ร่วมเปลี่ยนโลก ด้วยชุมชน คนท้องถิ่น (จบ)

20 พ.ค. 58
เดินทางมาถึงบทสรุปสุดท้ายของสารคดีเมืองดลใจแล้ว แม้จะเป็นตอนจบของสารคดี แต่แนวคิดกระจายอำนาจยังคงต้องเดินหน้าต่อไปนับจากนี้ เพื่อเป็นทางออกหนึ่งให้กับสังคมไทย จากการเดินทางไปเรียนรู้ในชุมชนเข้มแข็งทั่วประเทศไทย เราได้เห็นถึงพลังสร้างสรรค์ของคนตัวเล็กๆ ที่ล้วนมีความใฝ่ฝันถึงสิ่งที่ดีกว่าสำหรับชุมชนของพวกเขา ผู้นำเหล่านั้นรวมกลุ่มกันสร้างพลังกลุ่ม การทำงานต่อเนื่องยาวนานอย่างไม่เคยหยุดของมดงานเล็กๆ เหล่านั้น ทำให้สามารถขยายขอบเขตสู่การสร้างพลังชุมชนได้ในที่สุดผลการทำงานของพวกเขาที่สะท้อนออกมาด้วยการพัฒนาชุมชนในมิติต่างๆ เป็นบทพิสูจน์ให้เห็นว่าอำนาจในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ และอำนาจในการกำหนดชะตากรรมของตนเองของคนในชุมชนนั้นมีพร้อมอยู่แล้ว และกำลังขับเคลื่อนจากรากฐานที่สุด เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย เพื่อกระจายอำนาจการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ที่จะมีผลต่อชีวิตของคนในชุมชน ให้อำนาจการตัดสินใจอยู่ที่คนในชุมชนให้มากที่สุดเมื่อได้เรียนรู้จากทั้ง 14 ชุมชนเข้มแข็งทั่วประเทศไทยแล้ว ถึงเวลาที่ใหม่ ยุทธ และนุ่น จะได้มาถอดบทเรียนร่วมกัน โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านเข้ามาชี้แนะในมิติต่างๆ ดังนี้ศาสตราจารย์ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้มีความเชี่ยวชาญพิเศษในด้านมานุษยวิทยาเศรษฐกิจ การจัดการทรัพยากรและพัฒนา ระบบกรรมสิทธิ์และการถือครองที่ดิน ประวัติศาสตร์สังคมชนบท ประวัติศาสตร์สังคมล้านนา พิธีกรรมและความเชื่อ ทฤษฎีสังคมและการพัฒนา และชาติพันธุ์วิทยา อาจารย์จะมาให้ความกระจ่างเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความท้าทายในทศวรรษหน้า และตอบคำถามที่ว่า การกระจายอำนาจเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไรบาทหลวงนิพจน์ เทียนวิหาร บาทหลวงคาทอลิก ผู้คลุกคลีทำงานพัฒนากับชาวบ้านในชุมชน จนเข้าใจภาพวิถีชีวิตของชาวบ้านแจ่มชัดกระทั่งตกผลึกเป็นกระบวนการทำงานพัฒนาในแนวทางวัฒนธรรมชุมชน เป็นคนแรกๆ ที่นำเสนอแนวคิดที่ว่า การพัฒนาชุมชนต้องเริ่มจากฐานวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งที่สุดของชาวบ้านอ.ประมวล เพ็งจันทร์ เชื่อมโยงสู่มิติการพัฒนามนุษย์จากด้านใน ในการทำงานพัฒนาชุมชน หรือแม้กระทั่งเวลาพูดถึงเรื่องกระจายอำนาจ ต้องประกอบทั้งมิติด้านใน ที่เป็นความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อสิ่งต่างๆ ที่กำลังทำ ความมุ่งมั่น ความศรัทธาในตนเองและในมนุษย์คนอื่น เพื่อที่จะดึงศักยภาพที่มีอยู่ในตนเองออกมาใช้ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ซึ่งการพัฒนามิติด้านนอกนั้นมีความเชื่อมโยงกับการพัฒนามิติด้านในของมนุษย์ และต้องพัฒนาไปพร้อมกันอยู่เสมอโดยประเด็นที่จะนำเสนอมีดังนี้คือ1. ที่มาของแนวคิดกระจายอำนาจ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากการรวมศูนย์อำนาจ 2. การจัดการตนเองในแนวทางพึ่งตนเอง สิ่งดีๆ ที่เกิดจากการที่คนในชุมชน ได้สร้างพลังจากภายในชุมชน การเป็นเกิดโครงการพัฒนาชุมชนในมิติต่างๆ และการจัดการตนเองในมิติต่างๆ ในแนวทางของการพึ่งตนเอง- ด้านการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นธรรม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (ท่าศาลา, แก่งเสือเต้น, อ่าวอุดม, ปากพะยูน)- ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน และความมั่นคงทางอาหาร (แม่ทา, กุดชุม, ครัวใบโหนด)- ด้านการศึกษา (โรงเรียนครอบครัว, เชียงใหม่จัดการตนเอง)- ด้านวัฒนธรรม (น่าน, เชียงใหม่จัดการตนเอง)- ด้านเศรษฐกิจ (หนองสาหร่าย)- ด้านพลังงาน (ป่าเด็ง)- ด้านการท่องเที่ยว (บ้านน้ำเชี่ยว)- ด้านที่อยู่อาศัย (บ้านล่างพูนทรัพย์)บางชุมชนอาจจะมีการจัดการตนเองในหลายด้าน อันนี้แค่ทำให้เห็นภาพคร่าวๆ 3. การพัฒนาผู้นำ + การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสร้างผู้นำตามธรรมชาติ การสร้างผู้นำรุ่นใหม่ กระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ที่ทำให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง4. การพัฒนามนุษย์ เชื่อมโยงสู่มิติการพัฒนามนุษย์จากมิติด้านใน นำกระบวนการและถอดบทเรียนโดย อ.ประมวล เพื่อที่จะสื่อสารว่า เรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้นั้นมันเริ่มจากมนุษย์ เกิดขึ้นมาจากพลังภายในจิตใจ และจิตวิญญาณของมนุษย์ทั้งสิ้น ซึ่งทั้งมิติด้านใน และมิติด้านนอกนั้นมีความเชื่อมโยงกัน และต้องพัฒนาไปพร้อมกันอยู่เสมอติดตามชมรายการเมืองดลใจ ตอน ร่วมเปลี่ยนโลก ด้วยชุมชน คนท้องถิ่น (ตอนจบ) วันพุธที่ 20 พฤษภาคม 2558 เวลา 22.35 - 23.30 น.ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

ร่วมเปลี่ยนโลก ด้วยชุมชน คนท้องถิ่น (จบ)

20 พ.ค. 58
เดินทางมาถึงบทสรุปสุดท้ายของสารคดีเมืองดลใจแล้ว แม้จะเป็นตอนจบของสารคดี แต่แนวคิดกระจายอำนาจยังคงต้องเดินหน้าต่อไปนับจากนี้ เพื่อเป็นทางออกหนึ่งให้กับสังคมไทย จากการเดินทางไปเรียนรู้ในชุมชนเข้มแข็งทั่วประเทศไทย เราได้เห็นถึงพลังสร้างสรรค์ของคนตัวเล็กๆ ที่ล้วนมีความใฝ่ฝันถึงสิ่งที่ดีกว่าสำหรับชุมชนของพวกเขา ผู้นำเหล่านั้นรวมกลุ่มกันสร้างพลังกลุ่ม การทำงานต่อเนื่องยาวนานอย่างไม่เคยหยุดของมดงานเล็กๆ เหล่านั้น ทำให้สามารถขยายขอบเขตสู่การสร้างพลังชุมชนได้ในที่สุดผลการทำงานของพวกเขาที่สะท้อนออกมาด้วยการพัฒนาชุมชนในมิติต่างๆ เป็นบทพิสูจน์ให้เห็นว่าอำนาจในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ และอำนาจในการกำหนดชะตากรรมของตนเองของคนในชุมชนนั้นมีพร้อมอยู่แล้ว และกำลังขับเคลื่อนจากรากฐานที่สุด เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย เพื่อกระจายอำนาจการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ที่จะมีผลต่อชีวิตของคนในชุมชน ให้อำนาจการตัดสินใจอยู่ที่คนในชุมชนให้มากที่สุดเมื่อได้เรียนรู้จากทั้ง 14 ชุมชนเข้มแข็งทั่วประเทศไทยแล้ว ถึงเวลาที่ใหม่ ยุทธ และนุ่น จะได้มาถอดบทเรียนร่วมกัน โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านเข้ามาชี้แนะในมิติต่างๆ ดังนี้ศาสตราจารย์ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้มีความเชี่ยวชาญพิเศษในด้านมานุษยวิทยาเศรษฐกิจ การจัดการทรัพยากรและพัฒนา ระบบกรรมสิทธิ์และการถือครองที่ดิน ประวัติศาสตร์สังคมชนบท ประวัติศาสตร์สังคมล้านนา พิธีกรรมและความเชื่อ ทฤษฎีสังคมและการพัฒนา และชาติพันธุ์วิทยา อาจารย์จะมาให้ความกระจ่างเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความท้าทายในทศวรรษหน้า และตอบคำถามที่ว่า การกระจายอำนาจเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไรบาทหลวงนิพจน์ เทียนวิหาร บาทหลวงคาทอลิก ผู้คลุกคลีทำงานพัฒนากับชาวบ้านในชุมชน จนเข้าใจภาพวิถีชีวิตของชาวบ้านแจ่มชัดกระทั่งตกผลึกเป็นกระบวนการทำงานพัฒนาในแนวทางวัฒนธรรมชุมชน เป็นคนแรกๆ ที่นำเสนอแนวคิดที่ว่า การพัฒนาชุมชนต้องเริ่มจากฐานวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งที่สุดของชาวบ้านอ.ประมวล เพ็งจันทร์ เชื่อมโยงสู่มิติการพัฒนามนุษย์จากด้านใน ในการทำงานพัฒนาชุมชน หรือแม้กระทั่งเวลาพูดถึงเรื่องกระจายอำนาจ ต้องประกอบทั้งมิติด้านใน ที่เป็นความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อสิ่งต่างๆ ที่กำลังทำ ความมุ่งมั่น ความศรัทธาในตนเองและในมนุษย์คนอื่น เพื่อที่จะดึงศักยภาพที่มีอยู่ในตนเองออกมาใช้ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ซึ่งการพัฒนามิติด้านนอกนั้นมีความเชื่อมโยงกับการพัฒนามิติด้านในของมนุษย์ และต้องพัฒนาไปพร้อมกันอยู่เสมอโดยประเด็นที่จะนำเสนอมีดังนี้คือ1. ที่มาของแนวคิดกระจายอำนาจ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากการรวมศูนย์อำนาจ 2. การจัดการตนเองในแนวทางพึ่งตนเอง สิ่งดีๆ ที่เกิดจากการที่คนในชุมชน ได้สร้างพลังจากภายในชุมชน การเป็นเกิดโครงการพัฒนาชุมชนในมิติต่างๆ และการจัดการตนเองในมิติต่างๆ ในแนวทางของการพึ่งตนเอง- ด้านการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นธรรม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (ท่าศาลา, แก่งเสือเต้น, อ่าวอุดม, ปากพะยูน)- ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน และความมั่นคงทางอาหาร (แม่ทา, กุดชุม, ครัวใบโหนด)- ด้านการศึกษา (โรงเรียนครอบครัว, เชียงใหม่จัดการตนเอง)- ด้านวัฒนธรรม (น่าน, เชียงใหม่จัดการตนเอง)- ด้านเศรษฐกิจ (หนองสาหร่าย)- ด้านพลังงาน (ป่าเด็ง)- ด้านการท่องเที่ยว (บ้านน้ำเชี่ยว)- ด้านที่อยู่อาศัย (บ้านล่างพูนทรัพย์)บางชุมชนอาจจะมีการจัดการตนเองในหลายด้าน อันนี้แค่ทำให้เห็นภาพคร่าวๆ 3. การพัฒนาผู้นำ + การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสร้างผู้นำตามธรรมชาติ การสร้างผู้นำรุ่นใหม่ กระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ที่ทำให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง4. การพัฒนามนุษย์ เชื่อมโยงสู่มิติการพัฒนามนุษย์จากมิติด้านใน นำกระบวนการและถอดบทเรียนโดย อ.ประมวล เพื่อที่จะสื่อสารว่า เรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้นั้นมันเริ่มจากมนุษย์ เกิดขึ้นมาจากพลังภายในจิตใจ และจิตวิญญาณของมนุษย์ทั้งสิ้น ซึ่งทั้งมิติด้านใน และมิติด้านนอกนั้นมีความเชื่อมโยงกัน และต้องพัฒนาไปพร้อมกันอยู่เสมอติดตามชมรายการเมืองดลใจ ตอน ร่วมเปลี่ยนโลก ด้วยชุมชน คนท้องถิ่น (ตอนจบ) วันพุธที่ 20 พฤษภาคม 2558 เวลา 22.35 - 23.30 น.ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย