ThaiPBS VODhttps://program.thaipbs.or.th962202023-07-23 21:10:00qoderรากสุวรรณภูมิ“บางกอก” เมือง 2 ราชธานี “Bangkok” The original city of two capitals23 ก.ค. 256616:05https://program.thaipbs.or.th/RakSuvarnabhumi/episodes/96220https://program.thaipbs.or.th/watch/VkXKIh<p>แผ่นดิน “บางกอก” ปรากฏพ้นน้ำทะเลเมื่อราว 800 ปีก่อน เรื่องราวนับแต่ยุคเก่าของกรุงเทพมหานครและกรุงธนบุรี เล่าผ่านการศึกษาโบราณคดี หลังผืนแผ่นดินปรากฏจนมีมนุษย์เข้ามาอาศัยกลายเป็นชุมชน ในช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้นของกรุงสุโขทัยในฐานะราชธานี ต่อเนื่องถึงกรุงศรีอยุธยา ก่อนเป็นราชธานี ผืนแผ่นดินมีเรื่องราวใดเกิดขึ้น</p> <p>การขุดค้นทางโบราณคดีพบป้อมบางกอก 2 แห่ง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้เรื่องราวของชุมชนบางกอก เริ่มชัดเจนในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในฐานะเมืองสำคัญที่เป็นประตูทั้งป้องกันและต้อนรับกลุ่มคนตลอดจนถึงขบวนเรือของผู้มาเยือนจากกรุงศรีอยุธยา และจากการศึกษาวิถีชีวิตของคนบางกอก สู่การขุดค้นทางโบราณคดีในยุครุ่งเรืองของกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ การขุดค้นศึกษาเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ใต้ดิน บริเวณกระทรวงพาณิชย์เดิม ที่ปัจจุบันคือมิวเซียมสยาม พบทั้งเปลือกหอยมุกและเกือกม้าจำนวนมาก รวมทั้งฐานรากของวังหลายแห่ง</p> <p>นอกจากนี้ การขุดค้นที่โรงพยาบาลศิริราชซึ่งพบซากเรือโบราณที่ทำให้รู้ว่า สถานที่ตั้งของสถานีรถไฟธนบุรีและโรงพยาบาลศิริราช เคยมีอู่ซ่อมเรือตั้งอยู่ และเรายังพบหลักฐานที่เชื่อมโยงกับฉากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องคู่กรรม ที่ทหารญี่ปุ่นโกโบริเสียชีวิต ณ สถานีรถไฟธนบุรี ในสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการถูกประเทศสัมพันธมิตรระดมทิ้งระเบิดไม่น่าเชื่อว่า การขุดค้นทางโบราณคดีที่สถานีรถไฟธนบุรี จะสอดคล้องกับบทละคร หรือบทภาพยนตร์ดังกล่าว</p> <p>ติดตามในสารคดี "รากสุวรรณภูมิ" วันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม 2566 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/Live">www.thaipbs.or.th/Live</a></p>960572023-07-16 21:10:00qoderรากสุวรรณภูมิ“อยุธยา” เมืองโลกาภิวัตน์โบราณ “Ayutthaya” The ancient city of Globalization16 ก.ค. 256609:52https://program.thaipbs.or.th/RakSuvarnabhumi/episodes/96057https://program.thaipbs.or.th/watch/2OIgWP<p>กรุงศรีอยุธยา สถานีการค้าสำคัญของดินแดนสุวรรณภูมิ เมืองที่มีผู้คนตั้งถิ่นฐาน เดินทางมา จนเกิดการแลกเปลี่ยนทุกด้าน จนถือเป็นเมืองแห่งโลกาภิวัตน์อย่างแท้จริง</p> <p>ความเจริญรุ่งเรืองของอยุธยา มีปัจจัยสำคัญคือ เป็นชุมทางของสายน้ำ จึงทำให้พื้นที่ของอยุธยา เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์นอกจากนี้ อยุธยายังมีเอกลักษณ์สำคัญของการสร้างเมืองคือ การสร้างบ้านเมืองด้วยภูมิปัญญาด้านการบริหารจัดการน้ำ ส่งผลให้ผู้คนจากหลายพื้นที่พากันเดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ไม่ใช่เฉพาะคนไทย แต่ชาวต่างชาติที่ได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับชาวอยุธยา ก็เลือกพื้นที่นี้ในการตั้งถิ่นฐานของพวกเขา ดังจะเห็นได้จากที่นักโบราณคดีได้ขุดค้นแล้วพบหลักฐานสำคัญมากมาย ทั้งการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านโปรตุเกส การศึกษาในหมู่บ้านญี่ปุ่นรวมถึงหมู่บ้านฮอลันดา กลายเป็นพื้นที่ที่รวมเอาผู้คนจากหลากหลายมุมโลกสำคัญมาอยู่ร่วมกัน</p> <p>ติดตามในสารคดี "รากสุวรรณภูมิ" วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม 2566 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/Live">www.thaipbs.or.th/Live</a></p>959322023-07-09 21:10:00qoderรากสุวรรณภูมิ“สุโขทัย” ภูมิปัญญาอารยะแห่งเมืองมรดกโลก “Sukhothai” The Civilized Wisdom of the World Heritage city9 ก.ค. 256617:30https://program.thaipbs.or.th/RakSuvarnabhumi/episodes/95932https://program.thaipbs.or.th/watch/6MiGOL<p>อาณาจักรสุโขทัย เมืองมรดกโลกสำคัญ เปิดเบื้องหลังภูมิปัญหาด้านต่าง ๆ ที่เชื่อมโยง 3 เมืองโบราณเข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ซึ่งได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร”</p> <p>อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกตั้งแต่ปี 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของศิลปกรรมไทยในยุคแรกเริ่ม นอกจากนี้ยังเป็นเมืองโบราณที่มีการจัดการน้ำดีที่สุดในไทย ถึงตอนนี้ได้มีการค้นพบโบราณสถานทั้งในและนอกเขตอุทยานฯ มากถึง 217 แห่ง นอกจากนี้ การขุดค้นใน 3 เมือง สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร มีการค้นพบหลักฐานอันจะนำพาทุกคนย้อนกลับไปถึงกลุ่มแรก ๆ หรือบรรพบุรุษของเมืองสุโขทัย ไม่ว่าจะเป็นโครงกระดูก ลูกปัดแก้วและภาชนะดินเผา</p> <p>ติดตามในสารคดี "รากสุวรรณภูมิ" วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม 2566 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/Live">www.thaipbs.or.th/Live</a></p>958022023-07-02 21:10:00qoderรากสุวรรณภูมิ“พนมรุ้ง” ปราสาทแห่ง อำนาจ ศาสนา และภูมิปัญญาโบราณ The Phanom Rung : Castle of authority, religion and ancient wisdom2 ก.ค. 256611:37https://program.thaipbs.or.th/RakSuvarnabhumi/episodes/95802https://program.thaipbs.or.th/watch/7eqySV<p>“ปราสาทพนมรุ้ง” ศาสนสถานเก่าแก่ที่มีอายุกว่าพันปี สถานที่ซึ่งเป็นแหล่งศึกษาผลงานด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและสถาปัตยกรรมในอดีต นอกจากนี้ ปราสาทพนมรุ้งยังทำหน้าที่เชื่อมโยงให้เห็นมิติด้านอำนาจ ศาสนา และภูมิปัญญาโบราณ อันสามารถฉายภาพให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในมิติต่าง ๆ ระหว่างพื้นที่อีสานโบราณ กับ อาณาจักรขอมหรือเขมรโบราณ</p> <p>ปราสาทพนมรุ้ง ก่อสร้างด้วยหินทรายสีชมภูถือเป็นสถาปัตยกรรมที่ไม่ได้มีแค่ความสวยงามเท่านั้น แต่ผู้สร้างได้ซ่อนความหมายไว้มากมายทั้งปรัชญาความคิด หลักวิศวกรรม และดาราศาสตร์ ประตู 15 ช่อง ของปราสาทพนมรุ้ง หากมองในแง่การก่อสร้างปราสาท คงไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะการสร้างปราสาทของคนโบราณ ผู้สร้างมักแฝงทั้งในแง่คติความเชื่อทางศาสนา ลัทธิต่าง ๆ และที่สำคัญคือ การบงบอกอำนาจของผู้สร้าง</p> <p>ตามจารึกมีบันทึกสร้างประตูถึง 16 บาน นี่อาจเป็นกุญแจอีกดอกหนึ่งที่จะไขปริศนา หรือความลับของปราสาทพนมรุ้ง</p> <p>พระอาทิตย์ส่องลอดบานประตูทั้ง 15 บาน จึงไม่ใช่ปาฏิหาริย์หรือเรื่องบังเอิญ แต่เป็นการแสดงองค์ความรู้ทั้งด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และดาราศาสตร์ปราสาทพนมรุ้ง จึงมีคุณค่าทั้งด้านภูมิปัญญา การเมืองการปกครองในสมัยโบราณ ด้านศาสนา ที่เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนกับความรุ่งเรืองในพื้นที่ต่าง ๆ ของสุวรรณภูมิ</p> <p>ติดตามในสารคดี "รากสุวรรณภูมิ" วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม 2566 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/Live">www.thaipbs.or.th/Live</a></p>956332023-06-25 21:10:00qoderรากสุวรรณภูมิศรีเทพ รัฐแรกเริ่ม หรือ ดินแดนศักดิ์สิทธิ์โบราณ Si Thep : The primary state or the ancient sacred land25 มิ.ย. 256611:44https://program.thaipbs.or.th/RakSuvarnabhumi/episodes/95633https://program.thaipbs.or.th/watch/flHHKH<p>“เมืองโบราณศรีเทพ” ปรากฏร่องรอยหลักฐานสะท้อนให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนเข้าสู่วัฒนธรรมทวารวดี และขอมหรือเขมรโบราณ</p> <p>เมืองโบราณแห่งนี้ตั้งอยู่ในอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นเมืองซ้อนเมืองขนาดใหญ่ ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมและศาสนาหลากหลายแบบผสมผสาน ทั้งทวารวดี และขอมหรือเขมรโบราณ คาดว่าอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี ความเจริญของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม สันนิษฐานว่า อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-16 </p> <p>ห่างไปอีกราว 15 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกคือที่ตั้งของ “เขาถมอรัตน์” ซึ่งมีลักษณะเด่นทั้งจุดที่ตั้ง และรูปทรงที่มองจากระยะไกลจะเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายพีรามิด เกิดเป็นความเชื่อเรื่องภูเขาศักดิ์สิทธิ์ พบการแกะสลักพระพุทธรูปไว้ในถ้ำบนเขาถมอรัตน์ซึ่งอาจเป็นเรื่องของความเชื่อ หรือการประกาศการเข้ามาของศาสนา</p> <p>เมืองโบราณศรีเทพ คือรัฐแรกเริ่ม หรือ เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ สถานที่จารึกแสวงบุญทางศาสนา ไม่ว่าคำตอบจะเป็นอย่างไร ล้วนแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและความยิ่งใหญ่ของเมืองโบราณศรีเทพทั้งสิ้น 2,500 ปี ที่มีผู้คนมาอยู่อาศัยมา 1,400 ปี ในวัฒนธรรมทวารวดี</p> <p>รวมระยะเวลาที่มีความเจริญรุ่งเรืองกว่า 800 ปี และมีการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องมาจนเท่าถึงปัจจุบัน เมืองโบราณศรีเทพจึงถูกนำเสนอให้คณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโก้ พิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของโลก</p> <p>ติดตามในสารคดี "รากสุวรรณภูมิ" วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน 2566 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/Live">www.thaipbs.or.th/Live</a></p>955212023-06-18 21:10:00qoderรากสุวรรณภูมิสามเหลี่ยมมหัศจรรย์แห่งทวารวดี The Miracle Triangle of Dvaravati18 มิ.ย. 256616:13https://program.thaipbs.or.th/RakSuvarnabhumi/episodes/95521https://program.thaipbs.or.th/watch/kwLJqN<p>“สุวรรณภูมิ” ในบริบทของศาสนา วัฒนธรรม และการค้าระหว่างประเทศ ที่ได้เกิดการเชื่อมต่อผ่านเส้นทางสายไหมทางทะเลตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ กระทั่งก่อเกิดเป็นรัฐในหลายพื้นที่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งรัฐแรกเริ่มในประเทศไทย“ทวารวดี” โดยพื้นที่เชื่อมโยงระหว่างกันของหลากหลายเมืองมีความเป็นมาอันน่าสนใจ ร่วมสำรวจไปในประวัติศาสตร์เพื่อค้นหากันว่า เหตุใดพื้นที่เหล่านี้จึงถูกขนาดนามว่า “สามเหลี่ยมมหัศจรรย์แห่งทวารวดี”</p> <p>เครือข่ายเมืองโบราณนี้สันนิษฐานว่า บางเมือง หรือ หลายเมือง อาจเป็นเมืองหลวงของทวารวดี และบางเมืองมีบทบาทเป็นเมืองท่าสำคัญในดินแดนสุวรรณภูมิประกอบด้วยเมืองนครปฐมโบราณ เมืองโบราณคูบัว และเมืองโบราณอู่ทองทั้งสามเมือง ยังได้พบหลักฐานคล้าย ๆ กัน เช่นประติมากรรมปูนปั้นชาวต่างชาติลูกปัดและเครื่องประดับจากต่างชาติจำนวนมาก รวมถึงยังพบหลักฐานสำคัญทั้งสามเมืองเหมือนกันอีก เป็นหลักฐานทางโบราณคดี ที่สามารถเชื่อมการติดต่อค้าขาย ที่ไปได้ไกลกว่า จีน อินเดีย และอาหรับ นอกจากนี้ยังพบเรือโบราณพนม-สุรินทร์ อายุราว พ.ศ. 1200-1300 การศึกษาทางธรณีวิทยาบ่งชี้ว่าเรือโบราณลำนี้น่าจะเป็นเรือที่เดินทางไปมาระหว่างดินแดนแถบตะวันออกกลางและจีน</p> <p>ติดตามในสารคดี "รากสุวรรณภูมิ" วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน 2566 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/Live">www.thaipbs.or.th/Live</a></p>953892023-06-11 21:10:00qoderรากสุวรรณภูมิ“สุวรรณภูมิ” ชุมทางโบราณข้ามคาบสมุทร Suvarnabhumi : The ancient junction across the peninsula11 มิ.ย. 256617:32https://program.thaipbs.or.th/RakSuvarnabhumi/episodes/95389https://program.thaipbs.or.th/watch/AnmNRL<p>แผ่นดินสุวรรณภูมิอาจหมายรวมถึงพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งส่วนนึงคือพื้นที่ประเทศไทยในปัจจุบัน พื้นที่แถบนี้เองมีเมืองท่าโบราณเชื่อมต่อเส้นทางสายไหมทางทะเล เชื่อมโยงการค้าและอารยธรรมสำคัญของโลก จึงได้ชื่อว่าเป็น “ชุมทางโบราณข้ามคาบสมุทร”</p> <p>ณ ชุมทางโบราณข้ามคาบสมุทร พื้นที่ เขาจุฬา ตำบลเขาทะลุ อำเภอสวี จังหวัดชุมพรถือเป็นพื้นที่สำคัญทางโบราณคดี อยู่จุดกึ่งกลางของคาบสมุทร ที่เชื่อมฝั่งทะเลอันดามันและทะเลอ่าวไทย เป็นทั้งพื้นที่ปะทะสังสรรค์ทางการค้าและวัฒนธรรม เป็นทางผ่าน และมีการตั้งถิ่นฐานของคนโบราณ ย้อนกลับไปกว่า 2,000 ปี ในช่วงสมัยเหล็ก ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายและอาจพาย้อนกลับไปได้เก่ากว่า 3,000 ปี หรือเก่าถึง 8,000 ปี ที่นี่อาจเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนทางการค้า และวัฒนธรรมโบราณแถบมหาสมุทรอินเดีย กับ ฝั่งทะเลจีนใต้ อะไรทำให้ดินแดนสุวรรณภูมิกลายเป็นชุมทางการค้าสำคัญของโลก</p> <p>ติดตามในสารคดี "รากสุวรรณภูมิ" วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน 2566 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/Live">www.thaipbs.or.th/Live</a></p>881822022-07-10 21:10:00qoderรากสุวรรณภูมิวัฒนธรรมทุ่งกุลา วิถีอีสานโบราณ “Thung Kula Culture” Northeastern Ancient Way10 ก.ค. 256518:34https://program.thaipbs.or.th/RakSuvarnabhumi/episodes/88182https://program.thaipbs.or.th/watch/pHqTO6<p>เรื่องราวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตอนกลางของแอ่งโคราช หรืออีสานตอนกลาง ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 2.1 ล้านไร่ เป็นบริเวณที่ผู้คนต่างรู้จักกันในชื่อว่า <strong>"ทุ่งกุลาร้องไห้"</strong> ข้อมูลทางธรณีวิทยาสันนิษฐานว่า เมื่อหลายร้อยล้านปีก่อน พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นทะเลมาก่อน จากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก จนกลายเป็นแอ่งน้ำจืดขนาดใหญ่ ก่อนจะกลายเป็นผืนแผ่นดินแยกแตกระแหง ที่ยังมีเกลือและดินเค็มเป็นหลักฐานที่เชื่อมโยงจากอดีตสู่ปัจจุบัน ณ พื้นที่แห่งนี้ ได้ขุดค้นพบความเชื่อมโยงของผู้คนยุคก่อนประวัติศาสตร์มากมาย แหล่งโบราณคดีที่ถูกยกให้เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมทุ่งกุลาคือที่บ้านเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ถ้าพูดถึงลักษณะเด่นของวัฒนธรรมทุ่งกุลา ที่นี่ได้พบหลักฐานที่หนาแน่น ทั้งพิธีกรรมการฝังศพ มีลักษณะการฝังศพครั้งแรก ทั้งแบบนอนหงายเหยียดยาว และแบบฝังศพในภาชนะดินเผา โดยพบทุกเพศ ทุกวัย และพบการฝังศพครั้งที่สอง ทั้งแบบเก็บกระดูกมาวางรวมกัน และแบบเก็บมาใส่ในภาชนะดินเผา โดยภาชนะดินเผาที่ใช้ในการฝังศพที่นี่มีลักษณะเฉพาะตัว คือมีลักษณะคล้ายแคปซูล ที่กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของวัฒนธรรมทุ่งกุลา ใครเห็นเครื่องปั้นดินเผาลักษณะนี้ รู้ได้ทันทีว่านี่คือโบราณวัตถุสำคัญแห่งทุ่งกุลาร้องไห้<br></p><p>นอกจากภาชนะรูปแคปซูลที่นักโบราณคดีได้ขุดค้นพบและกำหนดอายุได้ประมาณ 1,700 ปี แต่เมื่อขุดค้นลึกลงไปถึงช่วงเวลาเมื่อประมาณ 3,200 ปี พบภาชนะดินเผาอีกรูปแบบหนึ่งจำนวนมาก เป็นภาชนะรูปทรงคล้ายผลส้ม ซึ่งเป็นภาชนะที่ใช้ในการฝังศพอีกรูปแบบหนึ่ง และนักโบราณคดียังขุดค้นพบวัตถุโบราณอีกมากมาย ในดินแดนทุ่งกุลายังมั่งคั่งไปด้วยเกลือและเหล็ก ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรมีค่ามหาศาลในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีแหล่งเกลือที่ใหญ่และมีคุณภาพที่สุดในดินแดนนี้ การขุดค้นพบเรื่องราวในอดีตยังสามารถเชื่อมโยงมาสู่วิถีความเป็นอยู่ของผู้คนในปัจจุบัน ซึ่งที่นี่ยังคงเป็นแหล่งผลิตเกลือที่สำคัญของประเทศ และเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญของโลก<span></span></p><p><strong>ติดตามในสารคดี "<strong>รากสุวรรณภูมิ</strong>" วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม 2565 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/Live" target="_blank">www.thaipbs.or.th/Live</a></strong></p>881072022-07-03 21:10:00qoderรากสุวรรณภูมิ"ลพบุรี" ชุมทางการค้าก่อนประวัติศาสตร์ “Lop Buri” The Prehistoric Trade Route3 ก.ค. 256514:35https://program.thaipbs.or.th/RakSuvarnabhumi/episodes/88107https://program.thaipbs.or.th/watch/cLGxJS<p>เรื่องราวของการพบร่องรอยชุมชนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ 3,000 - 2,500 ปี ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี การขุดค้นครั้งนั้นทำให้รู้เส้นทางการเชื่อมต่อของผู้คนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ว่ามีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันแบบชุมชน และช่วงนี้มีการติดต่อกันของผู้คน มีการสัญจรแลกเปลี่ยนสินค้ากันทางน้ำ จึงทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่า อดีตลพบุรีเคยเป็นเมืองชายทะเล หลักฐานที่พบจากการขุดค้นใน 2 แหล่งโบราณคดีคือ <strong>"แหล่งโบราณคดีบ้านพรหมทินใต้"</strong> บริเวณที่ขุดพบ ปัจจุบันคือที่ตั้งของวัดพรหมทินใต้ ที่นี่เราพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่มีพัฒนาการการอยู่อาศัยของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยเหล็กในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ ในสมัยทวารวดี เข้าสู่สมัยกรุงศรีอยุธยา ก่อนจะกลับมาเป็นสมัยปัจจุบัน เมื่อราว 100 กว่าปีมานี้ การขุดค้นครั้งนี้พบตราประทับรูปวัว ที่ทำจากดินเผา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอินเดีย แล้ววัฒธรรมต่างถิ่นที่มีอายุนับพัน ๆ ปี นอกจากนี้ยังพบ พระพุทธรูปแกะสลักจากหินสีดำ ประทับยืน พร้อมพระบริวาร บนหลังสัตว์ประหลาดนั้นรูปร่างคล้ายนก ดวงตากลมโปนโต แต่มีเขา บิดเป็นเกลียว งอเข้าหากันคล้ายเขาโค มีชื่อเรียกว่า <strong>"พระพนัสบดี"</strong> มีอายุประมาณ 1,300 - 1,200 ปี และอีกหนึ่งแหล่งโบราณคดีที่ขุดพบหลักฐานไม่ห่างกันมากนัก คือ <strong>"แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว"</strong> พบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนไม่น้อยที่เกี่ยวข้องกับคนในยุคนั้น ทั้งวิถีชีวิตว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมสำหรับคนตาย, เครื่องประดับชนิดต่าง ๆ เช่น ลูกปัดจากแก้ว, จากหิน หรือที่ทำขึ้นจากส่วนหน้าอกของเต่าและเปลือกหอย<br></p><p>ความพิเศษของแหล่งโบราณบ้านพรหมทินใต้ในแง่เศรษฐกิจ นักโบราณคดีมองว่ามีการติดต่อกับต่างประเทศทั้งในภาคของการนำเข้า เช่น เครื่องประดับและของใช้ ส่วนในภาคการส่งออก จะเป็นพวกแร่และพืชทางการเกษตรในทุกชั้นวัฒนธรรม ที่แหล่งโบราณคดีบ้านพรหมทินใต้และที่บ้านโป่งมะนาว จังหวัดลพบุรี มักพบโลหะที่ถูกแปรรูปเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ไม่ได้เน้นทำเป็นอาวุธ ส่วนใหญ่ทำเครื่องประดับและเสื้อผ้า จึงบ่งบอกถึงสภาพสังคม ที่รักสวยรักงามและวัฒนธรรมในการแต่งกาย ที่สำคัญในเกือบทุกชั้นดิน หรือชั้นวัฒนธรรม มักพบเมล็ดข้าว, เปลือกข้าว และต้นข้าว ซึ่งหมายความว่า ในการปฏิวัติ หรือการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในแต่ละยุค <strong>"ข้าว"</strong> คืออาวุธสำคัญในการปฏิวัติสังคมนั่นเอง<span></span></p><p><strong>ติดตามในสารคดี "<strong>รากสุวรรณภูมิ</strong>" วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม 2565 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/Live" target="_blank">www.thaipbs.or.th/Live</a></strong></p>878822022-06-26 21:10:00qoderรากสุวรรณภูมิดินแดนกสิกรรมตะวันตก The Land of Western Agriculture26 มิ.ย. 256518:27https://program.thaipbs.or.th/RakSuvarnabhumi/episodes/87882https://program.thaipbs.or.th/watch/4lgT1j<p>เรื่องราวประวัติศาสตร์ของ<strong>ดินแดนแห่งอารยธรรมตะวันตก</strong> ดินแดนที่เชื่อได้ว่าเคยรุ่งเรืองตั้งแต่ยุคก่อนพบดินแดนสุวรรณภูมิ เพราะพื้นที่แถบนี้ในอดีตกว่า 2,000 ปี เป็นพื้นที่ชายฝั่งทะเล จุดเริ่มต้นของการค้นพบประวัติศาสตร์ไม่ได้เกิดขึ้นจากคนไทย เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ <strong>ดร.ฟาน เฮเกอเรน (Dr.H.R.Van Heekeren)</strong> นักโบราณคดีชาวฮอลันดา ถูกจับเป็นเชลยศึกมาสร้างทางรถไฟสายมรณะ ได้เก็บเครื่องมือหินกะเทาะ 8 ชิ้น เมื่อสงครามยุติลง ได้นำเครื่องมือหินเข้าห้องวิจัย พบว่าเป็นเครื่องมือในยุคหิน อายุหลายพันปี นำไปสู่การตื่นตัวของนักโบราณคดี โดยคณะสำรวจไทย - เดนมาร์ก ลงพื้นที่สำรวจภูเขาสูง พื้นที่ราบ และลุ่มน้ำ พบแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ดินแดนตะวันตก และพื้นที่แรกที่ขุดค้นพบ คือ <strong>แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จ.กาญจนบุรี</strong> ซึ่งได้ขุดพบร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์หลายยุค ตั้งแต่ 4,000 - 3,000 ปี แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ยังพบภาชนะที่สร้างลักษณะพิเศษแตกต่างจากที่อื่น คือ <strong>หม้อสามขา</strong> ชุมชนแห่งนี้มีประเพณีการฝังศพ โดยฝังลักษณะนอนหงายเหยียดตรง และมีการวางภาชนะดินเผาหลายอย่างไปพร้อมกับสิ่งของ เพื่อส่งให้กับผู้ล่วงลับ<br></p><p>นอกจากที่นี่แล้ว เนื้อหาตอนนี้เรายังนำเสนอเกี่ยวกับ<strong>แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร จ.สุพรรณบุรี</strong> ซึ่งมีอายุราว 4,000 - 3,500 ปี จากการขุดค้นพบว่ามีสิ่งของและประเพณีการฝังศพคล้ายกับที่บ้านเก่า จึงเชื่อได้ว่าแหล่งโบราณคดีทั้ง 2 แห่ง มีความเชื่อมโยงกัน นอกจากการค้นพบแหล่งโบราณคดี 2 แห่งที่กล่าวมา เนื้อหาในตอนนี้ยังรวบรวมการขุดค้นในอีกหลายพื้นที่ของดินแดนแถบตะวันตกมานำเสนอด้วย<span></span></p><p><strong>ติดตามในสารคดี "<strong>รากสุวรรณภูมิ</strong>" วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2565 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/Live" target="_blank">www.thaipbs.or.th/Live</a></strong></p>877102022-06-19 21:10:00qoderรากสุวรรณภูมิวิวัฒนาการมนุษย์แห่งลุ่มน้ำมูล The Human Evolution of Mun River Basin19 มิ.ย. 256511:26https://program.thaipbs.or.th/RakSuvarnabhumi/episodes/87710https://program.thaipbs.or.th/watch/B70ofw<p>เรื่องราวการขุดค้นพบ ความเชื่อมโยงของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์โบราณ บริเวณลุ่มน้ำมูลตอนบน แหล่งโบราณคดีที่ถ่ายทอดเรื่องราวการค้นพบหลักฐาน คือ แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท แหล่งโบราณคดีเนินอุโลก การขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่บ้านโนนวัด ถือเป็นครั้งแรกที่ค้นพบการเชื่อมโยงจากปัจจุบัน ย้อนกลับไปเมื่อ 4,000 ปีแล้ว</p><p>แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด นักโบราณคดีทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ใช้พื้นที่ขุดขนาด 1,000 ตารางเมตร กว่า 70 หลุม ขุดค้นพบวัฒนธรรมของมนุษย์โบราณ ตั้งแต่ยุคหินใหม่, สำริด และเหล็ก เรื่อยมา กระทั่งยุคปัจจุบัน โดยมีหลักฐานสำคัญ คือ โครงกระดูกมนุษย์ ถูกบรรจุในภาชนะดินเผา พร้อมกับเครื่องประดับและข้าวของเครื่องใช้ที่ทำจากหินขัด, กระดูกสัตว์, สำริด และเหล็ก นอกจากนี้ ภาชนะดินเผาที่พบยังมีลวดลายสวยงาม และที่แฝงปริศนาไว้ ลูกปัดชนิดต่าง ๆ เช่น ลูกปัดแก้ว, ลูกปัดสี, อาเกต และหินคาร์นิเลียน พบที่บ้านโนนวัด ยังบ่งชี้เรื่องราวการติดต่อกับกลุ่มคนภายนอก เช่น อินเดีย เป็นต้น รูปลักษณ์ของภาชนะดินเผา สะท้อนรูปแบบที่ชัดเจน เช่น รูปทรงปากแตร และรูปทรงที่เรียกว่า <strong>"ห้อมแบบพิมายดำ"</strong> ที่เชื่อมถึงรูปแบบอินเดีย</p><p>ลวดลายเขียนสีบนภาชนะดินเผาที่พบ เป็นลวดลายที่มีการแพร่หลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปถึงจีน และไห ซึ่งมีลวดลายงดงามเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้การขุดค้นที่นี่ยังทำให้เราได้รู้ถึงวิถีชีวิตเมื่อ 4,000 ปีก่อน การแก้ปัญหาสภาวะแวดล้อม โดยเฉพาะการแก้ปัญหาเรื่องน้ำ</p><p>นอกจากนี้เรายังพบว่ามนุษย์โบราณมีวิวัฒนาการความรู้ด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น การใช้ทองแดง, สำริด และเหล็ก ซึ่งไม่มีใครสามารถตอบได้ว่า มนุษย์ที่อาศัยบริเวณนี้นำภูมิปัญญาเหล่านี้มาจากที่ไหน และยังพบการติดต่อเชื่อมโยงกับคนภายนอกของคนโบราณที่บ้านโนนวัด จากการวิเคราะห์โบราณวัตถุแล้ว เมื่อนำดีเอ็นเอไปตรวจ พบว่ามีคนเชื้อสายอินเดียมาตั้งรกรากอยู่ที่บ้านโนนวัด ตั้งแต่เมื่อหลายพันปีก่อน พื้นที่แหล่งโบราณของอำเภอโนนสูง ทั้งแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท แหล่งโบราณคดีเนินอุโลก และแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด นักโบราณคดีเชื่อว่ามีการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนเกษตรกรรมมากว่า 4,000 ปี และเกิดวิวัฒนาการแบ่งชนชั้นทางสังคม<span></span></p><p><strong>ติดตามในสารคดี "<strong>รากสุวรรณภูมิ</strong>" วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2565 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/Live" target="_blank">www.thaipbs.or.th/Live</a></strong></p>874882022-06-12 21:10:00qoderรากสุวรรณภูมิอารยธรรมชายฝั่งตะวันออก The Civilization of East Coast12 มิ.ย. 256518:07https://program.thaipbs.or.th/RakSuvarnabhumi/episodes/87488https://program.thaipbs.or.th/watch/BypMU9<p>เรื่องราวเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ ศึกษาภูมิปัญญาและเทคโนโลยี และศึกษาโครงสร้างทางสังคมของมนุษย์โบราณกว่าหมื่นปี ที่ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตจากมนุษย์ป่าล่าสัตว์มาเป็นมนุษย์น้ำ หาสัตว์ทะเลเป็นอาหาร ก่อนจะเริ่มลงหลักปักฐาน กลายเป็นชุมชนที่เริ่มทำเกษตรกรรม เป็นชุมชนที่มีการจัดลำดับชนชั้นสถานะทางสังคม ที่นี่คือ <strong>"โคกพนมดี"</strong> ชุมชน 4,000 ปี ในลุ่มน้ำปางปะกง แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี ได้ทำการสำรวจและขุดค้นเริ่มตั้งแต่ปี 2516 พบว่าเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและหลุมฝังศพ มีการขุดพบโครงกระดูกจำนวน 178 โครง พบว่ามีทั้งหญิง, ชาย, เด็กทารก และการค้นพบในครั้งนี้ยังทำให้เราได้เห็นวัฒนธรรมการฝังศพของคนในอดีต โดยพบว่ามีการแบ่งชนชั้น โดยคนรวยจะมีเครื่องประดับมากมาย และมีการฝังอยู่คนละโซนกับคนจน ซึ่งไม่มีข้าวของฝังในศพมากนัก และโครงกระดูกที่เป็นที่รู้จักและเป็นตำนานของโคกพนมดีนั้น คือ <strong>"นางพญาโคกพนมดี"</strong> ซึ่งเป็นโครงกระดูกสตรีที่มีเครื่องประดับจำนวนมหาศาลฝังร่วมด้วย</p><p><strong>ติดตามในสารคดี "<strong>รากสุวรรณภูมิ</strong>" วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน 2565 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/Live" target="_blank">www.thaipbs.or.th/Live</a></strong></p>871392022-06-05 21:10:00qoderรากสุวรรณภูมิปฐมบทแห่งสุวรรณภูมิ The Beginning of Suvarnabhumi5 มิ.ย. 256517:47https://program.thaipbs.or.th/RakSuvarnabhumi/episodes/87139https://program.thaipbs.or.th/watch/BYvFBq<p>เรื่องราวของนักโบราณคดี วิถี และวัฒนธรรม จะพาย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้น <strong>“ยุคน้ำแข็ง”</strong> ในดินแดนไทยปัจจุบันเมื่อหลายหมื่นปีก่อน เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นคุณค่าแห่ง <strong>“รากสุวรรณภูมิ”</strong><br></p><p>พาย้อนกลับไปที่<strong>ถ้ำผีแมนโลงลงรัก ถ้ำลอด</strong> อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน แหล่งโบราณคดีที่มีความสำคัญมากที่สุดแหล่งหนึ่งของประเทศไทย เพื่อนำเสนอเรื่องราวของการขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ เมื่อหลายหมื่นปีก่อน การขุดค้นพบที่ทำให้เราได้เห็นใบหน้าของผู้หญิงในอดีตที่มีอายุราว 13,000 ปี และนอกจากนี้การขุดค้นในครั้งนี้ นักโบราณคดียังพบหลักฐานสำคัญ คือ การค้นพบวัตถุโบราณ เครื่องปั้นดินเผา ลูกปัด และกระดูกของสัตว์หายากหลายชนิด ซึ่งหลักฐานเหล่านี้ทำให้เราได้รู้เรื่องราวของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เพื่อเชื่อมโยงสู่สุวรรณภูมิ ก่อนจะเป็นประเทศไทย</p><p><strong>ติดตามในสารคดี "<strong>รากสุวรรณภูมิ</strong>" วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน 2565 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง <a href="http://www.thaipbs.or.th/Live" target="_blank">www.thaipbs.or.th/Live</a></strong><br></p>