แก้ไขรัฐธรรมนูญ : เลือกตั้ง ส.ว. โมเดลนี้เพื่อใคร?

ออกอากาศ1 ก.ย. 56
สัปดาห์ที่ผ่านมา เวทีรัฐสภาได้เป็นประเด็นร้อนแรงที่ได้รับความสนใจจากสังคมอย่างมาก เนื่องจากในการประชุมร่วมกันของนรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ. .... ประเด็นที่มาของ ส.ว. ในวาระ 2 ที่มีการแก้ไขที่มาของ ส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด 200 คน จากเดิมที่กึ่งหนึ่งมีที่มาจากการสรรหา ซึ่งได้ทำเกิดความวุ่นวายและมีการประท้วงจากสมาชิกรัฐสภาฝ่ายค้าน เกิดการตั้งคำถามถึงประเด็นที่มาของ ส.ว.  “เถียงให้รู้เรื่อง” สัปดาห์นี้จึงได้มีการถกเถียงกันในประเด็นที่ว่า “สมาชิกวุฒิสภา” ควรมี “ที่มา” และ “บทบาทหน้าที่” อย่างไร ในระบอบประชาธิปไตยไทย ร่วมชมการถกเถียงถึงที่มาและเหตุผลจากฝ่ายที่เสนอให้มีการแก้ไขที่มาของ ส.ว. และฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย  รวมทั้งข้อดี-ข้อเสียของระบบสรรหาและเลือกตั้ง ผู้ร่วมรายการ : จิรายุ ห่วงทรัพย์ (ส.ส.พรรคเพื่อไทย) และ บุญยอด สุขถิ่นไทย (สส.พรรคประชาธิปัตย์) นักวิชาการร่วมแสดงความเห็น : รศ.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร (คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง) และ อาจารย์คมสัน โพธิ์คง (อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2550) ติดตามรายการ “เถียงให้รู้เรื่อง” ทุกวันอาทิตย์ เวลา 12.10 – 13.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง  www.thaipbs.or.th/live

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-
สัปดาห์ที่ผ่านมา เวทีรัฐสภาได้เป็นประเด็นร้อนแรงที่ได้รับความสนใจจากสังคมอย่างมาก เนื่องจากในการประชุมร่วมกันของนรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ. .... ประเด็นที่มาของ ส.ว. ในวาระ 2 ที่มีการแก้ไขที่มาของ ส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด 200 คน จากเดิมที่กึ่งหนึ่งมีที่มาจากการสรรหา ซึ่งได้ทำเกิดความวุ่นวายและมีการประท้วงจากสมาชิกรัฐสภาฝ่ายค้าน เกิดการตั้งคำถามถึงประเด็นที่มาของ ส.ว.  “เถียงให้รู้เรื่อง” สัปดาห์นี้จึงได้มีการถกเถียงกันในประเด็นที่ว่า “สมาชิกวุฒิสภา” ควรมี “ที่มา” และ “บทบาทหน้าที่” อย่างไร ในระบอบประชาธิปไตยไทย ร่วมชมการถกเถียงถึงที่มาและเหตุผลจากฝ่ายที่เสนอให้มีการแก้ไขที่มาของ ส.ว. และฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย  รวมทั้งข้อดี-ข้อเสียของระบบสรรหาและเลือกตั้ง ผู้ร่วมรายการ : จิรายุ ห่วงทรัพย์ (ส.ส.พรรคเพื่อไทย) และ บุญยอด สุขถิ่นไทย (สส.พรรคประชาธิปัตย์) นักวิชาการร่วมแสดงความเห็น : รศ.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร (คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง) และ อาจารย์คมสัน โพธิ์คง (อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2550) ติดตามรายการ “เถียงให้รู้เรื่อง” ทุกวันอาทิตย์ เวลา 12.10 – 13.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง  www.thaipbs.or.th/live

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย