เจาะความลับของธรรมชาติ ตอน คำกล่าวขาน และประสาทสัมผัสพลังไฟฟ้า

ออกอากาศ1 มี.ค. 62

# David Attenborough's Natural Curiosities S.2 :Ep.5

กอริลลาเป็นลิงใหญ่ซึ่งเรามักจะคิดว่ามันเป็นสัตว์ดุร้ายเพราะหน้าตาที่น่ากลัวของมัน แต่ความจริงมันเป็นสัตว์ที่อ่อนโยนและนักชีววิทยาในศตวรรษที่19 ได้พิสูจน์แล้วว่ามันเป็นญาติของเรา

ส่วนค้างคาวแวมไพร์ หรือค้างคาวดูดเลือดมีสามสายพันธุ์ด้วยกันและพบได้ในอเมริกาใต้ และเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพวกเดียวที่กินเลือดเป็นอาหาร โดยผู้ที่เห็นค้างคาวดูดเลือดสัตว์เป็นคนแรกคือชาลส์ ดาร์วิน มันเป็นค้างคาวขนาดเล็กชื่อว่า “เดสมอนดัส โททันดัส” ค้างคาวทั่วไปสามารถล่าเหยื่อได้ในความมืดด้วยการใช้ระบบเอ็คโคโลเคชั่น หรือการใช้เสียงสะท้อนสำหรับบอกตำแหน่งเหยื่อ

# David Attenborough's Natural Curiosities S.2 :Ep.6

ปลาไหลไฟฟ้า ถูกนำจากอเมริกาใต้เข้ามาในยุโรปในศตวรรษที่ 18 ด้วยกระแสไฟฟ้าในตัวของมันแรงพอที่จะทำให้คนที่ไปจับมันถูกดูดตายได้จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่าไฟฟ้าในตัวปลาไหลและปลาอื่น ๆ เช่นปลากระเบน เกิดจากมัดกล้ามเนื้อแข็งแรงที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ สำหรับประโยชน์ที่ปลาได้จากกระแสไฟฟ้าก็คือใช้ไล่ปลาที่จะมากินเหยื่อของมันเป็นต้น ในส่วนของพืช เป็นต้นว่าต้นกาบหอยแครง ก็มีกระแสไฟฟ้าอ่อนๆในตัวซึ่งช่วยมันในการจับเหยื่อ พืชและไม้ดอกหลายชนิดใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อการดำรงชีวิตและเพื่อป้องกันตัวจากศัตรู

ติดตามชมรายการท่องโลกกว้าง ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 17.05 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

# David Attenborough's Natural Curiosities S.2 :Ep.5

กอริลลาเป็นลิงใหญ่ซึ่งเรามักจะคิดว่ามันเป็นสัตว์ดุร้ายเพราะหน้าตาที่น่ากลัวของมัน แต่ความจริงมันเป็นสัตว์ที่อ่อนโยนและนักชีววิทยาในศตวรรษที่19 ได้พิสูจน์แล้วว่ามันเป็นญาติของเรา

ส่วนค้างคาวแวมไพร์ หรือค้างคาวดูดเลือดมีสามสายพันธุ์ด้วยกันและพบได้ในอเมริกาใต้ และเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพวกเดียวที่กินเลือดเป็นอาหาร โดยผู้ที่เห็นค้างคาวดูดเลือดสัตว์เป็นคนแรกคือชาลส์ ดาร์วิน มันเป็นค้างคาวขนาดเล็กชื่อว่า “เดสมอนดัส โททันดัส” ค้างคาวทั่วไปสามารถล่าเหยื่อได้ในความมืดด้วยการใช้ระบบเอ็คโคโลเคชั่น หรือการใช้เสียงสะท้อนสำหรับบอกตำแหน่งเหยื่อ

# David Attenborough's Natural Curiosities S.2 :Ep.6

ปลาไหลไฟฟ้า ถูกนำจากอเมริกาใต้เข้ามาในยุโรปในศตวรรษที่ 18 ด้วยกระแสไฟฟ้าในตัวของมันแรงพอที่จะทำให้คนที่ไปจับมันถูกดูดตายได้จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่าไฟฟ้าในตัวปลาไหลและปลาอื่น ๆ เช่นปลากระเบน เกิดจากมัดกล้ามเนื้อแข็งแรงที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ สำหรับประโยชน์ที่ปลาได้จากกระแสไฟฟ้าก็คือใช้ไล่ปลาที่จะมากินเหยื่อของมันเป็นต้น ในส่วนของพืช เป็นต้นว่าต้นกาบหอยแครง ก็มีกระแสไฟฟ้าอ่อนๆในตัวซึ่งช่วยมันในการจับเหยื่อ พืชและไม้ดอกหลายชนิดใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อการดำรงชีวิตและเพื่อป้องกันตัวจากศัตรู

ติดตามชมรายการท่องโลกกว้าง ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 17.05 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย