เจาะความลับของธรรมชาติ ตอน ก่อกำเนิด และสัตว์ใส่เสื้อเกราะ

ออกอากาศ28 ม.ค. 62

# David Attenborough's Natural Curiosities S.2 : Ep.1 Virgin Births

มังกรโคโมโดและเพลี้ย ซึ่งเพศเมียให้กำเนิดลูกโดยไม่ต้องผสมกับเพศผู้ หรือที่เรียกว่ากระบวนการ “พาร์ธีโนเจนนีซิส” สำหรับมังกรโคโมโดผลิตลูกได้โดยไม่ต้องอาศัยเพศชายเพราะในเซลล์ไข่ของเพศเมียมีทั้งโครโมโซมเพศหญิงและเพศชาย ส่วนเพลี้ยเพศเมียใช้วิธีโคลนนิ่งตัวเอง นั่นคือเพศเมียจะมีลูกอยู่ในท้องตั้งแต่เกิด และลูกที่กำลังเติบโตอยู่ในท้องก็มี “หลาน”ซึ่งโตเต็มวัยอยู่ในท้องของมัน เรียกว่ามีเพลี้ยหลายชั่วอายุซึ่งเกิดเหลื่อมเวลากันวิธีนี้ทำให้เพลี้ยผลิตลูกได้เป็นจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็วดังนั้น กระบวนการ “พาร์ธีโนเจนนีซิส”จึงช่วยปกป้องสัตว์จากการสูญพันธุ์ ถ้ามันไปอยู่ในที่ ๆ ไม่มีเพศผู้ เช่น เกาะที่อยู่ห่างไกลเป็นต้น

# David Attenborough's Natural Curiosities S.2 : Ep.2 Armoured Animals

แรดได้ปรากฏตัวเป็นครั้งแรกในกลางศตวรรษที่ 18 เมื่อชาวดัทช์คนหนึ่งนำมันมาตระเวนแสดงทั่วยุโรป แรดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ ขาสั้น แต่ที่โดดเด่นคือหนังที่หนามากซึ่งพับเป็นแผ่นปกคลุมร่างกายเหมือนเสื้อเกราะ เชื่อกันว่าหนังนี้ใช้ป้องกันตัวและแมลงต่าง ๆ และนอเดี่ยวที่เหนือจมูก ซึ่งจะร่วงและขึ้นมาใหม่ตลอดช่วงอายุของมัน

ส่วนเม่น ในที่นี้เป็นเม่นแคระและเม่นหงอน เม่นแคระมีขนยาวแหลมราว 5,000 เส้นรอบตัวยกเว้นหน้าท้อง ขนนี้ยังไม่งอกตอนมันเกิด และจะแทงทะลุหนังออกมาหลังจากเกิดได้ 2 – 3 ชั่วโมง ขนนี้ใช้ป้องกันตัว เมื่อมีศัตรู มันจะขดตัวกลมเหมือนลูกบอล นักล่าไม่กล้าเข้าใกล้เพราะกลัวขนที่ยาวแหลมของมัน ส่วนเม่นหงอนมีขนเส้นเรียวเล็กกว่า แต่จะสร้างความเจ็บปวดให้นักล่ามากเพราะมันมีเงี่ยงที่จะเกาะยึดเนื้อ เมื่อพยายามดึงออกมาจะทำให้เจ็บปวดมากอย่างไรก็ตาม เรายังไม่รู้แน่ชัดว่าทั้งหนังของแรดและขนของเม่นนอกจากจะใช้ป้องกันตัวแล้ว ยังมีหน้าที่อะไรอีก

ติดตามชมรายการท่องโลกกว้าง ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 17.05 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

# David Attenborough's Natural Curiosities S.2 : Ep.1 Virgin Births

มังกรโคโมโดและเพลี้ย ซึ่งเพศเมียให้กำเนิดลูกโดยไม่ต้องผสมกับเพศผู้ หรือที่เรียกว่ากระบวนการ “พาร์ธีโนเจนนีซิส” สำหรับมังกรโคโมโดผลิตลูกได้โดยไม่ต้องอาศัยเพศชายเพราะในเซลล์ไข่ของเพศเมียมีทั้งโครโมโซมเพศหญิงและเพศชาย ส่วนเพลี้ยเพศเมียใช้วิธีโคลนนิ่งตัวเอง นั่นคือเพศเมียจะมีลูกอยู่ในท้องตั้งแต่เกิด และลูกที่กำลังเติบโตอยู่ในท้องก็มี “หลาน”ซึ่งโตเต็มวัยอยู่ในท้องของมัน เรียกว่ามีเพลี้ยหลายชั่วอายุซึ่งเกิดเหลื่อมเวลากันวิธีนี้ทำให้เพลี้ยผลิตลูกได้เป็นจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็วดังนั้น กระบวนการ “พาร์ธีโนเจนนีซิส”จึงช่วยปกป้องสัตว์จากการสูญพันธุ์ ถ้ามันไปอยู่ในที่ ๆ ไม่มีเพศผู้ เช่น เกาะที่อยู่ห่างไกลเป็นต้น

# David Attenborough's Natural Curiosities S.2 : Ep.2 Armoured Animals

แรดได้ปรากฏตัวเป็นครั้งแรกในกลางศตวรรษที่ 18 เมื่อชาวดัทช์คนหนึ่งนำมันมาตระเวนแสดงทั่วยุโรป แรดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ ขาสั้น แต่ที่โดดเด่นคือหนังที่หนามากซึ่งพับเป็นแผ่นปกคลุมร่างกายเหมือนเสื้อเกราะ เชื่อกันว่าหนังนี้ใช้ป้องกันตัวและแมลงต่าง ๆ และนอเดี่ยวที่เหนือจมูก ซึ่งจะร่วงและขึ้นมาใหม่ตลอดช่วงอายุของมัน

ส่วนเม่น ในที่นี้เป็นเม่นแคระและเม่นหงอน เม่นแคระมีขนยาวแหลมราว 5,000 เส้นรอบตัวยกเว้นหน้าท้อง ขนนี้ยังไม่งอกตอนมันเกิด และจะแทงทะลุหนังออกมาหลังจากเกิดได้ 2 – 3 ชั่วโมง ขนนี้ใช้ป้องกันตัว เมื่อมีศัตรู มันจะขดตัวกลมเหมือนลูกบอล นักล่าไม่กล้าเข้าใกล้เพราะกลัวขนที่ยาวแหลมของมัน ส่วนเม่นหงอนมีขนเส้นเรียวเล็กกว่า แต่จะสร้างความเจ็บปวดให้นักล่ามากเพราะมันมีเงี่ยงที่จะเกาะยึดเนื้อ เมื่อพยายามดึงออกมาจะทำให้เจ็บปวดมากอย่างไรก็ตาม เรายังไม่รู้แน่ชัดว่าทั้งหนังของแรดและขนของเม่นนอกจากจะใช้ป้องกันตัวแล้ว ยังมีหน้าที่อะไรอีก

ติดตามชมรายการท่องโลกกว้าง ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 17.05 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย