ผลกระทบจากการเลิกทาส

ออกอากาศ16 พ.ย. 62

เรื่องเล่าจากละคร

ผลกระทบจากการเลิกทาส

เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย

การเลิกทาส สำเร็จในสยามประเทศสำเร็จลุล่วงโดยดีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับทาสอย่างยายพัด หรือนางหนุ่ย ในละครเรื่องปลายจวัก จะเลิกทาส หรือไม่เลิกทาส ชีวิตของทั้งสองก็ยังคงดีดังเดิม เพราะเมื่อครั้งเป็นทาสก็ได้นายที่ดีอย่างคุณนายช้อยและคุณทองสำลี แต่สำหรับทาสคนอื่น ๆ ที่มีนายผู้ไร้ซึ่งความยุติธรรม ก็คงเป็นโชคดีมหาศาลกับพวกเขา กระแสในเรื่องการเลิกทาสนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผ่านการรับรู้ข่าวสารจากโลกภายนอก เช่น การเลิกทาสในสหรัฐอเมริกาโดยอับราฮัม ลินคอล์น เป็นผู้ปลดปล่อยทาสทั้งปวงให้เป็นไท รวมทั้งการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเล่าเรียนภาษาอังกฤษจากแหม่มแอนนา จึงได้รับแนวคิดเรื่องการเลิกทาสจากแหม่มผู้นี้ด้วยเช่นกัน นี่จึงกลายเป็นพระราชปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระองค์

สาเหตุใหญ่ ๆ แห่งการเลิกทาสนั้น นอกจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงมีพระราชประสงค์ให้คนไทยมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันแล้ว ยังมีเหตุผลอื่นที่สำคัญคือการเปลี่ยนสยามประเทศให้เท่าทันอารยประเทศ ประเทศมหาอำนาจจะได้ไม่หาเหตุมาล่าอาณานิคมสยามได้ รวมทั้งเหตุผลทางเศรษฐกิจที่ต้องการแรงงานเสรีเพิ่มขึ้นอันเกิดจากสนธิสัญญาเบาว์ริง และสอดคล้องกับระบบการขยายงานของระบบบริหารราชการสมัยใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น

ดังนั้น ทันทีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชสมบัติเมื่อมีพระชนมายุ 20 พรรษา ก็ทรงมีพระราชดำริที่จะเลิกทาสโดยปรึกษากับสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ซึ่งเป็นผู้หลักผู้ใหญ่คนสำคัญในสมัยนั้นจากการประชุมปรึกษาถึงเรื่องพระราชปรารภแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงการเลิกทาส เพราะทั้งพระองค์และข้าราชการผู้ใหญ่ทั้งปวงล้วนตระหนักเช่นเดียวกันว่าการเลิกทาสนั้นถือเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ ต้องใช้เวลานานพอสมควร และกระทำด้วยวิธีอันละมุนละม่อม ใช้กุศโลบายในการผ่อนสั้นผ่อนยาว เพราะจากการศึกษาการเลิกทาสในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการกระทำอย่างบุ่มบ่ามกะทันหัน จึงเป็นชนวนแห่งการอุบัติสงครามกลางเมืองขึ้นระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ การรบราฆ่าฟันกันเองของสหรัฐอเมริกาในครั้งนั้นทำให้เสียเลือดและเกิดความสูญเสียอย่างมหาศาลตามมา

ผลแห่งพระราชอุตสาหะและพระราชหฤทัยเย็นที่รอเวลาอันเหมาะสม ในที่สุดพระราโชบายการเลิกทาสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก็ได้รับการสนับสนุนมากขึ้นตามลำดับ และในที่สุดก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติทาส บังคับใช้ในราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2448 เป็นต้นไป ความสำคัญในพระราชบัญญัติดังกล่าวมีดังต่อไปนี้

  1. ยกเลิกพิกัดเกษียณอายุทาส ให้บรรดาลูกทาสเป็นไทยทั้งหมด ผู้ที่เป็นทาสอยู่ให้ลดค่าตัวลงเดือนละ 4 บาทจนกว่าจะหมด ถ้ามีการเปลี่ยนนายเงิน ห้ามเพิ่มค่าตัวขึ้นอีก
  2. ห้ามซื้อขายทาสอีกต่อไป ผู้ฝ่าฝืนจะต้องรับโทษทางอาญา
  3. ประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา ร.ศ.127 กำหนดโทษการซื้อขายทาสว่าเป็นความผิดต้องจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 100 บาท ถึง 1,000 บาท กฎหมายนี้จึงช่วยให้ทาสลดน้อยลงและหมดไปอย่างรวดเร็ว

เมื่อทรงไม่โปรดให้เกิดโศกนาฏกรรมเช่นนี้กับพสกนิกรชาวสยาม ด้วยพระราชหฤทัยอันแน่วแน่และพระราชอุตสาหะของพระองค์ จึงต้องใช้เวลาถึง 30 ปี กว่าทาสคนสุดท้ายจะได้รับการปลดปล่อยและจบสิ้นการมีทาสในสยามประเทศสมตามพระราชปณิธานที่ได้ทรงตั้งไว้ ไม่มีการต่อต้าน หรือเกิดสงคราม เพราะทุกฝ่ายต่างได้เตรียมตัวในเรื่องนี้มาเป็นอย่างดี ทั้งนายที่กำลังจะขาดทาสก็ต้องเตรียมตัว ทั้งทาสที่กำลังจะเป็นไทก็ต้องเตรียมตัว หากเปรียบการเลิกทาสในสยามประเทศเป็นชัยชนะแห่งสยามก็ถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ต้องทำการรบราฆ่าฟัน หรือสูญเสียเลือดเนื้อใด ๆ ทั้งสิ้น

ผลกระทบจากการเลิกทาสจึงเป็นไปในทิศทางที่ดีสมดังพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเรื่องน่าแปลกและน่าอัศจรรย์ใจคือเมื่อหลังจากการเลิกทาสในสยามประเทศ ทาสก็กลืนหายไปจากสังคม เพราะเมื่อผ่านไปหลายสิบปี ไม่มีการรับรู้ว่าประชาชนคนใดมีบรรพบุรุษเป็นทาส ต่างจากบางประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ที่มีการเรียกกลุ่มคนที่เป็นทาส หรือมีบรรพบุรุษเป็นทาสว่า “เอตะฮินิง” ซึ่งแปลตามรากศัพท์ได้ว่า คนที่ไม่ใช่คน อันหมายถึงคนชั้นต่ำ หรือนอกชนชั้น แม้ประเทศญี่ปุ่นจะเลิกทาสตั้งแต่ยุคเมจิ แต่ในสมัยหลังพวกที่มีเชื้อสายเอตะฮินิงก็ยังไม่ได้รับการยอมรับอยู่ดี ผู้คนตะขิดตะขวงว่าคนเหล่านี้มีบรรพบุรุษเป็นทาส ไปสมัครที่ใดก็ล้วนน่ารังเกียจ

ขณะที่ในประเทศไทย เมื่อไม่สามารถสืบต้นตอได้ว่าครอบครัวใดมีบรรพบุรุษเป็นทาสมาก่อน ทาสจึงหายไปจากสังคมไทยอย่างน่าอัศจรรย์ใจ พระราชกรณียกิจในครั้งนี้ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระพุทธเจ้าหลวง จึงถือได้ว่าสำเร็จลุล่วงโดยดี ไม่มีปัญหาใดเกิดขึ้นตามมา ทาสหายไปจากบ้านเมือง ทุกคนล้วนเป็นอิสระกันถ้วนหน้า

ถึงแม้ว่าทาสจะหายไปจากสังคมไทยผ่านการปลดปล่อย หรือการเลิกทาสตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว แต่เมื่อพิจารณาจากความหมายของคำว่า “ทาส” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้อีกความหมายหนึ่งไว้คือ

“ผู้ที่ยอมตนให้ตกอยู่ในอำนาจของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ในด้านดีที่น่าเลื่อมใสศรัทธา เช่น ทาสความรู้
แต่ที่น่าแปลกคือในด้านร้ายอย่าง ทาสน้ำเงิน, ทาสน้ำเมา หรือ ทาสยาเสพติด
เหตุใดคนเราจึงยอมได้ถึงเพียงนั้น ทั้งที่ทาสก็ถูกปลดปล่อยไปร่วมร้อยปีแล้ว ?

รายการอ้างอิง

  • ธิดา สาระยา. (2561). พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ-เจ้าแผ่นดินสยาม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
  • ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
  • วัฒน์ระวี (นามแฝง). (2552). แผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง กับความทรงจำแห่งรัชสมัย. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
  • วิชัย ศรีคำ, ศาสตราจารย์. สัมภาษณ์, 27 กุมภาพันธ์ 2563.
  • วุฒิชัย มูลศิลป์, รองศาสตราจารย์. สัมภาษณ์, 13 กุมภาพันธ์ 2563.
  • ส.พลายน้อย (นามแฝง). (2553). พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ พระปิยมหาราช. กรุงเทพฯ: พิมพ์คำสำนักพิมพ์.

เรื่องเล่าจากละคร

ผลกระทบจากการเลิกทาส

เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย

การเลิกทาส สำเร็จในสยามประเทศสำเร็จลุล่วงโดยดีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับทาสอย่างยายพัด หรือนางหนุ่ย ในละครเรื่องปลายจวัก จะเลิกทาส หรือไม่เลิกทาส ชีวิตของทั้งสองก็ยังคงดีดังเดิม เพราะเมื่อครั้งเป็นทาสก็ได้นายที่ดีอย่างคุณนายช้อยและคุณทองสำลี แต่สำหรับทาสคนอื่น ๆ ที่มีนายผู้ไร้ซึ่งความยุติธรรม ก็คงเป็นโชคดีมหาศาลกับพวกเขา กระแสในเรื่องการเลิกทาสนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผ่านการรับรู้ข่าวสารจากโลกภายนอก เช่น การเลิกทาสในสหรัฐอเมริกาโดยอับราฮัม ลินคอล์น เป็นผู้ปลดปล่อยทาสทั้งปวงให้เป็นไท รวมทั้งการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเล่าเรียนภาษาอังกฤษจากแหม่มแอนนา จึงได้รับแนวคิดเรื่องการเลิกทาสจากแหม่มผู้นี้ด้วยเช่นกัน นี่จึงกลายเป็นพระราชปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระองค์

สาเหตุใหญ่ ๆ แห่งการเลิกทาสนั้น นอกจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงมีพระราชประสงค์ให้คนไทยมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันแล้ว ยังมีเหตุผลอื่นที่สำคัญคือการเปลี่ยนสยามประเทศให้เท่าทันอารยประเทศ ประเทศมหาอำนาจจะได้ไม่หาเหตุมาล่าอาณานิคมสยามได้ รวมทั้งเหตุผลทางเศรษฐกิจที่ต้องการแรงงานเสรีเพิ่มขึ้นอันเกิดจากสนธิสัญญาเบาว์ริง และสอดคล้องกับระบบการขยายงานของระบบบริหารราชการสมัยใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น

ดังนั้น ทันทีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชสมบัติเมื่อมีพระชนมายุ 20 พรรษา ก็ทรงมีพระราชดำริที่จะเลิกทาสโดยปรึกษากับสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ซึ่งเป็นผู้หลักผู้ใหญ่คนสำคัญในสมัยนั้นจากการประชุมปรึกษาถึงเรื่องพระราชปรารภแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงการเลิกทาส เพราะทั้งพระองค์และข้าราชการผู้ใหญ่ทั้งปวงล้วนตระหนักเช่นเดียวกันว่าการเลิกทาสนั้นถือเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ ต้องใช้เวลานานพอสมควร และกระทำด้วยวิธีอันละมุนละม่อม ใช้กุศโลบายในการผ่อนสั้นผ่อนยาว เพราะจากการศึกษาการเลิกทาสในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการกระทำอย่างบุ่มบ่ามกะทันหัน จึงเป็นชนวนแห่งการอุบัติสงครามกลางเมืองขึ้นระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ การรบราฆ่าฟันกันเองของสหรัฐอเมริกาในครั้งนั้นทำให้เสียเลือดและเกิดความสูญเสียอย่างมหาศาลตามมา

ผลแห่งพระราชอุตสาหะและพระราชหฤทัยเย็นที่รอเวลาอันเหมาะสม ในที่สุดพระราโชบายการเลิกทาสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก็ได้รับการสนับสนุนมากขึ้นตามลำดับ และในที่สุดก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติทาส บังคับใช้ในราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2448 เป็นต้นไป ความสำคัญในพระราชบัญญัติดังกล่าวมีดังต่อไปนี้

  1. ยกเลิกพิกัดเกษียณอายุทาส ให้บรรดาลูกทาสเป็นไทยทั้งหมด ผู้ที่เป็นทาสอยู่ให้ลดค่าตัวลงเดือนละ 4 บาทจนกว่าจะหมด ถ้ามีการเปลี่ยนนายเงิน ห้ามเพิ่มค่าตัวขึ้นอีก
  2. ห้ามซื้อขายทาสอีกต่อไป ผู้ฝ่าฝืนจะต้องรับโทษทางอาญา
  3. ประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา ร.ศ.127 กำหนดโทษการซื้อขายทาสว่าเป็นความผิดต้องจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 100 บาท ถึง 1,000 บาท กฎหมายนี้จึงช่วยให้ทาสลดน้อยลงและหมดไปอย่างรวดเร็ว

เมื่อทรงไม่โปรดให้เกิดโศกนาฏกรรมเช่นนี้กับพสกนิกรชาวสยาม ด้วยพระราชหฤทัยอันแน่วแน่และพระราชอุตสาหะของพระองค์ จึงต้องใช้เวลาถึง 30 ปี กว่าทาสคนสุดท้ายจะได้รับการปลดปล่อยและจบสิ้นการมีทาสในสยามประเทศสมตามพระราชปณิธานที่ได้ทรงตั้งไว้ ไม่มีการต่อต้าน หรือเกิดสงคราม เพราะทุกฝ่ายต่างได้เตรียมตัวในเรื่องนี้มาเป็นอย่างดี ทั้งนายที่กำลังจะขาดทาสก็ต้องเตรียมตัว ทั้งทาสที่กำลังจะเป็นไทก็ต้องเตรียมตัว หากเปรียบการเลิกทาสในสยามประเทศเป็นชัยชนะแห่งสยามก็ถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ต้องทำการรบราฆ่าฟัน หรือสูญเสียเลือดเนื้อใด ๆ ทั้งสิ้น

ผลกระทบจากการเลิกทาสจึงเป็นไปในทิศทางที่ดีสมดังพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเรื่องน่าแปลกและน่าอัศจรรย์ใจคือเมื่อหลังจากการเลิกทาสในสยามประเทศ ทาสก็กลืนหายไปจากสังคม เพราะเมื่อผ่านไปหลายสิบปี ไม่มีการรับรู้ว่าประชาชนคนใดมีบรรพบุรุษเป็นทาส ต่างจากบางประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ที่มีการเรียกกลุ่มคนที่เป็นทาส หรือมีบรรพบุรุษเป็นทาสว่า “เอตะฮินิง” ซึ่งแปลตามรากศัพท์ได้ว่า คนที่ไม่ใช่คน อันหมายถึงคนชั้นต่ำ หรือนอกชนชั้น แม้ประเทศญี่ปุ่นจะเลิกทาสตั้งแต่ยุคเมจิ แต่ในสมัยหลังพวกที่มีเชื้อสายเอตะฮินิงก็ยังไม่ได้รับการยอมรับอยู่ดี ผู้คนตะขิดตะขวงว่าคนเหล่านี้มีบรรพบุรุษเป็นทาส ไปสมัครที่ใดก็ล้วนน่ารังเกียจ

ขณะที่ในประเทศไทย เมื่อไม่สามารถสืบต้นตอได้ว่าครอบครัวใดมีบรรพบุรุษเป็นทาสมาก่อน ทาสจึงหายไปจากสังคมไทยอย่างน่าอัศจรรย์ใจ พระราชกรณียกิจในครั้งนี้ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระพุทธเจ้าหลวง จึงถือได้ว่าสำเร็จลุล่วงโดยดี ไม่มีปัญหาใดเกิดขึ้นตามมา ทาสหายไปจากบ้านเมือง ทุกคนล้วนเป็นอิสระกันถ้วนหน้า

ถึงแม้ว่าทาสจะหายไปจากสังคมไทยผ่านการปลดปล่อย หรือการเลิกทาสตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว แต่เมื่อพิจารณาจากความหมายของคำว่า “ทาส” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้อีกความหมายหนึ่งไว้คือ

“ผู้ที่ยอมตนให้ตกอยู่ในอำนาจของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ในด้านดีที่น่าเลื่อมใสศรัทธา เช่น ทาสความรู้
แต่ที่น่าแปลกคือในด้านร้ายอย่าง ทาสน้ำเงิน, ทาสน้ำเมา หรือ ทาสยาเสพติด
เหตุใดคนเราจึงยอมได้ถึงเพียงนั้น ทั้งที่ทาสก็ถูกปลดปล่อยไปร่วมร้อยปีแล้ว ?

รายการอ้างอิง

  • ธิดา สาระยา. (2561). พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ-เจ้าแผ่นดินสยาม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
  • ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
  • วัฒน์ระวี (นามแฝง). (2552). แผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง กับความทรงจำแห่งรัชสมัย. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
  • วิชัย ศรีคำ, ศาสตราจารย์. สัมภาษณ์, 27 กุมภาพันธ์ 2563.
  • วุฒิชัย มูลศิลป์, รองศาสตราจารย์. สัมภาษณ์, 13 กุมภาพันธ์ 2563.
  • ส.พลายน้อย (นามแฝง). (2553). พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ พระปิยมหาราช. กรุงเทพฯ: พิมพ์คำสำนักพิมพ์.

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย