วิวัฒนาการของบ้านทรงไทย

ออกอากาศ26 พ.ย. 62

เรื่องเล่าจากละคร

วิวัฒนาการของบ้านทรงไทย

เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย

เสน่ห์สำคัญอีกประการหนึ่งของละครย้อนยุคคือฉากหลัง ไม่ว่าจะกี่เรื่องต่อกี่เรื่อง สิ่งที่ผู้ชมคาดหวัง หรือตั้งหน้าตั้งตารอคอยที่จะสัมผัสจากละครย้อนยุคแต่ละเรื่อง คือการรังสรรค์ฉากท้องเรื่อง สถานที่ สถาปัตยกรรมต่าง ๆ ได้วิจิตรตระการตา มากกว่าความวิจิตรคือความสมจริง ถูกต้อง และทำให้ผู้ชมเห็นภาพความเป็นอยู่ ครัวเรือนต่าง ๆ ในยุคสมัยนั้น ๆ ละครเรื่องปลายจวักก็เช่นกัน ความพิถีพิถันของผู้จัดทำ ทำให้ผู้ชมมองเห็นสถาปัตยกรรม หรือจิตรกรรมที่เลอค่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ว่าจะวังหลวง เรือนคหบดี บ้านเรือนชาวบ้านธรรมดา ก็ล้วนเห็นได้ชัดจากละครพีเรียดเรื่องนี้

การศึกษาวิวัฒนาการของเรือนไทย หรือบ้านทรงไทย ไม่เพียงแต่เป็นการเพิ่มพูนความรู้ด้านสถาปัตยกรรมเท่านั้น พอหากได้รู้แค่กรรมวิธีการก่อสร้างก็ดูจะแคบเกินไป เพราะมิใช่ทุกคนที่อยากเป็นสถาปนิก มิใช่ทุกคนที่สนใจใคร่รู้เรื่องสิ่งปลูกสร้างนี้ ทว่าหากสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวสามารถสะท้อนถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ดินฟ้าอากาศของสถานที่นั้น ๆ ย่อมถือเป็นแหล่งวิทยาทานอันล้ำค่า เช่นเดียวกับการศึกษาวิวัฒนาการบ้านทรงไทย

วิวัฒนาการของเรือนไทยเริ่มต้นมาจากเรือนเครื่องผูก คือการสร้างบ้านโดยเอาไม้ไผ่มาสร้างมุงหลังคาจาก ผูกมัดด้วยตอกหวายคล้ายกระท่อม ยกพื้นสูง นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังใช้มาปูเป็นพื้น หรือที่เรียกว่าฟาก จนก่อเกิดเป็นสำนวน “ตกฟาก” อันหมายถึง เกิดบนฟากนั่นเอง จากเรือนเครื่องผูก จึงพัฒนาการเป็นเรือนถาวร เรือนไม้สัก เรือนไม้จริง เรือนไม้แดง เรือนใต้ถุนสูง เป็นต้น

สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ย่อมถือเป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบสร้างเป็นเรือนไทย ดังเช่น ภาคกลางที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ จึงนิยมสร้างเรือนใต้ถุนสูง เพื่อป้องกันน้ำท่วม เพราะฝนตกอย่างสม่ำเสมอจึงมีการสร้างหลังคาจั่วที่ป้องกันสายฝนได้ดี มีชานประกอบสำหรับการนั่งเล่นรับลม หรือในห้องครัว ก็ภูมิปัญญาในการออกแบบเป็นครัวลักษณะพิเศษ ปูพื้นโดยใช้ไม่แผ่นเล็ก ๆ ตอกตะปู เว้นระยะให้มีร่อง เพื่อให้น้ำไหลได้สะดวก มีการออกแบบจั่วพระอาทิตย์ จั่วลักษณะพิเศษที่ใช้ในการระบายลมสำหรับห้องครัวโดยเฉพาะ ฉะนั้นแล้วชาวไทยในอดีต ทุกคราวที่ทำผัดกะเพรา ทำผัดพริกแกง หรือประกอบอาหารรสจัดใด ๆ ย่อมไม่ต้องกังวลใจว่าจะประสบกับกลิ่นหอมฉุนรุนแรงจนทนไม่ไหว หรือไม่น่าอภิรมย์

เรือนใต้ถุนสูงนั้นมิได้ตอบโจทย์ความเป็นอยู่ของชาวไทยเฉพาะด้านภูมิศาสตร์ สภาพอากาศเท่านั้น แต่ยิ่งไปกว่านั้นยังสอดคล้องกับวิถีชีวิตไทย ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก บ้างจึงใช้ใต้ถุนเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจในช่วงกลางวัน หรือหากใครเลี้ยงสัตว์ ใต้ถุนนี้ก็เป็นที่อยู่อาศัยชั้นเลิศของสัตว์น้อยใหญ่เหล่านั้น สภาพอากาศ การประกอบอาชีพ ทุกสิ่งเหล่านี้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสรรค์สร้างเรือนไทย

เมื่อมองในด้านการสร้างครอบครัว สังคมไทยนิยมอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ ซึ่งเป็นกันทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย คือมีตั้งแต่ปู่ย่าตายาย ไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน การออกแบบเรือนไทยย่อมเอื้อต่อการสร้างครอบครัวเช่นนี้ ดังนั้นเรือนไทยจึงมีลักษณะเป็นเรือนขยาย เมื่อลูกหลานออกเรือนก็มีการสร้างเรือนเพิ่มในละแวกเดียวกัน จนกลายเป็นเรือนหลายหลัง ตัวอย่างลักษณะเรือนขยายเช่นนี้ที่มีชื่อเสียงคือพระตำหนักทับขวัญ จังหวัดนครปฐม พระตำหนักแห่งนี้คือหลักฐานชั้นเลิศที่อยู่ยงมาถึงปัจจุบันให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและเรียนรู้

วิถีชีวิตของชาวไทยอีกหนึ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้ คือวิถีชีวิตริมแม่น้ำลำคลอง ริมตลิ่ง ที่ถือเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสายน้ำอย่างสยามประเทศ ดังนั้นจึงมีการออกแบบเรือนแพ ซึ่งเป็นเรือนที่ตั้งอยู่ริมน้ำ เหมาะแก่วิถีชีวิตดังกล่าวนั่นเอง เรือนแพที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นภาพยนตร์ หรือละครดัง เรือนแพที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นบทเพลงอมตะอันคุ้นหูชาวไทย “เรือนแพสุขจริง อิงกระแสธารา” ด้วยยุคสมัย กาลเวลาที่เปลี่ยนไป ปัจจุบันนี้จึงย่อมหาได้ยาก อาจมีพบบ้างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, อุทัยธานี หรือนครสวรรค์ แต่ก็มีน้อยเต็มที

การศึกษาเรื่องราวของวิวัฒนาการเรือนไทย นอกจากทำให้รู้เรื่องสถาปัตยกรรม รู้เรื่องวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเป็นยุคของคนรุ่นเก่าแล้ว ยังทำให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้วัฒนธรรมของชาติเรา รากเหง้าที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ จนส่งต่อมาเป็นตัวเราถึงทุกวันนี้ แต่มากไปกว่าความภาคภูมิใจ การได้เรียนรู้ความเฟื่องฟูของเรือนไทย จนกระทั่งเริ่มซบเซา ตามด้วยการมาของสถาปัตยกรรมตะวันตก จึงยิ่งทำให้เราเข้าใจถึงสัจธรรม ว่าเมื่อมีเกิดขึ้น มีตั้งอยู่ ย่อมต้องมีดับไป อาจเป็นความจริงที่ทุกคนต้องยอมรับ และการศึกษาวิวัฒนาการของบ้านทรงไทย ย่อมทำให้ยิ่งตระหนักถึงสัจธรรมที่ได้เป็นอย่างดี


รายการอ้างอิง

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. ศาสตราจารย์. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาจิตรกรรม. สัมภาษณ์. 5 มีนาคม 2563.

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

เรื่องเล่าจากละคร

วิวัฒนาการของบ้านทรงไทย

เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย

เสน่ห์สำคัญอีกประการหนึ่งของละครย้อนยุคคือฉากหลัง ไม่ว่าจะกี่เรื่องต่อกี่เรื่อง สิ่งที่ผู้ชมคาดหวัง หรือตั้งหน้าตั้งตารอคอยที่จะสัมผัสจากละครย้อนยุคแต่ละเรื่อง คือการรังสรรค์ฉากท้องเรื่อง สถานที่ สถาปัตยกรรมต่าง ๆ ได้วิจิตรตระการตา มากกว่าความวิจิตรคือความสมจริง ถูกต้อง และทำให้ผู้ชมเห็นภาพความเป็นอยู่ ครัวเรือนต่าง ๆ ในยุคสมัยนั้น ๆ ละครเรื่องปลายจวักก็เช่นกัน ความพิถีพิถันของผู้จัดทำ ทำให้ผู้ชมมองเห็นสถาปัตยกรรม หรือจิตรกรรมที่เลอค่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ว่าจะวังหลวง เรือนคหบดี บ้านเรือนชาวบ้านธรรมดา ก็ล้วนเห็นได้ชัดจากละครพีเรียดเรื่องนี้

การศึกษาวิวัฒนาการของเรือนไทย หรือบ้านทรงไทย ไม่เพียงแต่เป็นการเพิ่มพูนความรู้ด้านสถาปัตยกรรมเท่านั้น พอหากได้รู้แค่กรรมวิธีการก่อสร้างก็ดูจะแคบเกินไป เพราะมิใช่ทุกคนที่อยากเป็นสถาปนิก มิใช่ทุกคนที่สนใจใคร่รู้เรื่องสิ่งปลูกสร้างนี้ ทว่าหากสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวสามารถสะท้อนถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ดินฟ้าอากาศของสถานที่นั้น ๆ ย่อมถือเป็นแหล่งวิทยาทานอันล้ำค่า เช่นเดียวกับการศึกษาวิวัฒนาการบ้านทรงไทย

วิวัฒนาการของเรือนไทยเริ่มต้นมาจากเรือนเครื่องผูก คือการสร้างบ้านโดยเอาไม้ไผ่มาสร้างมุงหลังคาจาก ผูกมัดด้วยตอกหวายคล้ายกระท่อม ยกพื้นสูง นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังใช้มาปูเป็นพื้น หรือที่เรียกว่าฟาก จนก่อเกิดเป็นสำนวน “ตกฟาก” อันหมายถึง เกิดบนฟากนั่นเอง จากเรือนเครื่องผูก จึงพัฒนาการเป็นเรือนถาวร เรือนไม้สัก เรือนไม้จริง เรือนไม้แดง เรือนใต้ถุนสูง เป็นต้น

สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ย่อมถือเป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบสร้างเป็นเรือนไทย ดังเช่น ภาคกลางที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ จึงนิยมสร้างเรือนใต้ถุนสูง เพื่อป้องกันน้ำท่วม เพราะฝนตกอย่างสม่ำเสมอจึงมีการสร้างหลังคาจั่วที่ป้องกันสายฝนได้ดี มีชานประกอบสำหรับการนั่งเล่นรับลม หรือในห้องครัว ก็ภูมิปัญญาในการออกแบบเป็นครัวลักษณะพิเศษ ปูพื้นโดยใช้ไม่แผ่นเล็ก ๆ ตอกตะปู เว้นระยะให้มีร่อง เพื่อให้น้ำไหลได้สะดวก มีการออกแบบจั่วพระอาทิตย์ จั่วลักษณะพิเศษที่ใช้ในการระบายลมสำหรับห้องครัวโดยเฉพาะ ฉะนั้นแล้วชาวไทยในอดีต ทุกคราวที่ทำผัดกะเพรา ทำผัดพริกแกง หรือประกอบอาหารรสจัดใด ๆ ย่อมไม่ต้องกังวลใจว่าจะประสบกับกลิ่นหอมฉุนรุนแรงจนทนไม่ไหว หรือไม่น่าอภิรมย์

เรือนใต้ถุนสูงนั้นมิได้ตอบโจทย์ความเป็นอยู่ของชาวไทยเฉพาะด้านภูมิศาสตร์ สภาพอากาศเท่านั้น แต่ยิ่งไปกว่านั้นยังสอดคล้องกับวิถีชีวิตไทย ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก บ้างจึงใช้ใต้ถุนเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจในช่วงกลางวัน หรือหากใครเลี้ยงสัตว์ ใต้ถุนนี้ก็เป็นที่อยู่อาศัยชั้นเลิศของสัตว์น้อยใหญ่เหล่านั้น สภาพอากาศ การประกอบอาชีพ ทุกสิ่งเหล่านี้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสรรค์สร้างเรือนไทย

เมื่อมองในด้านการสร้างครอบครัว สังคมไทยนิยมอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ ซึ่งเป็นกันทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย คือมีตั้งแต่ปู่ย่าตายาย ไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน การออกแบบเรือนไทยย่อมเอื้อต่อการสร้างครอบครัวเช่นนี้ ดังนั้นเรือนไทยจึงมีลักษณะเป็นเรือนขยาย เมื่อลูกหลานออกเรือนก็มีการสร้างเรือนเพิ่มในละแวกเดียวกัน จนกลายเป็นเรือนหลายหลัง ตัวอย่างลักษณะเรือนขยายเช่นนี้ที่มีชื่อเสียงคือพระตำหนักทับขวัญ จังหวัดนครปฐม พระตำหนักแห่งนี้คือหลักฐานชั้นเลิศที่อยู่ยงมาถึงปัจจุบันให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและเรียนรู้

วิถีชีวิตของชาวไทยอีกหนึ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้ คือวิถีชีวิตริมแม่น้ำลำคลอง ริมตลิ่ง ที่ถือเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสายน้ำอย่างสยามประเทศ ดังนั้นจึงมีการออกแบบเรือนแพ ซึ่งเป็นเรือนที่ตั้งอยู่ริมน้ำ เหมาะแก่วิถีชีวิตดังกล่าวนั่นเอง เรือนแพที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นภาพยนตร์ หรือละครดัง เรือนแพที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นบทเพลงอมตะอันคุ้นหูชาวไทย “เรือนแพสุขจริง อิงกระแสธารา” ด้วยยุคสมัย กาลเวลาที่เปลี่ยนไป ปัจจุบันนี้จึงย่อมหาได้ยาก อาจมีพบบ้างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, อุทัยธานี หรือนครสวรรค์ แต่ก็มีน้อยเต็มที

การศึกษาเรื่องราวของวิวัฒนาการเรือนไทย นอกจากทำให้รู้เรื่องสถาปัตยกรรม รู้เรื่องวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเป็นยุคของคนรุ่นเก่าแล้ว ยังทำให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้วัฒนธรรมของชาติเรา รากเหง้าที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ จนส่งต่อมาเป็นตัวเราถึงทุกวันนี้ แต่มากไปกว่าความภาคภูมิใจ การได้เรียนรู้ความเฟื่องฟูของเรือนไทย จนกระทั่งเริ่มซบเซา ตามด้วยการมาของสถาปัตยกรรมตะวันตก จึงยิ่งทำให้เราเข้าใจถึงสัจธรรม ว่าเมื่อมีเกิดขึ้น มีตั้งอยู่ ย่อมต้องมีดับไป อาจเป็นความจริงที่ทุกคนต้องยอมรับ และการศึกษาวิวัฒนาการของบ้านทรงไทย ย่อมทำให้ยิ่งตระหนักถึงสัจธรรมที่ได้เป็นอย่างดี


รายการอ้างอิง

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. ศาสตราจารย์. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาจิตรกรรม. สัมภาษณ์. 5 มีนาคม 2563.

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย