุจริต นายฮ้อยที่นี่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอาชีพนี้สร้างรายได้และสร้างความสุขให้คนที่นี่ พวกเขามีความสุขและรักที่จะทำต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะไม่ไหว

"นายฮ้อย" เป็นอาชีพที่มีความผูกพันธ์กับวิถีชีวิตของคนที่นี่มาเนิ่นนาน โดยทุกครั้งหลังจากซื้อวัวแล้วจะต้องมีใบอนุญาตให้นำวัวออกจากบ้านผู้ซื้อ ซึ่งเรียกว่า "ใบปากคอก" โดยกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านสมัยนั้นต้องเป็นคนเซ็นต์รับรอง จึงจะขนย้ายไล่ต้อนวัวควายออกมาได้

ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม 2565 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

วิถีคนเลี้ยงวัว - ควาย

9 ม.ค. 65

บ้านบึง ต.ดอนแรด อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ หมู่บ้านเล็ก ๆ ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ชาวบ้านที่นี่แทบทุกหลังคาเลี้ยง "วัว-ควาย" ที่ได้รับเป็น "มรดกตกทอด" มาจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ พอลูกแต่งานพ่อแม่ก็มอบให้ลูกออกเรือนมอบให้ลูกโดยเรียกมรดกนี้ว่า "มูลมัง" ดังนั้นวัวควายจึงมีความสำคัญต่อชาวบ้านที่นี่เป็นอย่างมาก เพราะเป็นทั้งเพื่อนเป็นมิตร เป็นธนาคาร เป็นเครดิตค้ำประกัน เป็นเงินส่งลูกเรียน ลูกได้เป็นเจ้าเป็นนายก็เพราะวัวควาย ดังนั้นจึงรักและดูแลวัวควายเหมือนลูกหลาน วัวควายที่นี่จึงถูกดูแลเปรียบเสมือนคนในบ้าน เช้า ๆ ก็จะพาออกไปหากินหญ้ากลางทุ่ง จนเย็นจึงพากลับบ้าน

การใช้ชีวิตกลางทุ่งของชาวบ้านที่นี่ก่อให้เกิดสังคมย่อย ๆ ที่คนเลี้ยงสัตว์มารวมตัวกัน โดยแม้ว่าต่างคนจะมาจากต่างถิ่น แต่เมื่อวัวควายตนเองถูกปล่อยไปเลี้ยงก็มักจะมารวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรม เช่น กินข้าวกลางวัน หาอาหารกลางทุ่ง เช่น หนูนา กบ เขียด ปู สามารถที่จะช่วยกันดูแลสัตว์เลี้ยง กลายเป็นความรักความผูกพันที่ไม่ต้องใช้เงินเข้ามาแลกซื้อ แค่รักสัตว์ชนิดเดียวกันก็สามารถเป็นเพื่อนกันได้ นอกจากนั้นความรักในวัวควายของที่นี่ยังถูกถ่ายทอดไปยังเด็ก ๆ ในหมู่บ้าน ที่นอกจากจะมีวัวควายเป็นเพื่อนเล่น ยังสามารถที่จะมีเป็นสัตว์เลี้ยงของตนเองได้ด้วย เช่น น้องแพมวัย 13 ปี และน้องต้าร์วัย 9 ปี สองพี่น้องที่คลุกคลีกับสัตว์ประเภทนี้ โดยเอาไปเลี้ยงกลางทุ่ง หาอาหารให้กิน ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูก็จะได้มาจากพ่อแม่ที่ทำให้ดู จนเด็ก ๆ เกิดความผูกพัน

วิถีของคนที่นี่นอกจากเปิดโลกให้เราเห็นว่าความผูกพันในวิถีเดิม ๆ ของชาวบ้านในชนบทที่ยังดำรงอยู่แล้ว ยังสะท้อนให้เห็นความฉลาดของบรรพบุรุษในการคิดที่จะให้มรดกลูกหลานเป็น วัว - ควาย ทรัพยสินที่เป็นเสมือนธนาคาร ที่สามารถเบิกใช้ได้ตลอดเวลา.

มาต่อกันที่ บ้านโตนด ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ หมู่บ้านที่ยังเรียกได้ว่าเป็น "หมู่บ้านนายฮ้อย" แทบทุกครัวเรือยังทำอาชีพนายฮ้อย โดยมีทั้งนายฮ้อยรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ การซื้อขายวัวควายของที่นี่ยังคึกคัก เช่น "นายฮ้อยเหว่า" สำเภา ไหมทอง วัย 43 ปี เป็นนายฮ้อยที่มีฝีมือและลีลาในการต่อรองซื้อขายชนิดที่หาตัวจับยาก เพระผ่านประสบการณ์การทำงานแบบนี้มาตั้งแต่เด็ก ๆ ทุกวันนี้นายฮ้อยเหว่าจะขับรถมอเตอร์ไซด์ตระเวนไปหาซื้อวัวควายตามหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อมารวมไว้ที่คอกในบริเวณบ้าน ก่อนที่จะเอาไปขายที่ตลาดนัดโคกระบือศรีขรภูมิ ซึ่งเปิดทุกวันเสาร์ บรรยากาศที่ตลาดนั้นจะเริ่มหนาแน่นไปด้วยรถกระบะและรถบรรทุกนับ 1,000 คันตั้งแต่เวลาเช้ามืด โดยจะมีนายฮ้อยที่เดินทางมาจากจังหวัดทั่วภาคอีสานและภาคอื่น ๆ เช่น ร้อยเอ็ด, ขอนแก่น, อุบลราชธานี, แพร่, น่าน, อุทัยธานี และเพชรบุรี ซึ่งนายฮ้อยเหล่านี้จะมาพร้อมกับวัวควายที่ตนเองนั้นไปซื้อหาเพื่อเอามาขายที่นี่ โดยนอกจากจะขายแล้วก็มีการซื้อวัวควายกลับไปด้วย ในตลาดนัดโคกระบือแห่งนี้มีนายฮ้อยรูปแบบหนึ่งที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย ยกเว้นปากที่ต้องช่างเจราจา เรียกนายฮ้อยแบบนี้ว่า "นายฮ้อยจับเชือก" ซึ่งจะทำตัวเป็นเหมือนโมเดลลิ่งนางหรือนายแบบ เพราะว่าจะมาคัดวัวควายที่มีลักษณะดีเพื่อเอาไปขายต่อตามคำสั่ง ซึ่งจุดที่นายฮ้อยจับเชือกทำงานอยู่บริเวณริมถนนด้านหน้าตลาด โดยจะยืนเรียงคิวรอดูรถของนายฮ้อยที่นำวัวควายมาขาย เมื่อเจอวัวควายที่ถูกใจตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างที่เรียกว่า นายห้าง ก็จะรีบวิ่งเข้าไปเจรจา เมื่อตกลงราคากันได้แล้ว "นายฮ้อยจับเชือก" ก็จะวิ่งเกาะตามรถ บ้างก็กระโดดขึ้นรถแล้วบอกทางให้นายฮ้อยไปยังจุดที่ผู้ซื้อหรือนายห้างรอซื้ออยู่

หน้าที่ของนายฮ้อยบางคนนั้นไม่ได้จบแค่การซื้อขาย แต่บางครั้งก็จะต้องเอาวัวควายไปส่งที่บ้านลูกค้าด้วย และมากกว่านั้นจะให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงดู เพื่อให้คนที่ซื้อไปนั้นสามารถเลี้ยงวัวควายที่ตนเองซื้อมาได้ถูกวิธี ซึ่งจะส่งผลให้ออกมามีลักษณะดีและราคาสูง เป็นการแสดงน้ำใจต่อกันด้วยใจที่สุจริต นายฮ้อยที่นี่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอาชีพนี้สร้างรายได้และสร้างความสุขให้คนที่นี่ พวกเขามีความสุขและรักที่จะทำต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะไม่ไหว

"นายฮ้อย" เป็นอาชีพที่มีความผูกพันธ์กับวิถีชีวิตของคนที่นี่มาเนิ่นนาน โดยทุกครั้งหลังจากซื้อวัวแล้วจะต้องมีใบอนุญาตให้นำวัวออกจากบ้านผู้ซื้อ ซึ่งเรียกว่า "ใบปากคอก" โดยกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านสมัยนั้นต้องเป็นคนเซ็นต์รับรอง จึงจะขนย้ายไล่ต้อนวัวควายออกมาได้

ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม 2565 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

ซีรีส์วิถีคน

1 - 30
31 - 60
61 - 90
91 - ล่าสุด
วิถีบัวบึงบอระเพ็ด ต.ทับกฤช อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์
วิถีบัวบึงบอระเพ็ด ต.ทับกฤช อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์
2 ส.ค. 64
วิถีที่เปลี่ยนไปของโอรังอัสลี บ้านในหลง ต.แม่หวาด อ.ธารโต จ.ยะลา
วิถีที่เปลี่ยนไปของโอรังอัสลี บ้านในหลง ต.แม่หวาด อ.ธารโต จ.ยะลา
9 ส.ค. 64
วิถีคนเกาะหมาก ต.เกาะหมาก อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง
วิถีคนเกาะหมาก ต.เกาะหมาก อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง
16 ส.ค. 64
วิถีเรือรับจ้างคลองปากน้ำ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ชุมพร
วิถีเรือรับจ้างคลองปากน้ำ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ชุมพร
23 ส.ค. 64
วิถีเขื่อนแก่งกระจาน ต.แก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี
วิถีเขื่อนแก่งกระจาน ต.แก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี
30 ส.ค. 64
วิถีใบไม้ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
วิถีใบไม้ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
6 ก.ย. 64
วิถีคนตีผึ้งป่า ต.สันป่ายาง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
วิถีคนตีผึ้งป่า ต.สันป่ายาง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
13 ก.ย. 64
วิถีคนบ้านเอียก ต.สันป่ายาง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
วิถีคนบ้านเอียก ต.สันป่ายาง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
20 ก.ย. 64
วิถีเกษตรแบ่งปัน "เป็ดไล่ทุ่ง" ต.ลาดหลุมแก้ว อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
วิถีเกษตรแบ่งปัน "เป็ดไล่ทุ่ง" ต.ลาดหลุมแก้ว อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
27 ก.ย. 64
วิถีรถถีบ (จักรยาน) บ้านโคก อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
วิถีรถถีบ (จักรยาน) บ้านโคก อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
4 ต.ค. 64
วิถี "ควายขนของ" บ้านหมอเฒ่า ต.ช่องสะเดา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
วิถี "ควายขนของ" บ้านหมอเฒ่า ต.ช่องสะเดา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
11 ต.ค. 64
วิถีคนเกาะยาว ต.เกาะยาวน้อย อ.เกาะยาว จ.พังงา
วิถีคนเกาะยาว ต.เกาะยาวน้อย อ.เกาะยาว จ.พังงา
18 ต.ค. 64
วิถีคนเก็บลูกชก ต.บางเตย อ.เมือง จ.พังงา
วิถีคนเก็บลูกชก ต.บางเตย อ.เมือง จ.พังงา
25 ต.ค. 64
วิถีคนหากั้ง บ้านบากันเคย ต.ตันหยงโป อ.เมือง จ.สตูล
วิถีคนหากั้ง บ้านบากันเคย ต.ตันหยงโป อ.เมือง จ.สตูล
1 พ.ย. 64
วิถีรวมใจ บ้านวังใหม่ ต.วังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
วิถีรวมใจ บ้านวังใหม่ ต.วังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
8 พ.ย. 64
วิถี "สวนดั้งเดิม" คลองบางประทุน  เขตจอมทอง กทม.
วิถี "สวนดั้งเดิม" คลองบางประทุน เขตจอมทอง กทม.
15 พ.ย. 64
วิถีคนเก็บเมล็ดพันธุ์ ต.ห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
วิถีคนเก็บเมล็ดพันธุ์ ต.ห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
22 พ.ย. 64
วิถีหน้าฝนคนหันคา อ.หันคา จ.ชัยนาท
วิถีหน้าฝนคนหันคา อ.หันคา จ.ชัยนาท
29 พ.ย. 64
วิถีคนกุยบุรี อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
วิถีคนกุยบุรี อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
6 ธ.ค. 64
วิถีคนเปียงก่อ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน
วิถีคนเปียงก่อ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน
13 ธ.ค. 64
วิถีคนและดอกไม้ บ้านห้วยสำราญ ต.หนองไฮ อ.เมือง จ.อุดรธานี
วิถีคนและดอกไม้ บ้านห้วยสำราญ ต.หนองไฮ อ.เมือง จ.อุดรธานี
20 ธ.ค. 64
วิถีหมู่บ้านผ้าไหม บ้านดอนมะเกลือ ต.หนองคู อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ
วิถีหมู่บ้านผ้าไหม บ้านดอนมะเกลือ ต.หนองคู อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ
27 ธ.ค. 64
วิถีคน วิถีป่า
วิถีคน วิถีป่า
2 ม.ค. 65
กำลังเล่น...
วิถีคนเลี้ยงวัว - ควาย
วิถีคนเลี้ยงวัว - ควาย
9 ม.ค. 65
วิถีคนกับสายน้ำ
วิถีคนกับสายน้ำ
16 ม.ค. 65
วิถีคนหนองกลับ ต.หนองกลับ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
วิถีคนหนองกลับ ต.หนองกลับ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
11 ก.ค. 65
วิถีคนภูเก็ตบ้านไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
วิถีคนภูเก็ตบ้านไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
18 ก.ค. 65
วิถีคนกะบกเตี้ย อ.เนินขาม จ.ชัยนาท
วิถีคนกะบกเตี้ย อ.เนินขาม จ.ชัยนาท
25 ก.ค. 65
วิถีฤๅษีบ้านมอตะหลั่ว ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก
วิถีฤๅษีบ้านมอตะหลั่ว ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก
1 ส.ค. 65
วิถีคนกลางป่า ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก
วิถีคนกลางป่า ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก
8 ส.ค. 65

ซีรีส์วิถีคน

1 - 30
31 - 60
61 - 90
91 - ล่าสุด
วิถีบัวบึงบอระเพ็ด ต.ทับกฤช อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์
วิถีบัวบึงบอระเพ็ด ต.ทับกฤช อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์
2 ส.ค. 64
วิถีที่เปลี่ยนไปของโอรังอัสลี บ้านในหลง ต.แม่หวาด อ.ธารโต จ.ยะลา
วิถีที่เปลี่ยนไปของโอรังอัสลี บ้านในหลง ต.แม่หวาด อ.ธารโต จ.ยะลา
9 ส.ค. 64
วิถีคนเกาะหมาก ต.เกาะหมาก อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง
วิถีคนเกาะหมาก ต.เกาะหมาก อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง
16 ส.ค. 64
วิถีเรือรับจ้างคลองปากน้ำ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ชุมพร
วิถีเรือรับจ้างคลองปากน้ำ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ชุมพร
23 ส.ค. 64
วิถีเขื่อนแก่งกระจาน ต.แก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี
วิถีเขื่อนแก่งกระจาน ต.แก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี
30 ส.ค. 64
วิถีใบไม้ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
วิถีใบไม้ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
6 ก.ย. 64
วิถีคนตีผึ้งป่า ต.สันป่ายาง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
วิถีคนตีผึ้งป่า ต.สันป่ายาง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
13 ก.ย. 64
วิถีคนบ้านเอียก ต.สันป่ายาง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
วิถีคนบ้านเอียก ต.สันป่ายาง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
20 ก.ย. 64
วิถีเกษตรแบ่งปัน "เป็ดไล่ทุ่ง" ต.ลาดหลุมแก้ว อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
วิถีเกษตรแบ่งปัน "เป็ดไล่ทุ่ง" ต.ลาดหลุมแก้ว อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
27 ก.ย. 64
วิถีรถถีบ (จักรยาน) บ้านโคก อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
วิถีรถถีบ (จักรยาน) บ้านโคก อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
4 ต.ค. 64
วิถี "ควายขนของ" บ้านหมอเฒ่า ต.ช่องสะเดา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
วิถี "ควายขนของ" บ้านหมอเฒ่า ต.ช่องสะเดา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
11 ต.ค. 64
วิถีคนเกาะยาว ต.เกาะยาวน้อย อ.เกาะยาว จ.พังงา
วิถีคนเกาะยาว ต.เกาะยาวน้อย อ.เกาะยาว จ.พังงา
18 ต.ค. 64
วิถีคนเก็บลูกชก ต.บางเตย อ.เมือง จ.พังงา
วิถีคนเก็บลูกชก ต.บางเตย อ.เมือง จ.พังงา
25 ต.ค. 64
วิถีคนหากั้ง บ้านบากันเคย ต.ตันหยงโป อ.เมือง จ.สตูล
วิถีคนหากั้ง บ้านบากันเคย ต.ตันหยงโป อ.เมือง จ.สตูล
1 พ.ย. 64
วิถีรวมใจ บ้านวังใหม่ ต.วังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
วิถีรวมใจ บ้านวังใหม่ ต.วังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
8 พ.ย. 64
วิถี "สวนดั้งเดิม" คลองบางประทุน  เขตจอมทอง กทม.
วิถี "สวนดั้งเดิม" คลองบางประทุน เขตจอมทอง กทม.
15 พ.ย. 64
วิถีคนเก็บเมล็ดพันธุ์ ต.ห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
วิถีคนเก็บเมล็ดพันธุ์ ต.ห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
22 พ.ย. 64
วิถีหน้าฝนคนหันคา อ.หันคา จ.ชัยนาท
วิถีหน้าฝนคนหันคา อ.หันคา จ.ชัยนาท
29 พ.ย. 64
วิถีคนกุยบุรี อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
วิถีคนกุยบุรี อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
6 ธ.ค. 64
วิถีคนเปียงก่อ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน
วิถีคนเปียงก่อ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน
13 ธ.ค. 64
วิถีคนและดอกไม้ บ้านห้วยสำราญ ต.หนองไฮ อ.เมือง จ.อุดรธานี
วิถีคนและดอกไม้ บ้านห้วยสำราญ ต.หนองไฮ อ.เมือง จ.อุดรธานี
20 ธ.ค. 64
วิถีหมู่บ้านผ้าไหม บ้านดอนมะเกลือ ต.หนองคู อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ
วิถีหมู่บ้านผ้าไหม บ้านดอนมะเกลือ ต.หนองคู อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ
27 ธ.ค. 64
วิถีคน วิถีป่า
วิถีคน วิถีป่า
2 ม.ค. 65
กำลังเล่น...
วิถีคนเลี้ยงวัว - ควาย
วิถีคนเลี้ยงวัว - ควาย
9 ม.ค. 65
วิถีคนกับสายน้ำ
วิถีคนกับสายน้ำ
16 ม.ค. 65
วิถีคนหนองกลับ ต.หนองกลับ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
วิถีคนหนองกลับ ต.หนองกลับ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
11 ก.ค. 65
วิถีคนภูเก็ตบ้านไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
วิถีคนภูเก็ตบ้านไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
18 ก.ค. 65
วิถีคนกะบกเตี้ย อ.เนินขาม จ.ชัยนาท
วิถีคนกะบกเตี้ย อ.เนินขาม จ.ชัยนาท
25 ก.ค. 65
วิถีฤๅษีบ้านมอตะหลั่ว ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก
วิถีฤๅษีบ้านมอตะหลั่ว ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก
1 ส.ค. 65
วิถีคนกลางป่า ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก
วิถีคนกลางป่า ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก
8 ส.ค. 65

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย