กุดชุม เศรษฐกิจสีเขียว

18 มี.ค. 58
แนวการดำเนินเรื่องนำเสนอให้เห็นอุดมการณ์ “เกษตรอินทรีย์เพื่อสังคม” ซึ่งเป็นอุดมการณ์สำคัญที่ชาวบ้านที่นี่ยึดมั่นเรื่องคุณธรรม ธรรมะ และสร้างจิตสำนึกที่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม จนตกผลึกอยู่ในใจใช้เป็นแนวทางในการดำรงวิถีชีวิตทุกมิติ และสามารถสร้างเศรษฐกิจสีเขียวขึ้นมาได้อย่างยั่งยืนจนถึงทุกวันนี้ชุมชนเศรษฐกิจสีเขียว นำเสนอ อ.กุดชุม จ.ยโสธร ที่สามารถจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจได้อย่างครบวงจร ทั้งด้านการผลิต และการตลาดการผลิต กุดชุมใช้พื้นฐานจากการทำ “เกษตรอินทรีย์”ที่เกษตรกรสามารถควบคุมปัจจัยการผลิต เพื่อควบคุมต้นทุนในการผลิต โดยใช้กลยุทธ์ตัดปัจจัยการผลิตจากภายนอกออกไปให้มากที่สุด (ตัดค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ยและยาฆ่าแมลงออกไป ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เยอะมากและทำให้เกษตรกรเป็นหนี้มากที่สุด ตัดค่าใช้จ่ายการซื้อเมล็ดพันธุ์ออกไป รณรงค์ให้เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ใช้เอง) และใช้ปัจจัยการผลิตที่ไม่ต้องไปซื้อหา เช่น ใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก ปลูกผักตามฤดูกาลเพื่อไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง การตลาด เกษตรกรมีช่องทางการขายของตนเองด้วยการจัดตั้ง “ตลาดสีเขียว” ที่มีทุกสัปดาห์ ตลาดสีเขียวคือตลาดที่มีแนวคิดเปิดพื้นที่ให้ผู้บริโภคได้มาพบกับผู้ผลิตโดยตรง เปิดพื้นที่ให้เกษตรกรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเข้ามาขายผลผลิตได้ทุกสัปดาห์ ทำให้เกษตรกรมีรายได้ตลอดทั้งปี และปลูกพืชผักต่างๆ หมุนเวียนไปทุกฤดูกาล กุดชุมเป็นชุมชนที่สามารถสร้าง “ตลาดสีเขียว” ที่เข้มแข็งมากที่สุดต่อเนื่องกันมาถึง 4 ปีแล้วด้วยแนวทางการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ควบคุมต้นทุนการผลิตได้ บวกกับการมีตลาดสีเขียวที่เข้มแข็ง จึงสามารถแก้ปัญหาความยากจน และปัญหาหนี้สินของเกษตรกรได้ที่ต้นเหตุเบี้ยกุดชุม นอกจากนี้ชุมชนกุดชุมยังมีชื่อเสียงโดดเด่นขึ้นมาจากกรณี “เบี้ยกุดชุม” ความพยายามครั้งแรกในประเทศไทย ที่ชาวบ้านพยายามจะมีระบบเงินตราชุมชน (Community Currency) ขึ้นมาใช้เองในชุมชน ซึ่งเบี้ยกุดชุมก็เปรียบเสมือนคูปอง การถือเบี้ยกุดชุมไว้ ก็เพื่อให้ชาบ้านซื้อขายแลกเปลี่ยนกันในชุมชนก่อน ทักษะหรือสินค้าใดที่มีในชุมชนก็ให้ซื้อในชุมชนก่อน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการผลิตในชุมชน ให้เงินตราหมุนเวียนภายในชุมชน ทำให้เศรษฐกิจภายในชุมชนคึกคักและเติบโต แต่น่าเสียดายที่เบี้ยกุดชุมทำอยู่ได้ไม่กี่เดือน แบงค์ชาติก็บอกให้ชาวบ้านหยุด และบอกว่าชาวบ้านทำผิดกฏหมายเนื่องจากเป็นสิ่งของเลียนแบบเงินตราโครงสร้างเศรษฐกิจของกุดชุมเริ่มจากการมี “เศรษฐกิจครัวเรือน” ที่มั่นคง พวกเขาปลูกข้าว ปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคในครัวเรือน ถ้าเหลือจึงนำไปแลกเปลี่ยนในชุมชน เกิดเป็น “เศรษฐกิจชุมชน” และมีการ “แลกเปลี่ยนกับภายนอกชุมชน” ที่ตลาดสีเขียว ซึ่งมีทั้งที่ตัว อ.กุดชุม และที่ อ.เมืองยโสธร นอกจากนี้ยังส่งข้าวอินทรีย์ไปขายทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ นำเงินรายได้กลับเข้าประเทศและเข้าสู่ชุมชนโดยตรงติดตามชมรายการเมืองดลใจ ตอน กุดชุม เศรษฐกิจสีเขียว วันพุธที่ 18 มีนาคม 2558 เวลา 22.35 - 23.30 น.ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

กุดชุม เศรษฐกิจสีเขียว

18 มี.ค. 58
แนวการดำเนินเรื่องนำเสนอให้เห็นอุดมการณ์ “เกษตรอินทรีย์เพื่อสังคม” ซึ่งเป็นอุดมการณ์สำคัญที่ชาวบ้านที่นี่ยึดมั่นเรื่องคุณธรรม ธรรมะ และสร้างจิตสำนึกที่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม จนตกผลึกอยู่ในใจใช้เป็นแนวทางในการดำรงวิถีชีวิตทุกมิติ และสามารถสร้างเศรษฐกิจสีเขียวขึ้นมาได้อย่างยั่งยืนจนถึงทุกวันนี้ชุมชนเศรษฐกิจสีเขียว นำเสนอ อ.กุดชุม จ.ยโสธร ที่สามารถจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจได้อย่างครบวงจร ทั้งด้านการผลิต และการตลาดการผลิต กุดชุมใช้พื้นฐานจากการทำ “เกษตรอินทรีย์”ที่เกษตรกรสามารถควบคุมปัจจัยการผลิต เพื่อควบคุมต้นทุนในการผลิต โดยใช้กลยุทธ์ตัดปัจจัยการผลิตจากภายนอกออกไปให้มากที่สุด (ตัดค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ยและยาฆ่าแมลงออกไป ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เยอะมากและทำให้เกษตรกรเป็นหนี้มากที่สุด ตัดค่าใช้จ่ายการซื้อเมล็ดพันธุ์ออกไป รณรงค์ให้เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ใช้เอง) และใช้ปัจจัยการผลิตที่ไม่ต้องไปซื้อหา เช่น ใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก ปลูกผักตามฤดูกาลเพื่อไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง การตลาด เกษตรกรมีช่องทางการขายของตนเองด้วยการจัดตั้ง “ตลาดสีเขียว” ที่มีทุกสัปดาห์ ตลาดสีเขียวคือตลาดที่มีแนวคิดเปิดพื้นที่ให้ผู้บริโภคได้มาพบกับผู้ผลิตโดยตรง เปิดพื้นที่ให้เกษตรกรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเข้ามาขายผลผลิตได้ทุกสัปดาห์ ทำให้เกษตรกรมีรายได้ตลอดทั้งปี และปลูกพืชผักต่างๆ หมุนเวียนไปทุกฤดูกาล กุดชุมเป็นชุมชนที่สามารถสร้าง “ตลาดสีเขียว” ที่เข้มแข็งมากที่สุดต่อเนื่องกันมาถึง 4 ปีแล้วด้วยแนวทางการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ควบคุมต้นทุนการผลิตได้ บวกกับการมีตลาดสีเขียวที่เข้มแข็ง จึงสามารถแก้ปัญหาความยากจน และปัญหาหนี้สินของเกษตรกรได้ที่ต้นเหตุเบี้ยกุดชุม นอกจากนี้ชุมชนกุดชุมยังมีชื่อเสียงโดดเด่นขึ้นมาจากกรณี “เบี้ยกุดชุม” ความพยายามครั้งแรกในประเทศไทย ที่ชาวบ้านพยายามจะมีระบบเงินตราชุมชน (Community Currency) ขึ้นมาใช้เองในชุมชน ซึ่งเบี้ยกุดชุมก็เปรียบเสมือนคูปอง การถือเบี้ยกุดชุมไว้ ก็เพื่อให้ชาบ้านซื้อขายแลกเปลี่ยนกันในชุมชนก่อน ทักษะหรือสินค้าใดที่มีในชุมชนก็ให้ซื้อในชุมชนก่อน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการผลิตในชุมชน ให้เงินตราหมุนเวียนภายในชุมชน ทำให้เศรษฐกิจภายในชุมชนคึกคักและเติบโต แต่น่าเสียดายที่เบี้ยกุดชุมทำอยู่ได้ไม่กี่เดือน แบงค์ชาติก็บอกให้ชาวบ้านหยุด และบอกว่าชาวบ้านทำผิดกฏหมายเนื่องจากเป็นสิ่งของเลียนแบบเงินตราโครงสร้างเศรษฐกิจของกุดชุมเริ่มจากการมี “เศรษฐกิจครัวเรือน” ที่มั่นคง พวกเขาปลูกข้าว ปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคในครัวเรือน ถ้าเหลือจึงนำไปแลกเปลี่ยนในชุมชน เกิดเป็น “เศรษฐกิจชุมชน” และมีการ “แลกเปลี่ยนกับภายนอกชุมชน” ที่ตลาดสีเขียว ซึ่งมีทั้งที่ตัว อ.กุดชุม และที่ อ.เมืองยโสธร นอกจากนี้ยังส่งข้าวอินทรีย์ไปขายทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ นำเงินรายได้กลับเข้าประเทศและเข้าสู่ชุมชนโดยตรงติดตามชมรายการเมืองดลใจ ตอน กุดชุม เศรษฐกิจสีเขียว วันพุธที่ 18 มีนาคม 2558 เวลา 22.35 - 23.30 น.ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย