การถ่ายโอนวัฒนธรรมจากจีนสู่ไทย และคุณค่าของภูมิศาสตร์วัฒนธรรม

ออกอากาศ27 พ.ย. 62

เรื่องเล่าจากละคร

การถ่ายโอนวัฒนธรรมจากจีนสู่ไทย

และคุณค่าของภูมิศาสตร์วัฒนธรรม

เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย

เมื่อมองตัวละครเชื้อชาติต่าง ๆ นอกเหนือจากชาวไทยแท้ ๆ ผ่านละครเรื่องปลายจวัก ย่อมไม่มีทางมองข้ามตัวละครสำคัญอย่างพ่อสิน คู่ปรับและคู่แท้ตลอดกาลของแม่วาดไปได้ เพราะความมีสายเลือดจีนนี้เอง แม่วาดจึงคอยค่อนขอดชายหนุ่มอยู่บ่อยครั้ง พ่อสินมิใช่คนจีนคนแรกที่เข้ามาในแผ่นดินสยามอย่างแน่นอน เมื่อศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ย่อมเป็นที่รู้กันว่าจีนเข้ามายังสยามประเทศมานานแล้ว นานจนเกิดการถ่ายโอนวัฒนธรรมจากจีนสู่ไทย ซึ่งยังมีให้เห็นถึงปัจจุบันมิได้ย่อหย่อนไปกว่าวัฒนธรรมตะวันตกเลย

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้รับสมญานามว่า “กษัตริย์เจ้าสัว” สืบเนื่องมาจากพระราชกรณียกิจสำคัญของพระองค์ คือการทำการค้ากับจีนจนเศรษฐกิจของสยามในรัชสมัยพระองค์เฟื่องฟู รุ่งเรืองอย่างยิ่ง มีการซื้อขายเรือสำเภากับจีน ส่วนชาวจีนก็ล่องเรือสำเภามายังสยามด้วยการซื้อสินค้าต่าง ๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของไทย ทั้งข้าว ไม้สัก สิ่งทอ ผ้าไหม เครื่องเงิน เครื่องทอ เป็นต้น

ทั้งนี้ ในการบรรทุกสินค้าไปขายที่เมืองจีน ซึ่งต้องเดินทางด้วยเรือสำเภานั้น การเดินทางไปไม่มีปัญหา เพราะเรือบรรทุกสินค้ามากมาย แต่เวลากลับซึ่งภายในเรือไม่มีสินค้าใด ๆ แล้ว เพื่อไม่ให้เรือโคลงเคลง จึงได้มีการซื้อตุ๊กตาหินของจีนมาบรรทุกแทน เพื่อถ่วงน้ำหนักเรือไม่ให้โคลงเคลง วิธีการเช่นนี้เรียกว่า “อับเฉา” ครั้นกลับมาถึงสยาม ตุ๊กตาเหล่านั้นก็ถูกนำไปประดับตามวัดวาอารามต่าง ๆ เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ โดยตุ๊กตาที่ทำหน้าที่อับเฉาเหล่านั้นมีลักษณะสำคัญคือรูปร่างคล้ายคนแก่จีน มีหนวดเคราอันสื่อให้รู้ว่านี่คือคนจีนแท้

อารยธรรมจากจีนหลายประการที่ถูกถ่ายโอนมายังแผ่นดินไทย แล้วได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย เช่น ด้านการคำนวณ มีลูกคิดที่ใช้คำนวณราคาสินค้า หรือใช้คิดเลข มีเครื่องชั่งที่ทำจากลูกตุ้ม รวมทั้งที่ปรากฏในวงกว้างอย่างชัดเจนคือภาษาจีนนั่นเอง ปัจจุบันคำไทยหลายคำยืมคำภาษาจีนมาใช้ ซึ่งเราคนไทยล้วนใช้สนทนาอย่างเป็นปกติในชีวิตประจำวัน เช่น เก้าอี้, ก๋วยเตี๋ยว, กวยจั๊บ เป็นต้น

หรือหากมองให้ละเอียดลึกซึ้ง มองให้กว้างไกลและรอบด้าน เราย่อมมองเห็นการถ่ายโอนวัฒนธรรมทางสายเลือดจากจีนสู่ไทย ด้วยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระมหากษัตริย์ไทย พระเจ้ากรุงธนบุรี ก็มีพ่อเป็นชาวจีน เป็นพ่อค้าชื่อนายไหฮอง ที่เข้ามาทำการค้าในแผ่นดินสยามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

การศึกษาประวัติศาสตร์ในหลากหลายมิติล้วนเป็นการเพิ่มพูนความรู้ และทำให้เราเข้าใจประวัติศาสตร์อย่างรอบด้าน ในหลายมิติมากขึ้น การศึกษาผ่านภูมิศาสตร์วัฒนธรรมก็เช่นกัน เพราะภูมิศาสตร์คือปัจจัยสำคัญยิ่งในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาประเทศที่ดียิ่งขึ้น เช่น เมื่อศึกษาภูมิศาสตร์กายภาพ อันเป็นส่วนหนึ่งของภูมิศาสตร์วัฒนธรรม ย่อมทำให้เข้าใจเรื่องการตั้งถิ่นฐาน ว่าเหตุใดจึงต้องตั้งอยู่บนที่สูง สาเหตุสำคัญคือเพื่อป้องกันน้ำท่วม แต่อย่างไรก็ตาม คนเราต้องอยู่กับน้ำ ขาดน้ำไม่ได้ ดังนั้นสูงเกินไปก็ไม่เหมาะสม จึงจำเป็นต้องอยู่ในที่ราบลุ่ม ที่ไม่สูงเกินไปจนขาดแคลนน้ำ แต่ก็ไม่อยู่ใกล้น้ำเกินไปจนเป็นอันตราย

มนุษย์ทั่วโลกจึงผูกพันกับริมฝั่งน้ำ เช่นเดียวกับแผ่นดินไทย น้ำคือวิถีชีวิตของชาวไทย การสถาปนาราชธานีแต่ละแห่งต้องคำนึงเรื่องสายน้ำที่รายล้อมเป็นสำคัญ จึงเกิดวัฒนธรรมการปลูกบ้านเรือนแบบใต้ถุนสูง เพื่อป้องกันในยามน้ำท่วม หรือการเพาะปลูกในนาก็จะใช้พันธุ์ข้าวที่ยึดตามน้ำ ดังนั้นภูมิศาสตร์จึงเป็นสาระสำคัญที่ทำให้ประชาชนดำรงชีวิตอยู่ได้

การศึกษาภูมิศาสตร์วัฒนธรรมจึงทำให้ได้เรียนรู้วัฒนธรรมต่าง ๆ ที่ถือกำเนิดขึ้นโดยมีเหตุปัจจัยจากภูมิศาสตร์ แต่สิ่งสำคัญนอกเหนือจากการได้เรียนรู้วัฒนธรรม คือการได้เรียนรู้ว่าวัฒนธรรมเหล่านี้ทำให้ผู้คนดำรงชีวิต เอาตัวรอดจากภัยธรรมชาติอันไม่สามารถหยุดยั้งได้อย่างไร และนี่คือหลักใหญ่ใจความของการศึกษาภูมิศาสตร์วัฒนธรรม


รายการอ้างอิง

วิชัย ศรีคำ. ศาสตราจารย์. ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาภูมิศาสตร์ สาขาวิชาภูมิศาสตร์มนุษย์. สัมภาษณ์. 12 มีนาคม 2563.

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

เรื่องเล่าจากละคร

การถ่ายโอนวัฒนธรรมจากจีนสู่ไทย

และคุณค่าของภูมิศาสตร์วัฒนธรรม

เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย

เมื่อมองตัวละครเชื้อชาติต่าง ๆ นอกเหนือจากชาวไทยแท้ ๆ ผ่านละครเรื่องปลายจวัก ย่อมไม่มีทางมองข้ามตัวละครสำคัญอย่างพ่อสิน คู่ปรับและคู่แท้ตลอดกาลของแม่วาดไปได้ เพราะความมีสายเลือดจีนนี้เอง แม่วาดจึงคอยค่อนขอดชายหนุ่มอยู่บ่อยครั้ง พ่อสินมิใช่คนจีนคนแรกที่เข้ามาในแผ่นดินสยามอย่างแน่นอน เมื่อศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ย่อมเป็นที่รู้กันว่าจีนเข้ามายังสยามประเทศมานานแล้ว นานจนเกิดการถ่ายโอนวัฒนธรรมจากจีนสู่ไทย ซึ่งยังมีให้เห็นถึงปัจจุบันมิได้ย่อหย่อนไปกว่าวัฒนธรรมตะวันตกเลย

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้รับสมญานามว่า “กษัตริย์เจ้าสัว” สืบเนื่องมาจากพระราชกรณียกิจสำคัญของพระองค์ คือการทำการค้ากับจีนจนเศรษฐกิจของสยามในรัชสมัยพระองค์เฟื่องฟู รุ่งเรืองอย่างยิ่ง มีการซื้อขายเรือสำเภากับจีน ส่วนชาวจีนก็ล่องเรือสำเภามายังสยามด้วยการซื้อสินค้าต่าง ๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของไทย ทั้งข้าว ไม้สัก สิ่งทอ ผ้าไหม เครื่องเงิน เครื่องทอ เป็นต้น

ทั้งนี้ ในการบรรทุกสินค้าไปขายที่เมืองจีน ซึ่งต้องเดินทางด้วยเรือสำเภานั้น การเดินทางไปไม่มีปัญหา เพราะเรือบรรทุกสินค้ามากมาย แต่เวลากลับซึ่งภายในเรือไม่มีสินค้าใด ๆ แล้ว เพื่อไม่ให้เรือโคลงเคลง จึงได้มีการซื้อตุ๊กตาหินของจีนมาบรรทุกแทน เพื่อถ่วงน้ำหนักเรือไม่ให้โคลงเคลง วิธีการเช่นนี้เรียกว่า “อับเฉา” ครั้นกลับมาถึงสยาม ตุ๊กตาเหล่านั้นก็ถูกนำไปประดับตามวัดวาอารามต่าง ๆ เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ โดยตุ๊กตาที่ทำหน้าที่อับเฉาเหล่านั้นมีลักษณะสำคัญคือรูปร่างคล้ายคนแก่จีน มีหนวดเคราอันสื่อให้รู้ว่านี่คือคนจีนแท้

อารยธรรมจากจีนหลายประการที่ถูกถ่ายโอนมายังแผ่นดินไทย แล้วได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย เช่น ด้านการคำนวณ มีลูกคิดที่ใช้คำนวณราคาสินค้า หรือใช้คิดเลข มีเครื่องชั่งที่ทำจากลูกตุ้ม รวมทั้งที่ปรากฏในวงกว้างอย่างชัดเจนคือภาษาจีนนั่นเอง ปัจจุบันคำไทยหลายคำยืมคำภาษาจีนมาใช้ ซึ่งเราคนไทยล้วนใช้สนทนาอย่างเป็นปกติในชีวิตประจำวัน เช่น เก้าอี้, ก๋วยเตี๋ยว, กวยจั๊บ เป็นต้น

หรือหากมองให้ละเอียดลึกซึ้ง มองให้กว้างไกลและรอบด้าน เราย่อมมองเห็นการถ่ายโอนวัฒนธรรมทางสายเลือดจากจีนสู่ไทย ด้วยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระมหากษัตริย์ไทย พระเจ้ากรุงธนบุรี ก็มีพ่อเป็นชาวจีน เป็นพ่อค้าชื่อนายไหฮอง ที่เข้ามาทำการค้าในแผ่นดินสยามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

การศึกษาประวัติศาสตร์ในหลากหลายมิติล้วนเป็นการเพิ่มพูนความรู้ และทำให้เราเข้าใจประวัติศาสตร์อย่างรอบด้าน ในหลายมิติมากขึ้น การศึกษาผ่านภูมิศาสตร์วัฒนธรรมก็เช่นกัน เพราะภูมิศาสตร์คือปัจจัยสำคัญยิ่งในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาประเทศที่ดียิ่งขึ้น เช่น เมื่อศึกษาภูมิศาสตร์กายภาพ อันเป็นส่วนหนึ่งของภูมิศาสตร์วัฒนธรรม ย่อมทำให้เข้าใจเรื่องการตั้งถิ่นฐาน ว่าเหตุใดจึงต้องตั้งอยู่บนที่สูง สาเหตุสำคัญคือเพื่อป้องกันน้ำท่วม แต่อย่างไรก็ตาม คนเราต้องอยู่กับน้ำ ขาดน้ำไม่ได้ ดังนั้นสูงเกินไปก็ไม่เหมาะสม จึงจำเป็นต้องอยู่ในที่ราบลุ่ม ที่ไม่สูงเกินไปจนขาดแคลนน้ำ แต่ก็ไม่อยู่ใกล้น้ำเกินไปจนเป็นอันตราย

มนุษย์ทั่วโลกจึงผูกพันกับริมฝั่งน้ำ เช่นเดียวกับแผ่นดินไทย น้ำคือวิถีชีวิตของชาวไทย การสถาปนาราชธานีแต่ละแห่งต้องคำนึงเรื่องสายน้ำที่รายล้อมเป็นสำคัญ จึงเกิดวัฒนธรรมการปลูกบ้านเรือนแบบใต้ถุนสูง เพื่อป้องกันในยามน้ำท่วม หรือการเพาะปลูกในนาก็จะใช้พันธุ์ข้าวที่ยึดตามน้ำ ดังนั้นภูมิศาสตร์จึงเป็นสาระสำคัญที่ทำให้ประชาชนดำรงชีวิตอยู่ได้

การศึกษาภูมิศาสตร์วัฒนธรรมจึงทำให้ได้เรียนรู้วัฒนธรรมต่าง ๆ ที่ถือกำเนิดขึ้นโดยมีเหตุปัจจัยจากภูมิศาสตร์ แต่สิ่งสำคัญนอกเหนือจากการได้เรียนรู้วัฒนธรรม คือการได้เรียนรู้ว่าวัฒนธรรมเหล่านี้ทำให้ผู้คนดำรงชีวิต เอาตัวรอดจากภัยธรรมชาติอันไม่สามารถหยุดยั้งได้อย่างไร และนี่คือหลักใหญ่ใจความของการศึกษาภูมิศาสตร์วัฒนธรรม


รายการอ้างอิง

วิชัย ศรีคำ. ศาสตราจารย์. ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาภูมิศาสตร์ สาขาวิชาภูมิศาสตร์มนุษย์. สัมภาษณ์. 12 มีนาคม 2563.

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย