ASEAN Checkpoint วิถีอาเซียน พันธสัญญาอุษาคเนย์
4 เม.ย. 63

“เมือง” หน้าตาเป็นอย่างไร ก็จะมีผลต่อผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองนั้น ๆ ถ้าเมืองน่าอยู่ สิ่งแวดล้อมดี ปลอดภัย สะดวกสบาย มีสังคมที่ดี ก็จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนในเมืองนั้นด้วยเช่นกัน รายการ ASEAN Checkpoint จึงมุ่งหน้าไปใน 3 เมือง 3 แบบ เพื่อหาคำตอบออกมาว่า แท้จริงแล้ว...เมืองที่น่าอยู่ ในนิยามของคำว่า “เมืองอัจฉริยะ” ควรมีหน้าตาเป็นอย่างไร และเราในฐานะส่วนประกอบหนึ่งของเมืองจะมีส่วนร่วมกับการสร้างสรรค์เมืองได้อย่างไรบ้าง

จุดหมายแรก กับประเทศสิงคโปร์ ที่เป็นมากกว่า Smart City แต่เป็น Smart Nation แห่งแรกของโลก ไม่น่าเชื่อว่าประเทศเล็ก ๆ ที่มีขนาดพอ ๆ กับเกาะภูเก็ต จะเป็นหัวเรือใหญ่ในการริเริ่มเครือข่ายเมืองอัจฉริยะ 26 เมือง ในภูมิภาคอาเซียน ภายใต้กรอบความร่วมมือ ASEAN Smart City Network ในช่วงที่เป็นประธานประชุมประชาคมอาเซียนเมื่อปี พ.ศ.2561 เพื่อวางเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืน และตั้งใจที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในอาเซียนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาการเติบโตของเมืองอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นความแออัดของเมือง คุณภาพของน้ำและอากาศ ความยากจน ความเหลื่อมล้ำระหว่างสังคมเมืองกับชนบท ตลอดจนความมั่นคงและความปลอดภัยของผู้คน

ถ้าจะมองให้ลึกลงไป จุดเด่นของสิงคโปร์จึงไม่ใช่แค่การรับเอาเทคโนโลยีมาจัดวางในพื้นที่เพียงเท่านั้น แต่ยังพัฒนาและประยุกต์เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาปรับใช้ให้เข้ากับเมืองเพื่อให้ตอบโจทย์ประชาชนในประเทศ พร้อมทั้งพัฒนาระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตให้เข้าถึงได้ง่าย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผนของหน่วยงานรัฐ การศึกษาวิจัย การตัดสินใจของภาคเอกชนและประชาชน ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกเพื่อนำมาวิเคราะห์และจัดทำแผน ไปจนถึงการเชื่อมต่อของข้อมูล นำไปสู่เมืองอัจฉริยะที่ครอบคลุมในทุกมิติ และที่สำคัญคือการนำไปสู่ความร่วมมือในการพัฒนาเมืองของภาคประชาชน

จุดหมายที่สอง คือ จังหวัดภูเก็ต เมืองอัจฉริยะที่มีความโดดเด่นในด้านการท่องเที่ยว ที่ได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 50 ของ Top Smart City Governments จังหวัดภูเก็ตในวันนี้ ไม่ได้น่าสนใจแค่การเป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยวในระดับโลกเท่านั้น แต่ชาวภูเก็ตเองตั้งใจที่จะพัฒนาให้เป็นเมืองอัจฉริยะที่ครอบคลุมคุณภาพชีวิตประชาชนทั้ง 7 ด้าน คือ Smart Tourism, Smart Safety, Smart Environment, Smart Healthcare, Smart Economy, Smart Education และ Smart Governance จะเห็นว่าการพัฒนาเมืองอัจฉริยะครอบคลุมการดูแลวิถีชีวิตอย่างรอบด้าน แต่ความสำเร็จของการพัฒนาเมืองในแบบภูเก็ตสำเร็จและติดอันดับโลกได้อย่างไร ต้องติดตามและ Checkpoint ไปด้วยกัน

จุดหมายสุดท้ายคือ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมืองใหญ่ที่มีประชากรมากกว่า 10 ล้านคน เมืองที่มีทั้งภัยพิบัติเกิดขึ้นอยู่เสมอ การจราจรติดขัด เต็มไปด้วยปัญหาที่ต้องแก้ไขอยู่ตลอดเวลา นับว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทายมากกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของประเทศนี้ ทีมงาน ASEAN Checkpoint จึงติดตามไปยังกองบัญชาการที่ดูแลเมืองอัจฉริยะโดยเฉพาะ อย่าง JSC หรือ Jakarta Smart City หน่วยงานของรัฐที่ทำงานร่วมกับสตาร์ตอัป คนรุ่นใหม่ที่เข้ามาร่วมแก้ปัญหาให้เมืองนี้ แต่จุดเด่นของเมืองนี้คือการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน กับค่าเดินทางที่ถูกมากจนน่าตกใจ ที่เป็นเช่นนี้ได้ก็เพราะรัฐบาลช่วยสนับสนุนประชาชน 70% ประชาชนในฐานะผู้โดยสารจ่ายแค่ 30% ของต้นทุนค่าโดยสารทั้งหมด จึงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมค่ารถโดยสารปรับอากาศ ชาวอินโดนีเซียจึงจ่ายแค่ประมาณ 8 บาท ตลอดสาย เท่านั้น แต่นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ปัจจัยที่ทำให้เมืองอัจฉริยะของกรุงจาการ์ตาสำเร็จน่าจะมาจากหลักคิดแบบ CRM = Citizen Relation Management การทำงานของพวกเขาจะเป็นอย่างไร และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะได้มากแค่ไหน

ไปร่วมหาคำตอบและออกเดินทางสำรวจทั้ง 3 ประเทศ เพื่อสะท้อนความสำเร็จของประชาคมอาเซียน ในมิติของเมืองอัจฉริยะ ในรายการสารคดี ASEAN Checkpoint วิถีอาเซียน พันธสัญญาอุษาคเนย์ ตอน เมืองอัจฉริยะในอาเซียน วันเสาร์ที่ 4 เม.ย. 63 เวลา 21.10 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

เมืองอัจฉริยะในอาเซียน

4 เม.ย. 63

“เมือง” หน้าตาเป็นอย่างไร ก็จะมีผลต่อผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองนั้น ๆ ถ้าเมืองน่าอยู่ สิ่งแวดล้อมดี ปลอดภัย สะดวกสบาย มีสังคมที่ดี ก็จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนในเมืองนั้นด้วยเช่นกัน รายการ ASEAN Checkpoint จึงมุ่งหน้าไปใน 3 เมือง 3 แบบ เพื่อหาคำตอบออกมาว่า แท้จริงแล้ว...เมืองที่น่าอยู่ ในนิยามของคำว่า “เมืองอัจฉริยะ” ควรมีหน้าตาเป็นอย่างไร และเราในฐานะส่วนประกอบหนึ่งของเมืองจะมีส่วนร่วมกับการสร้างสรรค์เมืองได้อย่างไรบ้าง

จุดหมายแรก กับประเทศสิงคโปร์ ที่เป็นมากกว่า Smart City แต่เป็น Smart Nation แห่งแรกของโลก ไม่น่าเชื่อว่าประเทศเล็ก ๆ ที่มีขนาดพอ ๆ กับเกาะภูเก็ต จะเป็นหัวเรือใหญ่ในการริเริ่มเครือข่ายเมืองอัจฉริยะ 26 เมือง ในภูมิภาคอาเซียน ภายใต้กรอบความร่วมมือ ASEAN Smart City Network ในช่วงที่เป็นประธานประชุมประชาคมอาเซียนเมื่อปี พ.ศ.2561 เพื่อวางเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืน และตั้งใจที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในอาเซียนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาการเติบโตของเมืองอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นความแออัดของเมือง คุณภาพของน้ำและอากาศ ความยากจน ความเหลื่อมล้ำระหว่างสังคมเมืองกับชนบท ตลอดจนความมั่นคงและความปลอดภัยของผู้คน

ถ้าจะมองให้ลึกลงไป จุดเด่นของสิงคโปร์จึงไม่ใช่แค่การรับเอาเทคโนโลยีมาจัดวางในพื้นที่เพียงเท่านั้น แต่ยังพัฒนาและประยุกต์เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาปรับใช้ให้เข้ากับเมืองเพื่อให้ตอบโจทย์ประชาชนในประเทศ พร้อมทั้งพัฒนาระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตให้เข้าถึงได้ง่าย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผนของหน่วยงานรัฐ การศึกษาวิจัย การตัดสินใจของภาคเอกชนและประชาชน ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกเพื่อนำมาวิเคราะห์และจัดทำแผน ไปจนถึงการเชื่อมต่อของข้อมูล นำไปสู่เมืองอัจฉริยะที่ครอบคลุมในทุกมิติ และที่สำคัญคือการนำไปสู่ความร่วมมือในการพัฒนาเมืองของภาคประชาชน

จุดหมายที่สอง คือ จังหวัดภูเก็ต เมืองอัจฉริยะที่มีความโดดเด่นในด้านการท่องเที่ยว ที่ได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 50 ของ Top Smart City Governments จังหวัดภูเก็ตในวันนี้ ไม่ได้น่าสนใจแค่การเป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยวในระดับโลกเท่านั้น แต่ชาวภูเก็ตเองตั้งใจที่จะพัฒนาให้เป็นเมืองอัจฉริยะที่ครอบคลุมคุณภาพชีวิตประชาชนทั้ง 7 ด้าน คือ Smart Tourism, Smart Safety, Smart Environment, Smart Healthcare, Smart Economy, Smart Education และ Smart Governance จะเห็นว่าการพัฒนาเมืองอัจฉริยะครอบคลุมการดูแลวิถีชีวิตอย่างรอบด้าน แต่ความสำเร็จของการพัฒนาเมืองในแบบภูเก็ตสำเร็จและติดอันดับโลกได้อย่างไร ต้องติดตามและ Checkpoint ไปด้วยกัน

จุดหมายสุดท้ายคือ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมืองใหญ่ที่มีประชากรมากกว่า 10 ล้านคน เมืองที่มีทั้งภัยพิบัติเกิดขึ้นอยู่เสมอ การจราจรติดขัด เต็มไปด้วยปัญหาที่ต้องแก้ไขอยู่ตลอดเวลา นับว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทายมากกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของประเทศนี้ ทีมงาน ASEAN Checkpoint จึงติดตามไปยังกองบัญชาการที่ดูแลเมืองอัจฉริยะโดยเฉพาะ อย่าง JSC หรือ Jakarta Smart City หน่วยงานของรัฐที่ทำงานร่วมกับสตาร์ตอัป คนรุ่นใหม่ที่เข้ามาร่วมแก้ปัญหาให้เมืองนี้ แต่จุดเด่นของเมืองนี้คือการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน กับค่าเดินทางที่ถูกมากจนน่าตกใจ ที่เป็นเช่นนี้ได้ก็เพราะรัฐบาลช่วยสนับสนุนประชาชน 70% ประชาชนในฐานะผู้โดยสารจ่ายแค่ 30% ของต้นทุนค่าโดยสารทั้งหมด จึงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมค่ารถโดยสารปรับอากาศ ชาวอินโดนีเซียจึงจ่ายแค่ประมาณ 8 บาท ตลอดสาย เท่านั้น แต่นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ปัจจัยที่ทำให้เมืองอัจฉริยะของกรุงจาการ์ตาสำเร็จน่าจะมาจากหลักคิดแบบ CRM = Citizen Relation Management การทำงานของพวกเขาจะเป็นอย่างไร และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะได้มากแค่ไหน

ไปร่วมหาคำตอบและออกเดินทางสำรวจทั้ง 3 ประเทศ เพื่อสะท้อนความสำเร็จของประชาคมอาเซียน ในมิติของเมืองอัจฉริยะ ในรายการสารคดี ASEAN Checkpoint วิถีอาเซียน พันธสัญญาอุษาคเนย์ ตอน เมืองอัจฉริยะในอาเซียน วันเสาร์ที่ 4 เม.ย. 63 เวลา 21.10 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

ASEAN Checkpoint วิถีอาเซียน พันธสัญญาอุษาคเนย์

ล่าสุด
เศรษฐกิจในอาเซียน
เศรษฐกิจในอาเซียน
7 มี.ค. 63
การท่องเที่ยวในอาเซียน
การท่องเที่ยวในอาเซียน
14 มี.ค. 63
สิ่งแวดล้อมในอาเซียน
สิ่งแวดล้อมในอาเซียน
21 มี.ค. 63
การศึกษาและแรงงานในอาเซียน
การศึกษาและแรงงานในอาเซียน
28 มี.ค. 63
กำลังเล่น...
เมืองอัจฉริยะในอาเซียน
เมืองอัจฉริยะในอาเซียน
4 เม.ย. 63
วิถีคาร์บอนต่ำในอาเซียน
วิถีคาร์บอนต่ำในอาเซียน
11 เม.ย. 63
วัฒนธรรมร่วมสมัย
วัฒนธรรมร่วมสมัย
5 ก.ค. 63
เศรษฐกิจสร้างสรรค์
เศรษฐกิจสร้างสรรค์
12 ก.ค. 63

ASEAN Checkpoint วิถีอาเซียน พันธสัญญาอุษาคเนย์

ล่าสุด
เศรษฐกิจในอาเซียน
เศรษฐกิจในอาเซียน
7 มี.ค. 63
การท่องเที่ยวในอาเซียน
การท่องเที่ยวในอาเซียน
14 มี.ค. 63
สิ่งแวดล้อมในอาเซียน
สิ่งแวดล้อมในอาเซียน
21 มี.ค. 63
การศึกษาและแรงงานในอาเซียน
การศึกษาและแรงงานในอาเซียน
28 มี.ค. 63
กำลังเล่น...
เมืองอัจฉริยะในอาเซียน
เมืองอัจฉริยะในอาเซียน
4 เม.ย. 63
วิถีคาร์บอนต่ำในอาเซียน
วิถีคาร์บอนต่ำในอาเซียน
11 เม.ย. 63
วัฒนธรรมร่วมสมัย
วัฒนธรรมร่วมสมัย
5 ก.ค. 63
เศรษฐกิจสร้างสรรค์
เศรษฐกิจสร้างสรรค์
12 ก.ค. 63

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย