ศักดิ์ศรีคนจน บ้านล่างพูนทรัพย์

4 ก.พ. 58
“บ้าน” สำหรับใครหลายคน มิใช่ความหมายในลักษณะกายภาพเท่านั้น แต่ “บ้าน” คือ พื้นที่ให้ความอบอุ่น มีความมั่นคงทางด้านจิตใจ มีวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ วิถีดำเนินชีวิตของผู้คน ความผูกพันต่อถิ่นฐานที่อยู่เดิม โครงการพัฒนาสนับสนุนให้ผู้มีรายได้น้อย หรือด้อยโอกาสในสังคมได้มีบ้านของภาครัฐ มักเป็นการโยกย้ายคนออกจากพื้นที่เดิมไปอยู่ที่แห่งใหม่ที่จัดสรรไว้ให้ มิได้สำรวจความต้องการเบื้องลึก หรือมองอย่างรอบด้านถึงมิติอื่นๆ หรือการช่วยเหลือสงเคราะห์ที่หยิบยื่นให้เป็นคราวๆ นั้น ขาดการให้มีส่วนร่วมของชาวบ้านในการรวมพลัง ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันแก้ไขปัญหาและฝ่าฟัน เพื่อสร้างความยั่งยืนและยืนหยัดต่อไปได้อย่างแท้จริง... ชุมชนบ้านล่างพูนทรัพย์ จังหวัดจันทบุรี หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่าเนินเอฟเอ็ม (เพราะเป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุทหารเรือ ถือเป็นเส้นแบ่งพื้นที่เขตเมืองจันท์อันเป็นที่ตั้งสถานที่สำคัญ) ในปี 2510 เทศบาลจันทบุรีได้ใช้ที่ดินหลังเนินเอฟเอ็มเป็นที่ทิ้งขยะของเมืองจันท์ สมัยนั้นยังไม่มีชุมชนตั้งอยู่ ลูกจ้างเทศบาลส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนยากจนและคนไม่มีที่อยู่ ก็มาหากินรอบๆ กองขยะ เดิมทีมีประมาณ 6 ครอบครัวต่อมาเริ่มมีคนอพยพเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น และขยับย้ายไปอีกที่หนึ่งเมื่อเทศบาลทิ้งขยะมาใกล้บ้าน เทศบาลเริ่มทำการไล่รื้อตั้งแต่ก่อนปี 2520 รื้อหนักในปี 2522 จนปี 2523 เทศบาลเริ่มไล่ที่จากเนินด้านลนมาถึงกลางชุมชนและโรงฆ่าสัตว์ของเทศบาล บ้านเพิงไม้ที่ปลูกอย่างกระจัดกระจาย ไร้ระเบียบ เทศบาลที่แผนที่จะพัฒนาพื้นที่จึงให้เจ้าหน้าที่เอารถดับเพลิงมาพังบ้านในปี 2530 เพื่อทำการไล่ชาวบ้าน แต่ชาวบ้านไม่มีที่ไป ถูกไล่ที่มา 4 ครั้ง ถอยร่นไปเรื่อยๆ จนย้ายไปอยู่ชิดคลองปลายปี 2546 เริ่มมีการรวมตัวกันทว่าไม่เป็นกลุ่มก้อน ช่วงปี 2547 เจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เข้ามาพูดคุยและทำความเข้าใจ เริ่มให้ความช่วยเหลือพร้อมคำแนะนำ ปี 2548 ชาวบ้านเลือกผู้นำชุมชนคือ สามารถ สุนทรวงศ์ พร้อมกรรมการทั้งหมด 15 คน และจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ้นมาการร่วมคิด ร่วมทำ รวมพลังเพื่อต่อสู้ ของชาวบ้านที่ส่วนใหญ่เป็นพนักงานทำความสะอาด กวาดถนนและขับรถเก็บขยะของเทศบาล การเก็บหอมรอมริบและรวมกลุ่มออมทรัพย์ จ่ายค่าบ้าน และยังเป็นสวัสดิการแก่คนในชุมชน กรณีเกิด แก่ เจ็บ ตาย (บ้านหลังที่สหกรณ์ยกค่าผ่อนส่วนที่เหลือให้เนื่องจากพ่อผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงคนสำคัญเสียชีวิต) ออมรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน การมีบ้าน นำมาซึ่งการมีเลขที่บ้าน มีทะเบียนบ้าน มีตัวตนและสิทธิเสียงในสังคม เรื่องราวการต่อสู้ที่กินระยะเวลายาวนานหลายปี เมื่อคนยากจนจากที่ไม่มี ได้มีบ้าน คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ฉายเด่นชัดขึ้นในตัวพวกเขา พร้อมจะแบ่งปันเอื้อเฟื้อไปยังเพื่อนมนุษย์ในพื้นที่อื่นๆ เพื่อให้ได้มีบ้านเช่นเดียวกันติดตามชมรายการเมืองดลใจ ตอน ศักดิ์ศรีคนจน บ้านล่างพูนทรัพย์ วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 22.35 - 23.30 น.ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

ศักดิ์ศรีคนจน บ้านล่างพูนทรัพย์

4 ก.พ. 58
“บ้าน” สำหรับใครหลายคน มิใช่ความหมายในลักษณะกายภาพเท่านั้น แต่ “บ้าน” คือ พื้นที่ให้ความอบอุ่น มีความมั่นคงทางด้านจิตใจ มีวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ วิถีดำเนินชีวิตของผู้คน ความผูกพันต่อถิ่นฐานที่อยู่เดิม โครงการพัฒนาสนับสนุนให้ผู้มีรายได้น้อย หรือด้อยโอกาสในสังคมได้มีบ้านของภาครัฐ มักเป็นการโยกย้ายคนออกจากพื้นที่เดิมไปอยู่ที่แห่งใหม่ที่จัดสรรไว้ให้ มิได้สำรวจความต้องการเบื้องลึก หรือมองอย่างรอบด้านถึงมิติอื่นๆ หรือการช่วยเหลือสงเคราะห์ที่หยิบยื่นให้เป็นคราวๆ นั้น ขาดการให้มีส่วนร่วมของชาวบ้านในการรวมพลัง ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันแก้ไขปัญหาและฝ่าฟัน เพื่อสร้างความยั่งยืนและยืนหยัดต่อไปได้อย่างแท้จริง... ชุมชนบ้านล่างพูนทรัพย์ จังหวัดจันทบุรี หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่าเนินเอฟเอ็ม (เพราะเป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุทหารเรือ ถือเป็นเส้นแบ่งพื้นที่เขตเมืองจันท์อันเป็นที่ตั้งสถานที่สำคัญ) ในปี 2510 เทศบาลจันทบุรีได้ใช้ที่ดินหลังเนินเอฟเอ็มเป็นที่ทิ้งขยะของเมืองจันท์ สมัยนั้นยังไม่มีชุมชนตั้งอยู่ ลูกจ้างเทศบาลส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนยากจนและคนไม่มีที่อยู่ ก็มาหากินรอบๆ กองขยะ เดิมทีมีประมาณ 6 ครอบครัวต่อมาเริ่มมีคนอพยพเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น และขยับย้ายไปอีกที่หนึ่งเมื่อเทศบาลทิ้งขยะมาใกล้บ้าน เทศบาลเริ่มทำการไล่รื้อตั้งแต่ก่อนปี 2520 รื้อหนักในปี 2522 จนปี 2523 เทศบาลเริ่มไล่ที่จากเนินด้านลนมาถึงกลางชุมชนและโรงฆ่าสัตว์ของเทศบาล บ้านเพิงไม้ที่ปลูกอย่างกระจัดกระจาย ไร้ระเบียบ เทศบาลที่แผนที่จะพัฒนาพื้นที่จึงให้เจ้าหน้าที่เอารถดับเพลิงมาพังบ้านในปี 2530 เพื่อทำการไล่ชาวบ้าน แต่ชาวบ้านไม่มีที่ไป ถูกไล่ที่มา 4 ครั้ง ถอยร่นไปเรื่อยๆ จนย้ายไปอยู่ชิดคลองปลายปี 2546 เริ่มมีการรวมตัวกันทว่าไม่เป็นกลุ่มก้อน ช่วงปี 2547 เจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เข้ามาพูดคุยและทำความเข้าใจ เริ่มให้ความช่วยเหลือพร้อมคำแนะนำ ปี 2548 ชาวบ้านเลือกผู้นำชุมชนคือ สามารถ สุนทรวงศ์ พร้อมกรรมการทั้งหมด 15 คน และจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ้นมาการร่วมคิด ร่วมทำ รวมพลังเพื่อต่อสู้ ของชาวบ้านที่ส่วนใหญ่เป็นพนักงานทำความสะอาด กวาดถนนและขับรถเก็บขยะของเทศบาล การเก็บหอมรอมริบและรวมกลุ่มออมทรัพย์ จ่ายค่าบ้าน และยังเป็นสวัสดิการแก่คนในชุมชน กรณีเกิด แก่ เจ็บ ตาย (บ้านหลังที่สหกรณ์ยกค่าผ่อนส่วนที่เหลือให้เนื่องจากพ่อผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงคนสำคัญเสียชีวิต) ออมรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน การมีบ้าน นำมาซึ่งการมีเลขที่บ้าน มีทะเบียนบ้าน มีตัวตนและสิทธิเสียงในสังคม เรื่องราวการต่อสู้ที่กินระยะเวลายาวนานหลายปี เมื่อคนยากจนจากที่ไม่มี ได้มีบ้าน คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ฉายเด่นชัดขึ้นในตัวพวกเขา พร้อมจะแบ่งปันเอื้อเฟื้อไปยังเพื่อนมนุษย์ในพื้นที่อื่นๆ เพื่อให้ได้มีบ้านเช่นเดียวกันติดตามชมรายการเมืองดลใจ ตอน ศักดิ์ศรีคนจน บ้านล่างพูนทรัพย์ วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 22.35 - 23.30 น.ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย