สุดยอดวิศวกรรมน่าทึ่ง ตอน ยานอวกาศโอไรอัน

ออกอากาศ17 มี.ค. 64

IMPOSSIBLE ENGINEERING: ORION SPACE CRAFT

ยานอวกาศโอไรอันจะนำมนุษย์ไปไกลเกินกว่าที่พวกเราเคยไปมาก่อน ในปี 2035 นาซามีเป้าหมายจะนำมนุษย์ไปดาวอังคารเป็นครั้งแรก นี่คือจอกศักดิ์สิทธ์แห่งการเดินทางในอวกาศ สิ่งที่จำเป็นต่อการเดินทางยาวไกล 100,000 กิโลเมตรยาวนานสองไปกลับดาวเคราะห์แดงนี้คือ โมดูลสำหรับมนุษย์ที่ล้ำยุค สามารถทำให้นักบินอวกาศมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่หฤโหดที่สุดในจักรวาลได้ รวมถึงจรวดทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยสร้างมาด้วย

แต่การสร้างสรรค์เทคโนโลยีระดับยักษ์นี้ ไม่มีทางเป็นไปได้เลยหากไม่มีนักบุกเบิกผู้มาก่อน มาติดตามผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมของเราไปสำรวจงานของ Robert Goddard นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐฯ ที่คิดค้นจรวดเชื้อเพลิงเหลวลำแรกของโลกขึ้นในปี 1926 แต่ถูกปฏิเสธแนวคิดที่ว่าสักวันจรวดจะพามนุษย์ไปสู่อวกาศได้ เราจะไปดูว่าเซคแทนท์ ที่เป็นเครื่องมือนำร่องของกะลาสีศตวรรษที่ 18 ได้กลายมาเป็นเครื่องมือสำรองของนักบินอวกาศทุกคนได้อย่างไร และไปดูว่าร่มดิ่งพสุธาแบบริบบิ้นที่ Theo Knacke ประดิษฐ์ขึ้นอย่างล้ำยุคในปี 1930 ส่งอิทธิพลต่อร่มเข้าสู่บรรยากาศที่ช่วยชะลอความเร็วของโมดูลโดยสารจาก 20,000 ไมล์ต่อชั่วโมงเหลือเพียง 20 ไมล์ต่อชั่วโมงได้อย่างไร

ติดตามชมรายการโลกหลากมิติ วันพุธที่ 17 มีนาคม 2564 เวลา 22.30 - 23.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

IMPOSSIBLE ENGINEERING: ORION SPACE CRAFT

ยานอวกาศโอไรอันจะนำมนุษย์ไปไกลเกินกว่าที่พวกเราเคยไปมาก่อน ในปี 2035 นาซามีเป้าหมายจะนำมนุษย์ไปดาวอังคารเป็นครั้งแรก นี่คือจอกศักดิ์สิทธ์แห่งการเดินทางในอวกาศ สิ่งที่จำเป็นต่อการเดินทางยาวไกล 100,000 กิโลเมตรยาวนานสองไปกลับดาวเคราะห์แดงนี้คือ โมดูลสำหรับมนุษย์ที่ล้ำยุค สามารถทำให้นักบินอวกาศมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่หฤโหดที่สุดในจักรวาลได้ รวมถึงจรวดทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยสร้างมาด้วย

แต่การสร้างสรรค์เทคโนโลยีระดับยักษ์นี้ ไม่มีทางเป็นไปได้เลยหากไม่มีนักบุกเบิกผู้มาก่อน มาติดตามผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมของเราไปสำรวจงานของ Robert Goddard นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐฯ ที่คิดค้นจรวดเชื้อเพลิงเหลวลำแรกของโลกขึ้นในปี 1926 แต่ถูกปฏิเสธแนวคิดที่ว่าสักวันจรวดจะพามนุษย์ไปสู่อวกาศได้ เราจะไปดูว่าเซคแทนท์ ที่เป็นเครื่องมือนำร่องของกะลาสีศตวรรษที่ 18 ได้กลายมาเป็นเครื่องมือสำรองของนักบินอวกาศทุกคนได้อย่างไร และไปดูว่าร่มดิ่งพสุธาแบบริบบิ้นที่ Theo Knacke ประดิษฐ์ขึ้นอย่างล้ำยุคในปี 1930 ส่งอิทธิพลต่อร่มเข้าสู่บรรยากาศที่ช่วยชะลอความเร็วของโมดูลโดยสารจาก 20,000 ไมล์ต่อชั่วโมงเหลือเพียง 20 ไมล์ต่อชั่วโมงได้อย่างไร

ติดตามชมรายการโลกหลากมิติ วันพุธที่ 17 มีนาคม 2564 เวลา 22.30 - 23.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย