"อ่านแล้ว" แต่ "ยังไม่ตอบ" ความเงียบระหว่างบรรทัด ที่มีผลต่อหัวใจ

ออกอากาศ22 ส.ค. 63

หากคุณส่งข้อความไปหาใครสักคนหนึ่ง คุณคาดหวังที่จะได้รับข้อความตอบกลับทันทีหรือเปล่า ? ยิ่งอีกฝ่ายเปิดอ่านข้อความแล้ว แต่ไม่ตอบกลับมา คุณรู้สึกผิดหวังหรือไม่ ?

เปิดบ้านไทยพีบีเอสจึงได้สอบถามเรื่องนี้กับชาวเน็ต ด้วยคำถามที่ว่า "อ่านแล้วไม่ตอบ คุณอยากบอกว่า..." จากคำตอบของคนส่วนใหญ่เห็นได้ชัดว่า เมื่อคู่สนทนาเงียบไป ส่งผลต่อหัวใจของคนที่รอไม่น้อยทีเดียว

คนแรกบอกว่า เจอบ่อยมากกับการอ่านแล้วไม่ตอบ จนเลิกสนใจไปเอง คิดว่าเราคงไม่สำคัญพอที่เขาจะมาตอบ และคิดว่าเขาไม่มีมารยาททางการสื่อสาร

คนที่สองบอกว่า ถ้าทักไปแล้วเขาไม่ตอบ อันดับแรกจะรู้สึกโมโหมาก ๆ หรือบางครั้งจะรู้สึกว่าการที่เขาไม่ตอบเรา แสดงว่าเราอาจทำอะไรผิดแน่ ๆ แต่ก็จะทักต่อไปจนกว่าเขาจะตอบ

คนที่สามบอกว่า การที่อ่านแล้วไม่ตอบ มันก็เป็นคำตอบที่ชัดเจนอยู่แล้ว ไม่ต้องไปหาเหตุผลอื่น

คนที่สี่บอกว่า ที่เขาอ่านแล้วไม่ตอบ เป็นไปได้ว่าเขาอาจอยู่กับคนอื่น หรืออาจจะขับรถ ไม่ก็ติดงาน ฯลฯ แต่ถ้าเราสำคัญจริงเขาต้องตอบกลับมาในเวลาไม่นาน แต่ถ้าต้องรอนานจะบล็อกทิ้ง

ยังมีอีกหลายความรู้สึกที่เข้ามาแลกเปลี่ยนกัน บางคนคิดไปต่าง ๆ นานา ว่าอีกฝ่ายกำลังปิดบังความจริงอยู่ และรู้สึกไม่พอใจที่ไม่ได้รับข้อความตอบกลับทันที เรียกได้ว่า เรื่องนี้สร้างอิทธิพลต่อจิตใจคนในยุคดิจิทัลอย่างมาก ถึงขั้นมีการทำวิจัยเพื่อหาข้อสรุปกันเลยทีเดียว

อย่างเช่นงานวิจัยเรื่อง Reader in Digital Media culture and Communication ของ Tony D. Sampson จากมหาวิทยาลัย East London ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของสื่อดิจิทัลและการสื่อสาร พบว่า เมื่อเราส่งข้อความไปหาอีกฝ่าย แล้วเห็นว่าข้อความถูกเปิดอ่าน แต่ไม่ได้รับข้อความตอบกลับทันที จะมีผลทำให้ฝ่ายที่ส่งข้อความเกิดความรู้สึก 3 ประการ ได้แก่ 1. ความกังวลใจ 2. ความรู้สึกผิด และ 3. ตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำอะไรผิดไปหรือไม่

แล้วทำไมการไม่ได้รับข้อความตอบกลับทันที ถึงมีอิทธิพลต่อหัวใจเรามากมายขนาดนี้ ทีมงานเปิดบ้านไทยพีบีเอสได้มีโอกาสพูดคุยเรื่องนี้กับ นพ. วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น และโฆษกกรมสุขภาพจิต

คุณหมออธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า ความเงียบจากการไม่ได้รับการตอบข้อความกลับ เป็นช่องว่างที่ทำให้คนเราจินตนาการไปเอง เหมือนเวลาที่เรา "กลัวความมืด" มนุษย์มักจิตนาการว่าในที่แห่งนั้นมีสัตว์ร้าย หรือมีสิ่งที่เป็นอันตรายต่อตัวเรา ซึ่งความจริงแล้วในความมืดอาจจะไม่มีอะไรเลวร้ายก็ได้

ช่องว่างระหว่างการสนทนาตรงนี้ ทำให้คนเราเกิดความกลัวและความวิตกกังวล บางคนทักไปหาเพื่อนแล้วเพื่อนอ่านแต่ไม่ตอบข้อความ ทั้ง ๆ ที่ความจริงเพื่อนอาจจะเผลอกดไปเปิดข้อความตอนกำลังขับรถ หรือติดงานอยู่ จึงไม่มีเวลาตอบข้อความกลับในเวลานั้น

แต่เราดันจินตนาการไปถึงความกลัวที่อยู่ในจิตใจ ว่าเพื่อนอาจจะไม่ชอบเรา หรือเราทำอะไรผิดไปหรือเปล่า ยิ่งถ้าเป็นแฟน ถ้าทักไปไม่ตอบ เราจะจินตนาการไปถึงความกลัวที่อยู่ในจิตใจของเราแล้วว่า เขาโกรธเราหรือเปล่า หรือเขาแอบมีคนใหม่ จินตนาการตรงนี้กลายเป็นปัญหาสำหรับคนในยุคปัจจุบัน

สำหรับใครที่รู้สึกว่าตัวเองกำลังเกิดอาการวิตกกังวลสุด ๆ หากไม่ได้รับข้อความตอบกลับ อย่าเพิ่งคิดมากไป เพราะงานวิจัยของ Tony D. Sampson เปิดเผยว่า ฟีเจอร์ที่แสดงให้เห็นว่าข้อความถูกเปิดอ่านแล้ว ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ทางด้านธุรกิจ

เนื่องจากฟีเจอร์นี้ทำให้เห็นปริมาณข้อความที่เราติดต่อสื่อสารกันในแต่ละวัน เมื่อมีการติดต่อสื่อสารกันมาก ก็แสดงให้เห็นว่า แอปพลิเคชันแช็ตนั้นได้รับความนิยม ส่งผลให้บริษัทที่พัฒนาแอปพลิเคชันแช็ตได้รับรายได้จากโฆษณาเพิ่มมากขึ้น แต่ผู้ใช้กลับไปใส่ใจกับคำว่า "อ่านแล้ว" จนส่งผลต่อสภาพจิตใจ ซึ่งเป็นผลกระทบที่ผู้ออกแบบแอปพลิเคชันคาดไม่ถึง

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หวังว่าทุกคนจะใช้สื่ออย่างรู้เท่าทัน เพราะแท้จริงแล้ววัตถุประสงค์ของแอปพลิเคชันแซ็ต มีไว้เพื่อให้คุณฝากข้อความไว้ก่อน และไม่ว่าเหตุผลของคู่สนทนาที่ยังไม่ตอบข้อความของคุณจะเป็นอย่างไร "การแซ็ต" ก็เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสารเท่านั้น การพบปะ พูดคุยกันในชีวิตจริงจึงเป็นสำคัญที่ไม่อยากให้ทุกคนมองข้าม

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

หากคุณส่งข้อความไปหาใครสักคนหนึ่ง คุณคาดหวังที่จะได้รับข้อความตอบกลับทันทีหรือเปล่า ? ยิ่งอีกฝ่ายเปิดอ่านข้อความแล้ว แต่ไม่ตอบกลับมา คุณรู้สึกผิดหวังหรือไม่ ?

เปิดบ้านไทยพีบีเอสจึงได้สอบถามเรื่องนี้กับชาวเน็ต ด้วยคำถามที่ว่า "อ่านแล้วไม่ตอบ คุณอยากบอกว่า..." จากคำตอบของคนส่วนใหญ่เห็นได้ชัดว่า เมื่อคู่สนทนาเงียบไป ส่งผลต่อหัวใจของคนที่รอไม่น้อยทีเดียว

คนแรกบอกว่า เจอบ่อยมากกับการอ่านแล้วไม่ตอบ จนเลิกสนใจไปเอง คิดว่าเราคงไม่สำคัญพอที่เขาจะมาตอบ และคิดว่าเขาไม่มีมารยาททางการสื่อสาร

คนที่สองบอกว่า ถ้าทักไปแล้วเขาไม่ตอบ อันดับแรกจะรู้สึกโมโหมาก ๆ หรือบางครั้งจะรู้สึกว่าการที่เขาไม่ตอบเรา แสดงว่าเราอาจทำอะไรผิดแน่ ๆ แต่ก็จะทักต่อไปจนกว่าเขาจะตอบ

คนที่สามบอกว่า การที่อ่านแล้วไม่ตอบ มันก็เป็นคำตอบที่ชัดเจนอยู่แล้ว ไม่ต้องไปหาเหตุผลอื่น

คนที่สี่บอกว่า ที่เขาอ่านแล้วไม่ตอบ เป็นไปได้ว่าเขาอาจอยู่กับคนอื่น หรืออาจจะขับรถ ไม่ก็ติดงาน ฯลฯ แต่ถ้าเราสำคัญจริงเขาต้องตอบกลับมาในเวลาไม่นาน แต่ถ้าต้องรอนานจะบล็อกทิ้ง

ยังมีอีกหลายความรู้สึกที่เข้ามาแลกเปลี่ยนกัน บางคนคิดไปต่าง ๆ นานา ว่าอีกฝ่ายกำลังปิดบังความจริงอยู่ และรู้สึกไม่พอใจที่ไม่ได้รับข้อความตอบกลับทันที เรียกได้ว่า เรื่องนี้สร้างอิทธิพลต่อจิตใจคนในยุคดิจิทัลอย่างมาก ถึงขั้นมีการทำวิจัยเพื่อหาข้อสรุปกันเลยทีเดียว

อย่างเช่นงานวิจัยเรื่อง Reader in Digital Media culture and Communication ของ Tony D. Sampson จากมหาวิทยาลัย East London ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของสื่อดิจิทัลและการสื่อสาร พบว่า เมื่อเราส่งข้อความไปหาอีกฝ่าย แล้วเห็นว่าข้อความถูกเปิดอ่าน แต่ไม่ได้รับข้อความตอบกลับทันที จะมีผลทำให้ฝ่ายที่ส่งข้อความเกิดความรู้สึก 3 ประการ ได้แก่ 1. ความกังวลใจ 2. ความรู้สึกผิด และ 3. ตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำอะไรผิดไปหรือไม่

แล้วทำไมการไม่ได้รับข้อความตอบกลับทันที ถึงมีอิทธิพลต่อหัวใจเรามากมายขนาดนี้ ทีมงานเปิดบ้านไทยพีบีเอสได้มีโอกาสพูดคุยเรื่องนี้กับ นพ. วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น และโฆษกกรมสุขภาพจิต

คุณหมออธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า ความเงียบจากการไม่ได้รับการตอบข้อความกลับ เป็นช่องว่างที่ทำให้คนเราจินตนาการไปเอง เหมือนเวลาที่เรา "กลัวความมืด" มนุษย์มักจิตนาการว่าในที่แห่งนั้นมีสัตว์ร้าย หรือมีสิ่งที่เป็นอันตรายต่อตัวเรา ซึ่งความจริงแล้วในความมืดอาจจะไม่มีอะไรเลวร้ายก็ได้

ช่องว่างระหว่างการสนทนาตรงนี้ ทำให้คนเราเกิดความกลัวและความวิตกกังวล บางคนทักไปหาเพื่อนแล้วเพื่อนอ่านแต่ไม่ตอบข้อความ ทั้ง ๆ ที่ความจริงเพื่อนอาจจะเผลอกดไปเปิดข้อความตอนกำลังขับรถ หรือติดงานอยู่ จึงไม่มีเวลาตอบข้อความกลับในเวลานั้น

แต่เราดันจินตนาการไปถึงความกลัวที่อยู่ในจิตใจ ว่าเพื่อนอาจจะไม่ชอบเรา หรือเราทำอะไรผิดไปหรือเปล่า ยิ่งถ้าเป็นแฟน ถ้าทักไปไม่ตอบ เราจะจินตนาการไปถึงความกลัวที่อยู่ในจิตใจของเราแล้วว่า เขาโกรธเราหรือเปล่า หรือเขาแอบมีคนใหม่ จินตนาการตรงนี้กลายเป็นปัญหาสำหรับคนในยุคปัจจุบัน

สำหรับใครที่รู้สึกว่าตัวเองกำลังเกิดอาการวิตกกังวลสุด ๆ หากไม่ได้รับข้อความตอบกลับ อย่าเพิ่งคิดมากไป เพราะงานวิจัยของ Tony D. Sampson เปิดเผยว่า ฟีเจอร์ที่แสดงให้เห็นว่าข้อความถูกเปิดอ่านแล้ว ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ทางด้านธุรกิจ

เนื่องจากฟีเจอร์นี้ทำให้เห็นปริมาณข้อความที่เราติดต่อสื่อสารกันในแต่ละวัน เมื่อมีการติดต่อสื่อสารกันมาก ก็แสดงให้เห็นว่า แอปพลิเคชันแช็ตนั้นได้รับความนิยม ส่งผลให้บริษัทที่พัฒนาแอปพลิเคชันแช็ตได้รับรายได้จากโฆษณาเพิ่มมากขึ้น แต่ผู้ใช้กลับไปใส่ใจกับคำว่า "อ่านแล้ว" จนส่งผลต่อสภาพจิตใจ ซึ่งเป็นผลกระทบที่ผู้ออกแบบแอปพลิเคชันคาดไม่ถึง

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หวังว่าทุกคนจะใช้สื่ออย่างรู้เท่าทัน เพราะแท้จริงแล้ววัตถุประสงค์ของแอปพลิเคชันแซ็ต มีไว้เพื่อให้คุณฝากข้อความไว้ก่อน และไม่ว่าเหตุผลของคู่สนทนาที่ยังไม่ตอบข้อความของคุณจะเป็นอย่างไร "การแซ็ต" ก็เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสารเท่านั้น การพบปะ พูดคุยกันในชีวิตจริงจึงเป็นสำคัญที่ไม่อยากให้ทุกคนมองข้าม

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย